วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์


รายงานการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย
เรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background)
                แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันพระบรมราชชนก (พ.ศ. 2554-2558) ได้กำหนดผลผลิตของแผนยุทธศาสตร์ด้านองค์ความรู้และนวตกรรมทางสุขภาพเพื่อการพัฒนาการบริการสาธารณสุขแก่ชุมชนและประเทศ ในกลยุทธ์มิติลูกค้าไว้ว่าจะสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้มีอัตลักษณ์และจิตวิญญาณในการบริการสุขภาพในชุมชนอย่างมืออาชีพที่เคารพความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม ซึ่งได้กำหนดแนวทางปฏิบัติตามยุทธศาสตร์เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของผู้เรียนและของสถาบันไว้ดังนี้ 1) กำหนดคุณลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์ที่เป็นอัตลักษณ์ของสถาบันที่ชัดเจนและให้ทุกวิทยาลัยได้นำไปปฏิบัติและประเมินผลผู้เรียนพร้อมทั้งกำหนดเป็นมาตรฐานของการสำเร็จการศึกษาจากการที่ผู้เรียนต้องสอบวัดผลตามเกณฑ์สมรรถนะของสถาบัน 2) ปรับระบบการเรียน  การสอน หลักสูตร  แผนการสอน การประเมินผลที่เน้นการสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้มีอัตลักษณ์และจิตวิญญาณในการบริการสุขภาพในชุมชนอย่างมืออาชีพที่เคารพในความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม โดยเน้นการบริการชุมชนเป็นสำคัญ   จากเหตุผลดังกล่าวสถาบันพระบรมราชชนกได้กำหนดอัตลักษณ์บัณฑิต คือ บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยมีความหมายว่า การให้บริการที่เป็นมิตร  มีความรัก  ความเมตตา ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการที่เป็นจริง โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการเป็นหลัก และได้กำหนดตัวชี้วัดสมรรถนะหลักที่ตอบสนองต่ออัตลักษณ์ 3  ประการ คือ 1) มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Service  mind) 2) มีการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical  thinking) 3) คำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยและเน้นให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการรับบริการ (Participation  and  Patient  Right)
                นอกจากนี้การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence based practice;EBN) เป็นสมรรถนะหนึ่งที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ (Thai Qualifications Framework for Higher Education: TQF) ซึ่งระบุว่า บัณฑิตพยาบาลต้องมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูล และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล  จากข้อกำหนดดังกล่าวทำให้สถาบันการศึกษาพยาบาลที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีต้องมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในระดับพื้นฐานเพื่อตอบสนองมาตรฐานดังกล่าว  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ได้มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา และได้รับการยกย่องให้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดีตามตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสร้างเสริมประสบการณ์จริง กรณีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการนำผลการวิจัยไปใช้ในปี พ.ศ.2550 โดยดำเนินการพัฒนาควบคู่กับการวิจัยและการถอดบทเรียนสังเคราะห์ความรู้จากประสบการณ์ของอาจารย์ผู้สอน 
จากแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันพระบรมราชชนก  กรอบแนวคิด  ปรัชญา  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
 ลักษณะวิชา วัตถุประสงค์รายวิชาของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  ฉบับปรับปรุง ปีพ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2552  ซึ่งมีการนำแนวคิดการดูแลอย่างเอื้ออาทรมาใช้ในการจัดการศึกษา โดยวิทยาลัยได้นำพฤติกรรมการดูแลระหว่างบุคคล                     10 ปัจจัยของวัตสันมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนด้วยความเอื้ออาทร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545   และจากการศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์รวมทั้งการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้วิทยาลัยมีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา วิทยาลัยได้กำหนดอัตลักษณ์บัณฑิตไว้ว่า “การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์  ซึ่งหมายถึง การให้บริการด้วยความเต็มใจ  เอาใจใส่ในปัญหา ความทุกข์ของผู้รับบริการ  คิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาตามความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย
จิตบริการ (Service mind: S) หมายถึง การบริการด้วยความเต็มใจ เอาใจใส่ในปัญหาและความ
ทุกข์ของผู้รับบริการอย่างเสมอภาคและเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยมีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่คาดหวัง ได้แก่
                เต็มใจ (Willing) หมายถึงการปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วยท่าทีเป็นมิตร กิริยาสุภาพอ่อนโยน พูดจา
ไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใสเห็นใจ
                                เอาใจใส่ (Attentiveness) หมายถึงกระตือรือร้น สอบถามทุกข์สุขและสังเกตการเปลี่ยนแปลงอย่าง
สม่ำเสมอและตอบสนองต่อความรู้สึกหรือความต้องการของผู้รับบริการอย่างทันท่วงที ให้ความช่วยเหลือโดยผู้รับบริการไม่ต้องร้องขอ ไม่หวังสิ่งตอบแทน
                                ความเสมอภาค (Equity) หมายถึงการปฏิบัติต่อผู้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยก
                                เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (Respect & Dignity) หมายถึง การยอมรับและเคารพใน
ความแตกต่างทางความคิดและพฤติกรรม   ของแต่ละบุคคล (การรับฟังด้วยความตั้งใจ ปราศจากอคติ ไม่ตีค่าตัดสินความเป็นมนุษย์) 
                 การคิดวิเคราะห์และใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Analytical thinking and Evidence based: Ae ) หมายถึง การคิดวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้วิจารณญาณจากข้อมูลที่หลากหลายตามสภาพจริงและวางแผนแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการอย่างเป็นระบบและใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
                                วิเคราะห์ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ที่หลากหลายตาบริบทที่เป็นจริงของผู้รับบริการ และพิจารณาความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่รวบรวมได้ระบุปัญหาและสาเหตุจากข้อมูลที่มีอยู่จริง และเชื่อมโยงองค์ความรู้อย่างมีหลักการสู่การแก้ปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ
                                วางแผนแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ หมายถึง การคิดประยุกต์วิธีการแก้ปัญหาตามสาเหตุที่แท้จริงอย่างปลอดภัยโดยมีความรู้และหลักฐานอ้างอิงอย่างชัดเจนสอดคล้องกับสภาพจริงที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และนำผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาไปปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
การบริการแบบมีส่วนร่วม (Participation: P) หมายถึง ปฏิบัติการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามปัญหา
และความต้องการโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม
                การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Care) หมายถึง ให้การดูแลผู้รับบริการที่ครอบคลุม กาย จิต
สังคมและจิตวิญญาณ  และสอดคล้องกับบริบทของสังคม
                                ผู้รับบริการมีส่วนร่วมหมายถึง มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล วางแผน ตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา ดูแลสุขภาพ และติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง               
 
 
 
จากกรอบแนวคิดดังกล่าวเพื่อให้บัณฑิตที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรีมีอัตลักษณ์บัณฑิตตามที่กำหนดไว้คือ “การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และจากผลงานวิจัยในด้านการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาของวิทยาลัยยังคงเป็นผลงานวิจัยเดี่ยวที่ขาดการเชื่อมต่อให้เห็นภาพรวมอย่างชัดเจน จึงไม่สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาการศึกษาพยาบาล ตลอดจนวิทยาลัยยังไม่มีการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยและจากการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถในสมรรถนะดังกล่าว
ดังนั้นเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพเมื่อสำเร็จการศึกษาต่อไปจึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการดำเนินการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพพยาบาลและแสดงถึงพลังทางวิชาการและความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวิทยาลัย
 
วัตถุประสงค์ (Objective)
                วัตถุประสงค์การสังเคราะห์ความรู้จากการวิจัยครั้งนี้ เพื่อ 1) พิจารณาผลงานวิจัยและวิชาการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในประเด็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2) เพื่อรวบรวมความรู้ที่ได้จากงานวิจัยและวิชาการมาจัดทำข้อเสนอแนะ การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และเผยแพร่ไปยังสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ให้ได้ใช้ประโยชน์โดยตรง 3) เพื่อศึกษาจุดอ่อน จุดแข็งของงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้สำหรับพัฒนาการทำวิจัยในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาของอาจารย์ที่มีเป้าหมายเพื่อปลูกฝังและพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัย
 
วิธีดำเนินงาน (Methods)
                การสังเคราะห์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยในประเด็นด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์  และการสกัดองค์ความรู้หรือข้อค้นพบจากงานวิจัยเพื่อนำมาจัดทำข้อเสนอแนะ (Recommendations) คณะทำงานจึงดำเนินการตามระเบียบวิธีการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบดังต่อไปนี้
                1. การสืบค้นข้อมูล (Search strategy) เป็นขั้นตอนการรวบรวมผลงานวิจัยที่ดำเนินการโดยบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2550-2555 ดังต่อไปนี้
                1.1 สืบค้นผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่จากฐานข้อมูลงานวิจัยในระหว่าง ปี พ.ศ. 2550-2555 และคัดเลือกผลงานวิจัยที่มีคำสำคัญ (Keyword) ว่า บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ความเอื้ออาทร การคิดวิเคราะห์ การมีส่วนร่วม และหลักฐานเชิงประจักษ์
                1.2 ค้นหาจากระเบียนหนังสือในห้องสมุด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี โดยใช้คำสำคัญ (Keyword) เหมือนในข้อ 1.1
                1.3 สอบถามชื่อเรื่องผลงานวิจัยโดยตรงจากอาจารย์ที่มีรายชื่อผลิตผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2555
                2. การคัดเลือกหลักฐานเชิงประจักษ์ (Selection criteria)
                คณะกรรมการสังเคราะห์งานวิจัยทำการคัดเลือกผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้
                2.1 เกณฑ์การคัดเลือกเข้า (Inclusion criteria)
                                2.2.1 เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง หรือกึ่งทดลองที่ทดสอบประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
                                2.2.2 เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาที่อธิบาย หรือทำนายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
                                2.2.3 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
3. การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (Data collection and Data analysis)
                การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนการนำผลงานวิจัยที่ผ่านหลักเกณฑ์การคัดเลือกในข้อ 2 มาตรวจสอบ ประเมินคุณภาพความน่าเชื่อถือ วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็งของงานวิจัย    ผลงานวิจัยเรื่องใดที่ผ่านการประเมินคุณภาพจะถูกนำไปสังเคราะห์องค์ความรู้และจัดทำข้อเสนอแนะ โดยมีลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
                3.1 ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกในข้อ 2 ตามหลักเกณฑ์การทบทวนผลงานวิจัยและการประเมินคุณภาพงานวิจัยของ Joanna Brigg Institute (JBI) ตามแบบฟอร์มการประเมินคุณภาพงานวิจัยเชิงทดลอง และงานวิจัยเชิงพรรณนาโดยกำหนดให้มีผู้ประเมินคุณภาพงานวิจัย 2 คน ดำเนินการอ่านและประเมินคุณภาพผลงานอย่างเป็นอิสระ  แต่ถ้าเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อใดผู้ประเมินทั้งสองคนมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน  จะนำข้อคิดเห็นนั้นมาอภิปรายร่วมกันในที่ประชุมคณะอนุกรรมการสังเคราะห์งานวิจัยอีกครั้ง  
                3.2 นำเสนอผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในที่ประชุมคณะอนุกรรม การสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย จากนั้นคัดเลือกผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเข้าสู่กระบวนการสกัดข้อมูลเพื่อใช้เป็นองค์ความรู้    
                3.3 คณะอนุกรรมการสังเคราะห์งานวิจัยร่วมกันสกัดข้อมูลจากผลงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกโดยบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มวิเคราะห์งานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย วัตถุประสงค์ การออกแบบการวิจัย เครื่องมือการวิจัยหรือวิธีการทดลอง และผลการวิจัยที่ตอบปัญหาการวิจัย ข้อเสนอแนะจากการวิจัย จุดอ่อน-จุดแข็งและนำข้อสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์งานวิจัยมาใส่ในตารางข้อเสนอแนะ (Recommendation tables)
                3.4 จัดทำข้อเสนอแนะ (Recommendations) ที่เป็นข้อค้นพบจากการสกัดผลงานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และระบุระดับความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยที่ใช้เป็นหลักฐานในการจัดทำข้อเสนอแนะ  โดยใช้เกณฑ์กำหนดระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐาน (Joanna Brigg Institute, 2008) ดังแสดงในตารางที่ 1
 
ตารางที่ 1ระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐาน (Joanna Brigg Institute, 2008)
ระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐาน
รายละเอียดหลักฐาน
1
Meta-analysis (with homogeneity) of experimental studies (e.g., RCT with concealed randomization) OR One or more large experimental studies with narrow confidence intervals
2
One or more smaller RCTs with wider confidence intervals OR Quasi-experimental studies (without randomization)
3
a. Cohort studies (with control group)
b. Case-controlled study      
c. Observational studies (without control group)
4
Expert opinion, or physiology bench research, or consensus
 
          3.5 วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง หรือประเด็นปัญหาวิจัย ที่สามารถนำไปกำหนดทิศทางการพัฒนา                    การผลิตผลงานวิจัยที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย และกำหนดประเด็นการสังเคราะห์ความรู้เผยแพร่ต่อสาธารณชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ต่อไป
                3.6 นำเสนอข้อค้นพบจากการสังเคราะห์รายงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้อเสนอแนะวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ต่อที่ประชุมคณะกรรมการสังเคราะห์ความรู้ของวิทยาลัยเพื่อพิจารณาความชัดเจนและความเป็นไปได้ในการนำข้อเสนอแนะไปใช้ในการปฏิบัติงานและเผยแพร่สู่สาธารณชน
                3.7 นำเสนอจุดอ่อนและจุดแข็งที่ค้นพบจากการสังเคราะห์รายงานวิจัยครั้งนี้ ให้ที่ประชุมคณะกรรมการสังเคราะห์ความรู้ ร่วมพิจารณากำหนดแนวทางการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยและพัฒนาการผลิตผลงานวิชาการของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) จำนวนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอน 3) จุดอ่อนและจุดแข็งของงานวิจัย และ 4) แนวทางการพัฒนางานวิจัย เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรีต่อไป
ผลการดำเนินงาน (Results)
                การนำเสนอผลการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ประการ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้   
                1. จำนวนผลงานวิจัย
                จากการสืบค้นผลงานวิจัยที่ดำเนินการโดยผู้วิจัยของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ในประเด็นการจัด              การเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ หรือ เผยแพร่ในห้องสมุดของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี และวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ระหว่าง ปี พ.ศ. 2552-2555  พบว่า มีผลงานวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น  8   เรื่อง แบ่งเป็น งานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental studies) 2 เรื่อง งานวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) จำนวน 5 เรื่อง และปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom action research) 1 เรื่อง             ดังรายชื่อต่อไปนี้
                1. ความคิดเห็นของนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และผู้รับบริการต่อการฝึกภาคปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วย            หัวใจความเป็นมนุษย์  
                2. ทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยเครือข่ายภาคกลาง 2            
                3. พฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต           วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
                4. ผลของโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะและความสุขของนักศึกษาพยาบาล 
                5. ผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์ที่เน้นการฝึกตั้งคำถามของนักศึกษา      พยาบาลศาสตรบัณฑิต   ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี 
                6. ปัจจัยทำนายสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
                7. ความสามารถและทัศนคติในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษา
                พยาบาลศาสตรบัณฑิต 
                8. วิจัยในชั้นเรียน: การพัฒนาความสามารถการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิง      ประจักษ์                ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต 
                2. ผลการวิเคราะห์งานวิจัย
                จากการวิเคราะห์ผลงานวิจัยโดยคณะกรรมการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย ตามเกณฑ์การประเมินความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยที่ใช้เป็นหลักฐาน พบว่ามีงานวิจัยกึ่งทดลองจำนวน  2 เรื่อง ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความน่าเชื่อถือ จากจำนวนผลงานวิจัยทั้งหมด 8  เรื่อง แต่เนื่องจากผลงานวิจัยอีก 6 เรื่อง คณะกรรมการเห็นว่าเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจ และมีรายละเอียดที่ควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป จึงนำเสนอไว้ ดังรายละเอียดในตารางที่ 2


ตารางที่ 2 หลักฐานงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ และแนวทางพัฒนา
ชื่อรายงานวิจัย การพัฒนาความสามารถการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2
ปีที่เผยแพร่ 2554
ชื่อผู้วิจัย ทัศนีย์  เกริกกุลธร
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
 
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจากรายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument/ Intervention
เพื่อพัฒนาความสามารถการบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุรายวิชาสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย
Quasi experimental 1 group pre-post test
 
นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 3/2554 ระหว่างวันที่ 20 ก.พ. 9 มี.ค. 55 จำนวน 8 คน 
1. โปรแกรมระยะเวลา 3 สัปดาห์
- ปฐมนิเทศแนวคิดการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
- ปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ใช้Nursing process 
2.แบบประเมินความสามารถในการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ 32 ข้อ
 
 
1.ความสามารถในการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยรวมและรายด้าน เพิ่มขึ้น  จากระดับปานกลางเป็นระดับมาก
- ด้านความเข้าใจผู้รับบริการ
- ด้านระบุความต้องการ/ปัญหาของผู้รับบริการ
- ด้านการวางแผนแก้ปัญหา
- ด้านปฏิบัติการตอบสนองความต้องการแก้ปัญหา
- ด้านการสะท้อนคิดพิจารณา
- ควรจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้นักศึกษารายวิชาภาคปฏิบัติตามแผนนิเทศที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนตามกรอบแนวคิดกระบวนการพยาบาล
- ควรปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการวางแผนแก้ปัญหาของนักศึกษา
- ควรเตรียมความพร้อมนักศึกษาโดยฝึกการใช้คำถามเจาะลึกเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ตามสภาพจริง
- ฝึกทักษะให้ไวต่อการรับรู้ตามคำบอกเล่าของผู้รับบริการ
จุดแข็ง
- มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าหลังการทดลองนักเรียนมีการพัฒนาเกี่ยวกับการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยใช้แบบวัด 32 ข้อ เป็นรูปธรรม
- กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนครอบคลุม Humanize care,  Evidence best และ Nursing process  จะทำให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีกระบวนการต่อเนื่องเป็นระบบ
จุดอ่อน
- กลุ่มตัวอย่างน้อยไป
- ขาดความเชื่อมโยงในการชี้แจงประเด็นเกี่ยวกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในขั้นตอนการวางแผนการหรือ/ปฏิบัติการพยาบาล
- ควรทำการวิจัยต่อเนื่องโดยใช้ Repeat Intervention ในกลุ่มพยาบาล หรือนักเรียนวิชาอื่นๆ
- ปรับให้เป็น two group  pre – post test กลุ่มละ 30 คน
- ควรเพิ่มreflection ของนักศึกษาและผู้ป่วยที่เข้าโครงการด้วย
- ควรให้ครูนิเทศประเมินความสามารถโดยใช้แบบสอบถามเดียวกับที่นักศึกษาใช้
- หาความสัมพันธ์ของความสามารถตามการรับรู้ของครูกับนักศึกษาที่เข้าโครงการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ชื่อรายงานวิจัย ผลของโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะและความสุขของนักศึกษาพยาบาล 
ปีที่เผยแพร่ 2552
ชื่อผู้วิจัย ศักดิ์มงคล เชื้อทอง จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ นัยนา ภูลม และ พัชนียา  เชียงตา
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย    
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
1.เพื่อเปรียบเทียบความมีจิตสาธารณะของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะจากประสบการณ์จริง
2.เพื่อเปรียบเทียบความสุขของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะจาก
กึ่งทดลอง (Quasi-experimental  design: one group pre-post test)
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สระบุรีจำนวน 72  คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
(Purposive random    sampling )
Instrument
- แบบสอบถามเกี่ยวกับความมีจิตสาธารณะของสถาบันพระบรมราชชนก
-แบบวัดความสุขของกรมสุขภาพจิตตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและ
หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .95 และ.85 ตามลำดับ
 
 
 
1.ระดับคะแนนความมีจิตสาธารณะของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะในโครงการ วพบ.สระบุรี  สร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อสังคม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
2.ระดับคะแนนของความสุขของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะในโครงการ วพบ.สระบุรี  สร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อสังคม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
1.สถาบันการศึกษาควรจัดกิจกรรมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากประสบ การณ์จริงด้านจิตสาธารณะอย่างต่อ เนื่องและพัฒนานักศึกษาให้มีจิตสาธารณะต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป
2.ควรให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสา ธารณะของนักศึกษา โดยบูรณาการกับรายวิชาที่สามารถบูรณาการได้  เพื่อ
จุดแข็ง
            -
จุดอ่อน
-กลุ่มเป้าหมาย  จำนวนน้อย (72 คนจาก 405 คน)
- กลุ่มเป้าหมายเป็น กลุ่มที่มีจิตสาธารณะเดิม
-โปรแกรมจิตสาธารณะมี 2 รูปแบบ ควรมีการเปรียบเทียบผลของโปรแกรมจิตสาธารณะ
- ควรนำผลการ
1.สถาบันการศึกษาควรจัดให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงด้านจิตสาธารณะอย่างต่อเนื่องและพัฒนานักศึกษาให้มีจิตสาธารณะต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป
2.ควรให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษาโดยบรรจุลงในรายวิชา เพื่อสนับสนุนให้
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย    
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
ประสบการณ์จริง
 
 
Intervention
โปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะจากประสบการณ์จริงในโครงการ วพบ.สระบุรี  สร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อสังคม
 
สนับสนุนให้นักศึกษามีพัฒนาการด้านจิตสารณอย่างต่อเนื่อง
3.ควรมีการพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะ
ทดลองความมีจิตสาธารณะในด้านที่มีคะแนนสูงมาการอภิปรายผล
- ไม่ผลข้อมูลผลการทดลองการวัดความสุขและแบบวัดความสุข
นักศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3.ควรมีการพัฒนาโปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะให้เป็นรูปธรรมหรือมาตรฐานยิ่งขึ้น เพื่อสะดวกต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนานักศึกษา
 
 


ชื่อเรื่องวิจัย ทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลางสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข
ปีที่เผยแพร่ 2555
ชื่อผู้วิจัย สุนีย์รัตน์  บุญศิลป์ ประกริต  รัชวัตร์ และสุรางค์  เปรื่องเดช
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย    
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument/ Intervention
1.เพื่อศึกษาทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
2.เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปีหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
 
การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)
1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1         ประชากรใน
การศึกษา
ครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้น
ปีที่ 1-4 ที่ศึกษาอยู่ในวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง 1 และ 2  สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ในปีการศึกษา  2554
1.2         กลุ่มตัวอย่าง
ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling)โดยเริ่มจากการสุ่มตัวแทนรายชื่อวิทยาลัยที่สังกัดเครือข่ายภาคกลาง 1 และ 2  ซึ่งใช้สัดส่วน 1:2 จะได้จำนวนวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่ง โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแต่ละวิทยาลัยจำนวน 50 คน จากนั้นทำการจับฉลากเลขที่ของนักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปี แยกตามชั้นปี ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน  352 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ชุดแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ  แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล   แบบสอบถามทัศนคติเชิงจริยธรรม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ
ครอนบาคได้ .83
1.นักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปีมีทัศนคติเชิงจริยธรรมด้านความยุติธรรม  ด้านความ
อุตสาหะ ด้านความมีระเบียบวินัยและด้านความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่ในระดับดี   ส่วนทัศนคติเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความสามัคคี ด้านความเมตตากรุณาและด้านความเสียสละอยู่ในระดับปานกลางโดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยทัศนคติเชิงจริยธรรมโดยรวมสูงกว่าชั้นปีอื่น
2. นักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปีมีทัศนคติเชิงจริยธรรมแตกต่างกันในด้านความซื่อสัตย์
ด้านความสามัคคี ด้านความเมตตากรุณา  ด้านความอุตสาหะและด้านความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แต่ทัศนคติเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ด้านความยุติธรรม ด้านความมีระเบียบวินัยและด้านความเสียสละ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
1.ควรส่งเสริมและปลูกฝังจริยธรรมให้แก่นักศึกษาในทุกระดับชั้นปี เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีทัศนคติเชิงจริยธรรมทั้ง 9 ด้านได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ  ด้านความยุติธรรม  ด้านความซื่อสัตย์  ด้านความสามัคคี ด้านความเมตตากรุณา ด้านความอุตสาหะ ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความมีเสียสละ ด้านความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้อยู่ในระดับดี
2.ควรพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการสอดแทรกจริยธรรมด้านความเมตตากรุณาและด้านความเสียสละในการเรียนการสอนให้มากขึ้นในทุกระดับชั้นปี
 
จุดแข็ง
1.เลือกใช้สถิตที่เหมาะสม
2.เครื่องมือมีความน่าเชื่อถือตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค.83
3.วัตถุประสงค์การวิจัยชัดเจนและได้ผลลัพธ์ตามที่กำหนด
จุดอ่อน
1.การคำนวณวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นไปตามการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ดี จำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยไปและไม่ได้แสดงสูตรการคำนวณ
2.ไม่ได้กำหนดสัดส่วนในการเลือกกลุ่มตัวอย่างของแต่ละวิทยาลัย และแต่ละชั้นปี
1. ควรกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตรการคำนวณที่ได้รับการยอมรับในงานวิจัยเชิงบรรยาย
2. ควรกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละวิทยาลัยและแต่ละชั้นปีตามจำนวนประชากรที่ชัดเจน
3. ควรเขียนอธิบายประเด็นปัญหาของการวิจัยให้ชัดเจนและมีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน
4. เพื่อเป็นการต่อยอดให้งานวิจัยนี้มีคุณค่าต่อการพัฒนาบัณฑิต ควรมีวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นต่อไปนี้
4.1สภาพการส่งเสริมทัศนคติเชิงจริยธรรมที่แต่ละวิทยาลัยดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
4.2ศึกษาปัจจัยที่ผลต่อทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษา
4.3พัฒนารูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมของนักศึกษา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ชื่อรายงานวิจัย ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล อาจารย์นิเทศและผู้รับบริการต่อการฝึกปฏิบัติการพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ปีที่เผยแพร่ 2554
ชื่อผู้วิจัย ประไพ กิตติบุญถวัลย์และคณะ
 
วัตถุประสงค์การวิจัย
 
ระเบียบวิธีวิจัย
 
 
ผลลัพธ์การวิจัย
 
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
 
จุดแข็ง/จุดอ่อน
 
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย    
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument/ Intervention
1.เพื่อศึกษาคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล
2.เพื่อศึกษาคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามความคิดเห็นของอาจารย์
3.เพื่อศึกษาคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามความคิดเห็นของผู้รับบริการ
4.ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล
การวิจัยเชิงพรรณนา(Descriptive research)
1.นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรีจำนวน 78 คน
2.อาจารย์นิเทศจำนวน 10 คน
3.ผู้รับบริการที่เป็นกรณีศึกษาของนักศึกษาจำนวน 78 คน
 
เครื่องมือ 4 ชนิดคือ
1.แบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์อัลฟาเท่ากับ 0.86
2.แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล
ค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์อัลฟาเท่ากับ 0.83
3.แบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ต่อการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล
ค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์อัลฟาเท่ากับ 0.93
4. แนวทางการสนทนากลุ่มนักศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
1. การปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล อาจารย์และผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก
 (M = 4.15, SD = 0.33, M = 4.11, SD = 0.40 และ M = 4.32, SD = 0.46 ตามลำดับ)
2.การปฏิบัติที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดมีความสอดคล้องกันทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่างคือ ด้านจิตบริการที่ดี โดยการปฏิบัติการพยาบาลที่อ่อนโยน มีเมตตา ใส่ใจความรู้สึกและดูแลเหมือนญาติ
3.การปฏิบัติที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำของผู้รับบริการคือด้านการรวบรวมข้อมูลตามสภาพจริงโดยไม่ตัดสินผู้รับบริการส่วนการรับรู้ของน..และความคิดเห็นของอาจารย์มีคะแนนต่ำสุดในด้านการวางแผนการพยาบาลที่เหมาะสมกับสภาพจริงของวิถีชีวิตครอบครัว ชุมชน (M = 3.96, SD = 0.47 และM = 3.92, SD = 0.50)
4. ความคิดเห็นของน.ศ.ต่อปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 3 อันดับแรกคือแบบอย่างของอาจารย์นิเทศ กิจกรรมการฝึกแบบครอบครัวกรณีศึกษาและการเรียนรู้การปลูกฝังจากครอบครัวนักศึกษา
 
1.ด้านการพัฒนาหลักสูตร ควรมีนโยบายการพัฒนาอาจารย์นิเทศในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
2.ด้านการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน
2.1ควรส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ในครอบครัวกรณีศึกษาโดยพิจารณาครอบครัวที่มีความทุกข์ยากและมีความพร้อมในการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2.2 จัดเวทีสำหรับน..แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
3.ด้านการวิจัยควรมีการวิจัยผลกระทบต่อสังคมจากการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจ     ความเป็นมนุษย์
จุดแข็ง
1.เป็นวิจัยที่มีความน่าสนใจตอบสนองต่ออัตลักษณ์สถาบัน
2.กลุ่มตัวอย่างครอบคลุมทั้งน.ศอาจารย์และผู้รับบริการ
3.มีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มเพิ่มเติมจากข้อมูลเชิงปริมาณ
จุดอ่อน
1.ไม่มีการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเข้ากลุ่มตัวอย่างเช่นคุณลักษณะอาจารย์กลุ่มผู้รับบริการ
2.กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วม focus group เป็นอาสาสมัครซึ่งอาจจะมีทัศนคติที่ดีอาจเกิด biasควรเป็นการสุ่มหรือจัดกลุ่มที่หลากหลาย
3.ผู้ประเมินคะแนนเป็นอาจารย์นิเทศในแต่ละกลุ่มซึ่งมีความแตกต่างกัน
4.ขาดข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างอาจารย์และผู้รับบริการ
5.รายละเอียดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่ชัดเจนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้รับบริการ          หากน.ศเก็บด้วยตนเองอาจจะทำให้เกิดอคติ
6.ไม่ได้รายงานคุณภาพเครื่องมือหลังการวิจัย
 
.1.พัฒนาแบบสอบถามให้มีข้อคำถามที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์สถาบัน
(SAeP)
2. พัฒนาข้อคำถามในแบบสอบถามของผู้รับบริการให้มีข้อความที่สั้นกระทัดรัดเข้าใจง่าย
3.ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการฝึกปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพล
4.พัฒนารูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่ส่งเสริม การปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
5.วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มน.. อาจารย์นิเทศและผู้รับบริการด้วยสถิติ ANOVA
6. เพิ่ม SAePในกรอบแนวคิดและเครื่องมือวิจัย
ชื่อรายงานวิจัย  ความสามารถและทัศนคติในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาพยาบาล
ปีที่เผยแพร่ 2554
ชื่อผู้วิจัย  ปานทิพย์ ปูรณานนท์ และ ทัศนีย์ เกริกกุลธร
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย
 
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
 
 
 
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถและทัศนคติในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ก่อนการฝึกภาคปฎิบัติ หลังการฝึกภาคปฎิบัติครั้งที่ 1 ครั้งที 2 และครั้งที่ 3
พรรณนาเชิงเปรียบเทียบ (Comparative descriptive design)
 
ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ปี 3 พ.ศ.2548
มีทั้งหมด 2 แบบ
1.แบบวัดความสามรถในการปฏิบัติการโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
2.แบบวัดทัศนคติในการปฏิบัติการโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
 
1. ความสามารถของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่เน้น EBN ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นในระยะก่อนเรียน และเพิ่มขึ้นภายหลังการเรียนในแต่ละระยะ
2. ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่เน้น EBN ค่อยๆ ดีขึ้นภายหลังการเรียนในแต่ละระยะ
1. การจัดฝึกปฏิบัติการ EBN อย่างต่อเนื่องมีผลให้นักศึกษามีความสามารถและเจตคติเพิ่มขึ้น
2. ข้อจำกัดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างอาจจำคำตอบของแบบสอบถามได้จึงอาจทำให้คะแนนความสามารถและทัศนคติมีค่าสูงขึ้น
จุดอ่อน
1. เครื่องมือไม่สามารถวัดกระบวนการปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ได้ครบวงจรเนื่องจากไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติและการประเมินผล
2.ควรระบุค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 53 คน
 
- ติดตามปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถและทัศนคติของนักศึกษาภายหลังสำเร็จการศึกษา โดยปรับเครื่องมือให้วัดสมรรถนะได้อย่างครบวงจรของ EBN
 
 
 
 
 
 
ชื่อรายงานวิจัย  ปัจจัยทำนายสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ปีที่เผยแพร่  2554
ชื่อผู้วิจัย  ปานทิพย์ ปูรณานนท์ และ ทัศนีย์ เกริกกุลธร
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย   
 
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
 
 
 
1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษา(ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคทฤษฎี และทัศนคติต่อการเรียนภาคปฏิบัติ EBN) การรับรู้ต่อประสิทธิภาพการสอนและบุคลิกภาพของอาจารย์ และการรับรู้สิ่งแวดล้อมในการเรียนภาคปฏิบัติกับสมรรถนะ EBN ของนักศึกษา
2. ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านนักศึกษา ได้แก่ เกรดรายวิชา  ทัศนคติต่อการเรียนภาคปฎิบัติ  การรับรู้ต่อพฤติกรรมการสอนทางคลินิกของอาจารย์ และบุคลิกภาพของอาจารย์ และการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมในการเรียนภาคปฏิบัติในการทำนายสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
การหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Correlation predictive research)
ประชากร คือ นศ.พยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 301 คน
 
กลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 วพบ. สระบุรีจำนวน 111 คนได้มาโดยการสุ่มแบบ Stratified random sampling และ simple random sampling
Power analysis .80
Alpha = .05
effect size .13
 
เครื่องมือ
1. แบบบันทึกส่วนบุคคล
2.แบบวัดสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (5-rating scale) 8 ข้อ reliability .88 (N=30)
3. ทัศนคติการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (5-rating scale) 13  ข้อ reliability .91 (N=30)
4.การรับรู้ต่อประสิทธิภาพการสอนและบุคลิกภาพของอาจารย์ (5 rating scale)  40  ข้อ reliability .96 (N=30)
5. การรับรู้สิ่งแวดล้อมในการเรียนภาคปฏิบัติ            (5 rating scale) 12 ข้อ reliability .91 (N=30)
 
 
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคทฤษฎีวิชาวิจัยทางการพยาบาล (r = .46) ทัศนคติต่อการเรียนภาคปฏิบัติ EBN) (r = . 36) การรับรู้ต่อประสิทธิภาพการสอนและบุคลิกภาพของอาจารย์   (r = . 31)  และการรับรู้สิ่งแวดล้อมในการเรียนภาคปฏิบัติ  (r = . 37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติความสัมพันธ์กับสมรรถนะ EBN ของนักศึกษา
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคทฤษฎี การรับรู้สิ่งแวดล้อมในการเรียนภาคปฏิบัติ ทัศนคติต่อการเรียนภาคปฏิบัติ EBNประสิทธิภาพการสอนและบุคลิกภาพของอาจารย์          สามารถทำนายสมรรถนะ EBN ของนักศึกษาได้ร้อยละ 39.6
ในการพัฒนานักศึกษาให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์อาจารย์ควรดำเนินการดังนี้
1. จัดสิ่งแวดล้อมในการเรียนภาคปฏิบัติทั้งด้านบรรยากาศและทรัพยากรการเรียนรู้
2. ปลูกฝังทัศนคติต่อการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ
3. พัฒนาอาจารย์ให้มีความสามารถในการเตรียมการสอน การดำเนินการสอน และการประเมินผล รวมทั้งพัฒนาบุคลิกภาพของอาจารย์
4. ควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะ EBN ควรนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาใช้ในการพิจารณาออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่ม
 
 
 
 
จุดแข็ง
1. ข้อค้นพบจากการวิจัยเป็นประโยชน์ที่จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการเรียนการสอน EBN
2. กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนเพียงพอและได้มาโดยการสุ่ม
จุดอ่อน
1 ไม่แน่ใจว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถเป็นตัวแทนประชากรที่ดีหรือไม่เพราะถึงแม้ใช้วิธีการสุ่มแต่ยังไม่แน่ใจว่าจำนวนตัวอย่างเพียงพอที่จะเป็นตัวแทนของประชากรม่เพราะไม่ได้บอกที่มาของEffect size ที่นำมาคำนวณและไม่ทราบ Effect size แต่ละคู่ซึ่งสามารถคำนวณได้ในเบื้องต้นจากการทดลองใช้เครื่องมือ
2. การวัดสมรรถนะเป็นการวัดในเชิงอัตนัยของแต่ละบุคคลและข้อคำถามในการวัดไม่ครบถ้วนตามกระบวนการ EBN คือ ไม่ได้วัดสมรรถนะในการนำไปปฏิบัติและการติดตามตรวจสอบผล
3.ไม่ได้ระบุกรอบแนวคิดทางทฤษฎีที่ชัดเจนว่ามาจากทฤษฎีใด
ในการทำวิจัยต่อไปควรจะ
1. แสดง Effect size ในแต่ละคู่ว่ามีขนาดเท่าใดเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินความเพียงพอของกลุ่มตัวอย่าง
2. ควรเขียนสมการทำนายความ สามารถให้เห็นชัดเจนว่าตัวแปรแต่ละตัวมีอิทธิพลต่อสมรรถนะมากน้อยเพียงไร
3. ควรรายงานค่า reliability ของเครื่องมือทุกชุดจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 111 คน
 
 
 
ชื่อรายงานวิจัย พฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้สำเร็จการศึกษา  หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
ปีที่เผยแพร่ 2550
ชื่อผู้วิจัย วารุณี  มีเจริญ และศักดิ์มงคล เชื้อทอง
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย   
 
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
 
 
 
1.ศึกษาพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
การวิจัยเชิงพรรณนา
ผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2549    (หลังจบการศึกษาไปแล้วประมาณ 4 เดือน)จำนวน 382คน
Instrument
แบบสอบถามพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 65 ข้อ จำแนกออกเป็น 10 ปัจจัย
1.ระดับพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 4.43, SD = 0.43) และรายปัจจัยทุกปัจจัยอยู่ในระดับสูงทั้ง 10ปัจจัย ได้แก่
1) การสร้างค่านิยมเห็นประโยชน์ผู้อื่นและมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
2) การสร้างศรัทธาและความหวัง
3) การไวต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
4) การสร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลือที่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
 
1.ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมากกว่าหรือเท่ากับ 3.01 มีพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลในด้านการช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลน้อยกว่าผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรน้อย
จุดแข็ง
1.ตัวแปรที่วัดคือพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการดูแลระหว่างบุคคลของวัตสันมีความเป็นสากล
2.เครื่องมือมีความน่าเชื่อถือตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค.98
ศึกษาพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้รับบริการ อาจารย์นิเทศ และพยาบาล           พี่เลี้ยง
 
 
 
 
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย   
 
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
 
 
 
2.เปรียบเทียบพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร สถาบันที่สำเร็จการศึกษา และสถานที่ปฏิบัติงาน
 
 
 
5) การส่งเสริมและการยอมรับการแสดงออก
6) การใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์
7) การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในกระบวนการเรียนการสอน
8) การประคับประคองสนับสนุนและแก้ไขสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ จิตสังคมและจิตวิญญาณ
9) การช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล
10) การเสริมสร้างพลังจิตวิญญาณในการมีชีวิตอยู่
โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกคือ1) ช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล
กว่าหรือเท่ากับ 3.00 นั้นวิทยาลัยควรให้ความสำคัญและส่งเสริมให้นักศึกษาที่เป็นคนเก่งมีพฤติกรรมเอื้ออาทรให้สูงขึ้น
และค่าความเที่ยงจำแนกตามรายด้าน 10 ด้าน อยู่ระหว่าง .76-.91                
3.วัตถุประสงค์การวิจัยชัดเจนและได้ผลลัพธ์ตามที่กำหนด
จุดอ่อน
1.พฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกในขณะปฏิบัติการพยาบาลควรวัดตามการรับรู้ของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการการพยาบาล   การศึกษาครั้งนี้วัดตามการรับรู้
 
 
 
 
 
 
 
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย   
 
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
 
 
 
 
 
 
 
2) ค่านิยมเห็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และ 3) การเสริมสร้างพลังจิตวิญาณในการมีชีวิตอยู่
2.ผู้สำเร็จการศึกษาที่จบจากสถาบันการศึกษาเขตภาคกลางและภาคอื่นๆมีพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
3.ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรแตกต่างกันมีพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05แต่เมื่อพิจารณารายปัจจัยพบว่าผู้สำเร็จการศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร
 
 
 
 
ของผู้สำเร็จการศึกษาที่กลับไปปฏิบัติงานได้ 4 เดือน เป็นการประเมินตนเองตามการรับรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาเองผลการวิจัยที่ได้อาจมีการลำเอียงตามธรรมชาติ
 
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย   
 
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
 
 
 
 
 
 
 
แตกต่างกันมีพฤติกรรมเอื้ออาทรในปัจจัยด้านการช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.00 มีระดับพฤติกรรมเอื้ออาทรในปัจจัยการช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลสูงกว่าผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมากกว่าหรือเท่ากับ 3.01
4.ผู้สำเร็จการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสถานที่แตกต่างกันมี
พฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 
 
 
 
 
 
 
ชื่อรายงานวิจัย ผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่เน้นการฝึกตั้งคำถาม ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
ปีที่เผยแพร่ 2552
ชื่อผู้วิจัย พอเพ็ญ  ไกรนราและคณะ
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย    
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
1.ประเมินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่เน้นการฝึกตั้งคำถาม
2.ศึกษาระดับการตั้งคำถาม
 3.ศึกษาความสุขในการเรียนของนักศึกษา
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
(Classroom      Action Research)
เพื่อพัฒนาสมรรถนะการตั้งคำถามและประเมินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่เน้นการฝึกตั้งคำถาม
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 จำนวน 80 คน
(ประชากรตัวอย่าง)
Intervention
ขั้นตอนการดำเนินการจัดการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1)ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของนักศึกษาโดยใช้เครื่องมือ 2 ชุด คือแบบประเมินสมรรถนะการตั้งคำถามและแบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาเรื่องการตั้งคำถามและแบบสำรวจความคิดเห็นของ
1.ความเหมาะสมจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่เน้นการฝึกตั้งคำถามประเด็นแรกด้านการพัฒนาบัณฑิต เนื้อหาสาระมีความเหมาะสมระดับมาก 3 ลำดับแรก คือ การสร้างจิตสำนึกต่อสังคมและจิตอาสา การกำหนดเป้าหมายทางการเรียน การพัฒนาทักษะการฟัง การจดบันทึกและการเตรียมสอบ ความสุข กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมระดับมาก3 ลำดับแรก คือ การบูรณาการกิจกรรมจิตอาสากับกิจกรรมนักศึกษา การเปิด
1.ข้อเสนอเชิงนโยบาย
1.1 วิทยาลัยควรมีการพัฒนาทักษะการตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องในชั้นปีอื่นๆ และดำเนินการไปพร้อมกันทุกรายวิชา โดยเฉพาะรายวิชาที่มีการเรียนเป็นกลุ่มย่อย  ทั้งนี้ทักษะการตั้งคำถามเป็นพื้นฐานการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
จุดแข็ง
1.กำหนดกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 จำนวน 80 คน ซึ่งเป็นประชากรทั้งหมด ทำให้สามารถพัฒนานักศึกษาทุกคนเท่าเทียมกัน
2.การจัดกระทำ (Intervention) การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่เน้นการฝึกตั้งคำถามประกอบด้วย 4
1.              ควรมีการประเมินสมรรถนะการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที 1 
หลังการเรียนรู้  เพื่อตรวจสอบ ว่าสมรรถนะการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่
2.ควรมีการวัดระดับการตั้งคำถามของนักศึกษาก่อนการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทราบว่าการจัดการเรียนการสอนที่ให้กับ
 
 
 
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย    
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
 
 
 
 
 
 
 
 
นักศึกษาเรื่องการตั้งคำถาม
2)จัดการเรียนการสอน โดยใช้ CIPPA Model
3)ประเมินผลการเรียนรู้และความคิดเห็น
Instrument
มีจำนวน 3 ชุด ดังนี้
1.แบบประเมินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่เน้นการฝึกตั้งคำถามวัดระดับความคิดเห็นของนักศึกษา 2 ด้าน  คือ1)ระดับความเหมาะสมของเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ต่อการพัฒนาบัณฑิต
 
โอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และการเรียนรู้จากสื่อ ภาพยนตร์/สารคดี  ประเด็นที่สอง ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ เนื้อหาสาระที่นำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ การสร้างจิตสำนึกต่อสังคมและจิตอาสา ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และความสุข กิจกรรมการเรียนรู้ 3 ลำดับแรก คือ กิจกรรมจิตอาสาบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา กิจกรรมพันธมิตรตัวต่อ กิจกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน
2.ระดับคำถามของนักศึกษาภายหลังการเรียนรู้
โดยอ่านบทความแล้วตั้งคำถาม พบว่า นักศึกษาสามารถตั้งคำถาม 6 ระดับ รวม 480
1.2วิทยาลัยควรพัฒนาผู้สอนให้เป็นตัวแบบที่ดี โดยการฝึกฝน เพื่อสามารถการให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการพัฒนาทักษะการตั้งคำถามของนักศึกษา
2.ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย
2.1วิจัยพัฒนาโปรแกรมการฝึกตั้งคำถามสำหรับนักศึกษาที่ใช้ในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน ให้มีความหลากหลาย
2วิจัยการใช้สังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการตั้งคำถาม
2.3วิจัยระยะยาวเพื่อติดตามระดับสมรรถนะการตั้งคำถามของ
ขั้นตอนที่ชัดเจนและในส่วนของออกแบบการเรียนการสอน โดยใช้ CIPPA Model ซึ่งเป็นวิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ได้เต็มความสามารถเหมาะสมจะมีผลต่อการพัฒนาทักษะการตั้งคำถามของนักศึกษาพยาบาล
จุดอ่อน
1.เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ เรื่อง การตั้งคำถามในชั้นเรียนไม่มีการระบุที่มาของ
นักศึกษาได้มีการพัฒนานักศึกษาในการตั้งคำถามในด้านใดเพื่อนำมาสู่การจัดการเรียนการสอนต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย    
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
 
 
 
2)ระดับการนำเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์
2.แบบวัดระดับคำถามของนักศึกษาจำแนก 6 ระดับของบลูม (Revised Bloom’s Taxonomy, 2001)               วัดระดับจำ  เข้าใจ ประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ ประเมินความคิดสร้างสรรค์
3.แบบวัดความสุขในการเรียนของนักศึกษา
แบบประเมินค่า (Rating scale) 5 ระดับจากมากที่สุดถึงน้อยที่สุดตามแนวคิดการเรียนอย่างมีความสุข 26
คำถาม ในระดับความเข้าใจจำนวนมากที่สุด รองมาเป็นระดับความจำ ระดับวิเคราะห์ ต่ำที่สุด มี 13 คำถามที่ตัดออกเนื่องจากคำถามไม่สมบูรณ์และไม่ตรงกับเนื้อหาในบทความ
3.ระดับความสุขในการเรียนมี 6 ด้าน พบว่า นักศึกษามีความสุขในการเรียนอยู่ในระดับมาก โดย 3 ลำดับแรก คือ สิ่งที่เรียนรู้มีความหมายและคุณค่าต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตและมนุษย์ที่สมบูรณ์ นักศึกษาได้ฝึกคิด แก้ปัญหา พิจารณาให้เหตุผล และนักศึกษามีอิสระทางความคิดในการเรียนรู้
นักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 - 4
 
เครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพ
2.เครื่องมือในการประเมินการจัดการเรียนการสอน ไม่ได้ระบุการสร้างและการตรวจสอบคุณภาพ
3.การวิจัยไม่มีการวัดระดับการตั้งคำถามของนักศึกษาก่อนให้ intervention ทำให้ไม่ทราบว่ากิจกรรมที่ให้กับกลุ่มตัวอย่างช่วยในการพัฒนานักศึกษาในการตั้งคำถามจริงหรือไม่
 
 
วัตถุประสงค์การวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลลัพธ์การวิจัย
ข้อเสนอแนะจาก     รายงานวิจัย
จุดแข็ง/จุดอ่อน
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนางานวิจัย    
การออกแบบวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
Instrument / Intervention
 
 
 
ข้อ คำถามปลายเปิด 2 ข้อ มี 6 ด้าน1) การสร้างความรักความศรัทธา 2) เห็นคุณค่าของการเรียน 3) เปิดประตูสู่ธรรมชาติ 4) มุ่งมาดและมั่นคง 5)ดำรงรักษ์ไมตรีจิต6) ชีวิตที่สมดุล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


2.              ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความ

เป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

                จากงานวิจัยกึ่งทดลอง 2 เรื่อง งานวิจัยเชิงพรรณนา 5 เรื่องและวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 1 เรื่อง

ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยที่ใช้เป็นหลักฐาน คณะอนุกรรมการสังเคราะห์งานวิจัยได้นำข้อมูลจากการวิเคราะห์ผลงานวิจัยมาสกัดเป็นองค์ความรู้และสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ประกอบด้วยข้อเสนอแนะ   3 ด้าน ได้แก่ การเตรียมความพร้อม วิธีการเรียนการสอน และการประเมินผล ดังรายละเอียดต่อไปนี้     (ตารางที่ 3)

 

ตารางที่ 3 ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ข้อเสนอแนะ (Recommendation)
1. เตรียมความพร้อมก่อนการเรียน ได้แก่ การเตรียมนักศึกษา  อาจารย์ และสิ่งแวดล้อม
1.1 เตรียมนักศึกษา
ก่อนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์  อาจารย์ควรเตรียมนักศึกษาดังนี้
·        เตรียมความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ การดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (หลักฐานระดับ 3C)
·        ปลูกฝังทัศนคติต่อการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (หลักฐานระดับ  2)
1.2 เตรียมอาจารย์
ก่อนการจัดการเรียนการสอน EBN ควรเตรียมความพร้อมของอาจารย์ดังนี้
·     เตรียมความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ การดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (หลักฐานระดับ 4)
·     เตรียมทักษะในการเรียนการสอนตามขั้นตอนของการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ทั้งในการเตรียมการสอน การดำเนินการสอน  และการประเมินผล (หลักฐานระดับ 3C)
1.3 เตรียมสิ่งแวดล้อม
·     สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (หลักฐานระดับ 3C)
·     จัดเตรียมทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้หัวข้อการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เช่น คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล วารสาร (หลักฐานระดับ 3C)
 
 
 
2. วิธีการเรียนการสอน
·        อาจารย์ควรสอนภาคปฏิบัติโดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาความสามารถในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามสภาพจริงโดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ (หลักฐานระดับ 2) 
·        พัฒนาทักษะผู้เรียนตามกระบวนการการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ได้แก่ การตั้งคำถามโดยใช้ PICO model การสืบค้นหลักฐาน การประเมินคุณภาพของหลักฐาน การตัดสินใจใช้หลักฐาน การนำไปปฏิบัติ และการประเมินผลการปฏิบัติ (หลักฐานระดับ 2)
·        ควรพัฒนาทักษะการใช้กระบวนการ การดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในทุกรายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง (หลักฐานระดับ 3C)
3. การประเมินผล
การประเมินผลการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์โดย
·        ประเมินความสามารถในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของผู้เรียนทุกขั้นตอนของกระบวนการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง (หลักฐานระดับ 2)
·        ให้ผู้เรียนประเมินสมรรถนะในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของตนเองด้วยแบบประเมินการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (หลักฐานระดับ 2)
·        ให้ผู้เรียนประเมินกระบวนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติด้วยแบบประเมินประสิทธิภาพการสอน และแบบสอบถามความต้องการของนักศึกษาเกี่ยวกับความต้องการการเรียนรู้ในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (หลักฐานระดับ 4)

3.              จุดอ่อนและจุดแข็งของงานวิจัยเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความ

เป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

                จากการวิเคราะห์ผลงานวิจัยในภาพรวมพบว่ามีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ในด้านจุดแข็งคือ การได้องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากร ได้มาโดยการสุ่ม นอกจากนี้มีการใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพในงานวิจัย 4 เรื่อง และได้ผลงานวิจัยที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย

                ในด้านจุดอ่อนพบว่า การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ขนาดอิทธิพลยังไม่ชัดเจน รูปแบบการเขียนรายงาน ในงานวิจัยบางเรื่องยังขาดการการนำเสนอรายละเอียดที่ทำให้มั่นใจว่าเครื่องมือวิจัยมีคุณภาพจริง ดังรายละเอียดในตารางที่ 4

 

 

 

ตารางที่ 4 จุดอ่อนและจุดแข็งของงานวิจัย

จุดแข็ง
จุดอ่อน
ประชากรและตัวอย่าง
1. กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนเพียงพอและได้มาโดยการสุ่ม
2. รายงานวิจัยบางเรื่องเป็นกลุ่มประชากรทั้งหมด
3. รายงานวิจัยบางเรื่องขาดข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างอาจารย์และผู้รับบริการ
ประชากรและตัวอย่าง
1. การคำนวณวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นไปตามการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ดี จำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยไปและไม่ได้แสดงสูตรการคำนวณ
2. ไม่ได้กำหนดสัดส่วนในการเลือกกลุ่มตัวอย่างของแต่ละวิทยาลัย และแต่ละชั้นปี
เครื่องมือวิจัย
1. เลือกใช้สถิติที่เหมาะสม
2. เครื่องมือที่นำมาใช้ส่วนใหญ่มีความน่าเชื่อถือตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าความเที่ยง
3. เครื่องมือวัดพฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการดูแลระหว่างบุคคลของวัตสันมีความเป็นสากล
 
เครื่องมือวิจัย
1. เครื่องมือบางส่วนอาจไม่สามารถวัดกระบวนการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ได้ครบวงจรเนื่องจากไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติและการประเมินผล
2. ส่วนใหญ่ไม่ได้รายงานคุณภาพเครื่องมือหลังการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
3. บางรายงานวิจัยไม่มีการระบุที่มาของเครื่องมือและ          การตรวจสอบคุณภาพ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์การวิจัยชัดเจนและได้ผลลัพธ์ตามที่กำหนด
วัตถุประสงค์
-
ข้อค้นพบจากงานวิจัย
1. มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาเกี่ยวกับการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยใช้แบบวัด 32 ข้ออย่าง เป็นรูปธรรม
2. ข้อค้นพบจากการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางใน       การพัฒนาระบบการเรียนการสอน EBN
 
ข้อค้นพบจากงานวิจัย
1. ขาดความเชื่อมโยงในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในขั้นตอนการวางแผนการหรือ/ปฏิบัติการพยาบาล
2. พฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกในขณะปฏิบัติการพยาบาลควรวัดตามการรับรู้ของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ การศึกษาครั้งนี้วัดตามการรับรู้ของผู้ให้บริการ อาจมีการลำเอียงตามธรรมชาติ
3. การวัดสมรรถนะเป็นการวัดในเชิงอัตนัยของแต่ละบุคคลและข้อคำถามในการวัดไม่ครบถ้วนตามกระบวนการ EBN กล่าวคือไม่ได้วัดสมรรถนะในการนำไปปฏิบัติและการติดตามตรวจสอบผล
4. ควรนำผลการทดลองความมีจิตสาธารณะในด้านที่มีคะแนนสูงมาอภิปรายผล

 

 

 

 

ตารางที่ 4 (ต่อ)

จุดแข็ง
จุดอ่อน
กรอบแนวคิด
-
กรอบแนวคิด
การเขียนกรอบแนวคิดในรายงานวิจัยยังไม่ชัดเจน
การออกแบบการวิจัย
1. กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้น Humanized care,  Evidence-based nursing และ Nursing process จะทำให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีกระบวนการต่อเนื่องเป็นระบบ
2. มีวิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ถามทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก
3. การจัดกระทำ (Intervention) การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่เน้นการฝึกตั้งคำถามประกอบด้วย 4 ขั้นตอนที่ชัดเจนและในส่วนของออกแบบการเรียนการสอน โดยใช้ CIPPA model ซึ่งเป็นวิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ได้เต็มความสามารถเหมาะสมจะมีผลต่อการพัฒนาทักษะการตั้งคำถามของนักศึกษาพยาบาล
4. ส่วนใหญ่เป็นวิจัยที่มีความน่าสนใจและตอบสนองต่ออัตลักษณ์สถาบัน
5. รายละเอียดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่ชัดเจนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้รับบริการ
การออกแบบการวิจัย
1. ในงานวิจัยบางเรื่องยังขาด Pre-test อาจทำให้ไม่ทราบว่ากิจกรรมที่ให้กับกลุ่มตัวอย่างช่วยในการพัฒนานักศึกษาได้จริงหรือไม่
2.ในงานวิจัยบางเรื่องถ้าหากมีการจัดกระทำที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มควรมีการเปรียบเทียบผลของการจัดกระทำที่แตกต่างกัน

                4. แนวทางการพัฒนางานวิจัย

ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโจทย์วิจัยและการปรับปรุงคุณภาพงานวิจัยดังนี้

                1. ปัญหาการวิจัยที่ควรค้นหาคำตอบเพิ่มเติมเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สมบูรณ์มากขึ้น

                                1.1 ประสบการณ์และการให้ความหมายของการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์คืออะไร

                                1.2 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากขึ้นหรือไม่เมื่อมีการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

                                1.3 ควรศึกษาปัจจัยทำนายต่อพฤติกรรมการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และเขียนเป็นสมการทำนาย

2. พัฒนาแบบประเมินความสามารถในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และนำมาใช้ศึกษาติดตามปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

3. ควรพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ภายใต้กรอบแนวคิดการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของวิทยาลัย

4. การคำนวณกลุ่มตัวอย่างควรมีความชัดเจนโดยใช้ค่าขนาดอิทธิพลจากการศึกษานำร่องเป็นตัวเลขที่นำมาใช้คำนวณและแสดง Effect size ในแต่ละคู่ว่ามีขนาดเท่าใดเพื่อนำมาใช้ในการประมาณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

 

สรุป (Conclusion)

                การสังเคราะห์ผลงานวิจัยจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ 3 ประเด็น คือ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนการเรียน ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ และสิ่งแวดล้อม 2) วิธีการเรียนการสอน 3) การประเมินผล

                การผลิตผลงานวิจัยของวิทยาลัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ผ่านมา มีทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน เช่น การออกแบบการวิจัย  ประชากรและตัวอย่าง  เครื่องมือการวิจัย จึงมีข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการทำวิจัยต่อยอดเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ ที่นำเสนอดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อจำกัดของการสังเคราะห์งานวิจัย (Limitation)

                การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ จำนวนทั้งหมด 8 เรื่อง แต่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ 6 เรื่อง เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่มีผลงานวิจัยเรื่องใดที่ออกแบบการวิจัยชนิด randomized controlled trial ดังนั้นข้อจำกัดของการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ คือ องค์ความรู้ที่ได้มาจากงานวิจัยเพียงระดับ 2 และ 3C เท่านั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

ทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2554). การพัฒนาความสามารถการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิง        ประจักษ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2. รายงานวิจัยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี.

ศักดิ์มงคล เชื้อทอง จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ นัยนา ภูลม และพัชนียา เชียงตา (2552). ผลของโปรแกรมการพัฒนาจิต      สาธารณะและความสุขของนักศึกษาพยาบาล. รายงานวิจัยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี.

สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์. (2555). ทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลางสังกัด        สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 64-76.

ประไพ กิตติบุญถวัลย์และคณะ. ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล อาจารย์นิเทศ และผู้รับบริการต่อการฝึกปฏิบัติ        การพยาบาลชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. รายงานวิจัยวิทยาลัยพยาบาล

                บรมราชชนนี สระบุรี.    

วารุณี มีเจริญ และศักดิ์มงคล เชื้อทอง. (2550). พฤติกรรมเอื้ออาทรในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้สำเร็จการศึกษา         หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. รายงานวิจัยวิทยาลัยพยาบาล

                บรมราชชนนี สระบุรี.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์ และทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2554). ความสามารถและทัศนคติในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้           หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(1), 45-53.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์ และทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2554). ปัจจัยทำนายสมรรถนะของนกศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติ            การพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(1), 47-55.

พอเพ็ญ ไกรนราและคณะ. (2552). ผลการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ที่เน้นการ          ฝึกตั้งคำถามของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. รายงานวิจัย         วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี.