วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ จากการถอดบทเรียนในการประชุมเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสถาบัน
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
สระบุรี
แนวปฏิบัติที่ดี
เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ
จากการถอดบทเรียนในการประชุมเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสถาบัน
ความเป็นมาของแนวปฏิบัติที่ดี (Good practice)
วิทยาลันพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ได้ดำเนินการจัดการความรู้โดยผ่านจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นมา โดยเน้นการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยบุคลากรในองค์กรนำแนวปฏิบัติที่ดีของปีการศึกษา
2556 ไปลงมือปฏิบัติและนำผลการปฏิบัติมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลการนำ แนวปฏิบัติไปใช้ ทำให้การดำเนินงานการเผยแพร่ผลงานวิจัย ได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
และได้รับการตอบรับให้ลงตีพิมพ์บทความในวารสารได้รวดเร็วขึ้น ผู้วิจัยมีความสุขในการทำงานมากขึ้น รวมทั้งผ่านเกณฑ์ การประกันคุณภาพภายใน
ระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนมาสู่เวทีการพัฒนาขั้นตอนหรือการดำเนินงานเพื่อให้ผลงานวิจัยได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งการนำเสนอในเวทีวิชาการและการลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผลลัพธ์จากการถอดบทเรียนในเวทีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้
2 ประเด็น คือ 1)
การนำเสนอผลงานวิจัยหรือโปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับนานาชาติ 2)
การนำเสนอผลงานวิจัยหรือโปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ และแนวปฏิบัติที่ต้องนำไปทดลองใช้ในปีการศึกษาต่อไปเพื่อนำมาสรุปให้ได้ขั้นตอนการทำงานที่ดี
คือ การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
การนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับนานาชาติ มี
ขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
1.1
ศึกษาข้อมูลและค้นหาเวทีในการนำเสนอ
1.2
การขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ อาจารย์แจ้งเรื่องการไปนำเสนอผลงานวิจัยต่อผู้รับผิดชอบการเผยแพร่งานวิจัยเพื่อเข้าสู่คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯพิจารณา
หากได้รับอนุมัติให้ดำเนินการตามระเบียบ...
1.3
การสมัครไปนำเสนอผลงานวิจัย โดยส่งบทคัดย่องานวิจัยไปประกอบการพิจารณาด้วย หาข้อมูลได้จากกลุ่มภารกิจด้านวิจัย
การประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางเอกสาร จดหมายราชการ หรือทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.4
การติดตามผลการแจ้งตอบรับให้ไปนำเสนอผลงานวิจัย
และรายละเอียดข้อมูลประกอบการนำเสนอ เช่น วัน เวลาที่จะให้ไปนำเสนอ สถานที่
ภาษาที่ใช้ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อผู้รับผิดชอบ เป็นต้น
1.5
การดำเนินการขออนุมัติไปราชการ
การไปนำเสนอผลงานวิจัยตามระเบียบราชการ
เมื่อได้รับการตอบรับแล้วให้นำหลักฐานการตอบรับมาทำเรื่องขออนุมัติการเดินทางและงบประมาณค่าใช้จ่าย
ค่าลงทะเบียน
1.6
การลงทะเบียนสมัคร
ไปนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อได้รับการอนุมัติตามข้อ 1.3
แล้วจึงสมัครลงทะเบียนไปนำเสนอผลงานวิจัย
เนื่องจากต้องขออนุมัติการเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบราชการก่อน
1.7
การเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัย หรือ Proceeding และสื่อ PowerPoint ประกอบ การนำเสนอ/โปสเตอร์
ซึ่งสามารถเตรียมไว้ล่วงหน้าระหว่างรอการตอบรับเพื่อให้มีเวลาดำเนินการและต้องตรวจสอบความถูกต้องให้มากที่สุดเพราะเมื่อส่งไปแล้วจะแก้ไขไม่ได้
โดยเฉพาะในเรื่องความถูกต้องของการสะกดคำ การใช้ format ตามรูปแบบที่ผู้จัดกำหนด ถ้าเป็นภาษาอังกฤษควรแปลโดยมืออาชีพ
(ผู้รับจ้างแปล ประมาณหน้าละ 500 บาท หรืออาจคิดเป็นห้าพันคำ/หกพันบาท
ควรจ้างแบบรวมค่าทำสื่อสไลด์ประกอบการนำเสนอพร้อมกัน)
1.8
การเตรียมสื่อสไลด์/โปสเตอร์นำเสนอ
ควรเตรียมให้สอดคล้องกับเวทีที่สมัครไปนำเสนอ ขนาดห้องประชุม จำนวนผู้ฟัง ภาษา
และกำหนดเวลา บนสไลด์ควรมีโลโก้ของวิทยาลัยเพื่อให้เป็นมาตรฐาน
ตัวอักษรความมีขนาดที่ชัดเจน มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา มีตัวเลขสถิติ
รูปภาพ รูปกราฟ หรือแผนภูมิประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ
อาจให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบความถูกต้องของภาษาและเนื้อหาก่อนไปนำเสนอ ซึ่งต้องมีเวลาและค่าใช้จ่าย
ให้ผู้เชี่ยวชาญด้วย จึงต้องวางแผนล่วงหน้าตั้งแต่ทำวิจัย
ถ้าเป็นวีดิทัศน์ควรตรวจสอบเสียงและบริหารความเสี่ยงในเรื่องระบบการเปิดที่เวทีนำเสนอ
และควรซ้อมวิธีการเปิดใช้ให้คล่องก่อนเดินทาง และมีไฟล์สำรองแยกไปด้วย ภาพประกอบควรให้มีชีวิตชีวาเป็นภาพเคลื่อนไหวจะดีกว่า
แต่จะเปิดได้ยากกว่า ส่วนรูปแบบของโปสเตอร์ที่เตรียมไปนำเสนอต้องมีขนาด
(กว้าง x ยาว x สูง) และรูปแบบตรงตามที่ผู้จัดกำหนด มิฉะนั้นอาจจะติดแสดงไม่ได้และต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับติดตั้งไปให้พร้อมด้วย
รวมทั้งออกแบบให้สะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะทางเครื่องบินและวัสดุไม่ยับง่าย การออกแบบโปสเตอร์ควรให้มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา
ขนาดตัวอักษรเห็นชัดเจน เนื้อหาข้อมูลควรแยกข้อมูลเป็นกลุ่มหรือบล็อกให้ชัดเจน
และมีตัวเลขสถิติ รูปภาพ รูปกราฟ หรือแผนภูมิประกอบ เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ
มีโลโก้ของวิทยาลัยและชื่อที่อยู่ ให้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้
การออกแบบโปสเตอร์นี้อาจให้ช่างทำโปสเตอร์ช่วยออกแบบให้ได้
เจ้าของงานวิจัยต้องเตรียมข้อมูลเนื้อหาทั้งหมดใส่ไฟล์ไปให้ในรูปของ PowerPoint
ควรตรวจสอบภาษาและการสะกดคำให้ถูกต้อง
และต้องพูดคุยกับช่างทำโปสเตอร์ให้เข้าใจ
ให้เวลาทำและนัดหมายกำหนดส่งมอบงานให้ชัดเจน และมีค่าใช้จ่าย (ประมาณตารางเมตรละ 500 บาทขึ้นไป) ในการนำเสนอโดยโปสเตอร์ควรมีการจัดทำผลงานวิจัยเป็นแผ่นพับหรือรูปเล่มเล็ก
ๆเพื่อแจกให้กับคณะกรรมการจัดการประชุม หรือผู้เข้าร่วมประชุมด้วย
1.9
เตรียมฝึกซ้อมการพูด ควรมีการซ้อมพูดและจับเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาที่กำหนด
ถ้าเป็นเวทีระดับนานาชาติ อาจจะต้องทำ Script ไว้เพื่อการอ่านหรือเป็นแนวทางในการพูดได้สะดวกขึ้น
1.10
การเตรียมความพร้อมส่วนบุคคล
ในเรื่องการเดินทาง การจองที่พัก เสื้อผ้า การแต่งกาย
แผนที่ ยารักษาโรค ของใช้ส่วนตัว กล้องถ่ายรูป การนัดหมาย การจัดทำนามบัตรเพื่อการแจกจ่าย
และอื่น ๆ ตามความจำเป็น
2. การนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ
มีขั้นตอนในการดำเนินงานที่แตกต่างจากการนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติคือ
ไม่ต้องเสนอให้กรรมการบริหารพิจารณา
โดยมีขั้นตอนดังนี้
2.1 การสมัครไปนำเสนอผลงานวิจัย
โดยส่งบทคัดย่องานวิจัยไปประกอบการพิจารณาด้วย
หาข้อมูลได้จากกลุ่มภารกิจด้านวิจัย การประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางเอกสาร จดหมายราชการ
หรือ ทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.2 การติดตามผลการแจ้งตอบรับ
ให้ไปนำเสนอผลงานวิจัย และรายละเอียดข้อมูลประกอบการนำเสนอ เช่น วัน
เวลาที่จะให้ไปนำเสนอ สถานที่ ภาษาที่ใช้ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อผู้รับผิดชอบ
เป็นต้น
2.3 การทำเรื่องขออนุมัติ
การไปนำเสนอผลงานวิจัยตามระเบียบราชการ
เมื่อได้รับการตอบรับแล้วให้นำหลักฐานการตอบรับมาทำเรื่องขออนุมัติการเดินทางและงบประมาณค่าใช้จ่าย
ค่าลงทะเบียน
2.4 การลงทะเบียนสมัคร
ไปนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อได้รับการอนุมัติตามข้อ 1.5
แล้วจึงสมัครลงทะเบียนไปนำเสนอผลงานวิจัย
เนื่องจากต้องขออนุมัติการเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบราชการก่อน
2.5 การเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัย หรือ Proceeding และสื่อ Power Point ประกอบการนำเสนอ
ซึ่งสามารถเตรียมไว้ล่วงหน้าระหว่างรอการตอบรับเพื่อให้มีเวลาดำเนินการและต้องตรวจสอบความถูกต้องให้มากที่สุดเพราะเมื่อส่งไปแล้วจะแก้ไขไม่ได้
โดยเฉพาะในเรื่องความถูกต้องของการสะกดคำ การใช้ format ตามรูปแบบที่ผู้จัดกำหนด
ถ้าเป็นภาษาอังกฤษควรแปลโดยมืออาชีพ
2.6 การเตรียมสื่อสไลด์/โปสเตอร์ที่จะนำเสนอ ควรเตรียมให้สอดคล้องกับเวทีที่สมัครไปนำเสนอ
ขนาดห้องประชุม จำนวนผู้ฟัง ภาษา และกำหนดเวลา
บนสไลด์ควรมีโลโก้ของวิทยาลัยเพื่อให้เป็นมาตรฐาน ตัวอักษรความมีขนาดที่ชัดเจน
มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา มีตัวเลขสถิติ รูปภาพ รูปกราฟ
หรือแผนภูมิประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ อาจให้ผู้เชี่ยวชาญ
ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของภาษาและเนื้อหาก่อนไปนำเสนอ
ซึ่งต้อมีเวลาและค่าใช้จ่าย
ให้ผู้เชี่ยวชาญด้วย จึงต้องวางแผนล่วงหน้าตั้งแต่ทำวิจัย
ถ้าเป็นวีดิทัศน์ควรตรวจสอบเสียงและบริหารความเสี่ยงในเรื่องระบบการเปิดที่เวทีนำเสนอ
และควรซ้อมวิธีการเปิดใช้ให้คล่องก่อนเดินทาง และ มีไฟล์สำรองแยกไปด้วย
ภาพประกอบควรให้มีชีวิตชีวาเป็นภาพเคลื่อนไหวจะดีกว่า แต่จะเปิดได้ยากกว่า
ส่วนรูปแบบของโปสเตอร์ที่เตรียมไปนำเสนอต้องมีขนาด
(กว้างxยาวxสูง) และรูปแบบตรงตามที่ผู้จัดกำหนด
มินั้นจะติดแสดงไม่ได้และต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับติดตั้งไปให้พร้อมด้วย รวมทั้งออกแบบให้สะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะทางเครื่องบินและวัสดุไม่ยับง่าย
การออกแบบโปสเตอร์ควรให้มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา
ขนาดตัวอักษรเห็นชัดเจน เนื้อหาข้อมูลควรแยกข้อมูลเป็นกลุ่มหรือบล็อกให้ชัดเจน
และมีตัวเลขสถิติ รูปภาพ รูปกราฟ หรือแผนภูมิประกอบ เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ
มีโลโก้ของวิทยาลัยและชื่อที่อยู่ให้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้
การออกแบบโปสเตอร์นี้อาจให้ช่างทำโปสเตอร์ช่วยออกแบบให้ได้
เจ้าของงานวิจัยต้องเตรียมข้อมูลเนื้อหาทั้งหมดใส่ไฟล์ไปให้ในรูปของ Power Point ควรตรวจสอบภาษาและการสะกดคำให้ถูกต้อง
และต้องพูดคุยกับช่างทำโปสเตอร์ให้เข้าใจ
ให้เวลาทำและนัดหมายกำหนดส่งมอบงานให้ชัดเจน และมีค่าใช้จ่าย (ประมาณตารางเมตรละ
400 บาทขึ้นไป)
2.7 การเตรียมฝึกซ้อมการพูด
โดยเฉพาะถ้าเป็นเวทีนานาชาติ ถ้ามีผู้ชมโปสเตอร์สอบถามข้อมูล
2.8 การเตรียมความพร้อมส่วนบุคคล ในเรื่องการเดินทาง การจองที่พัก เสื้อผ้า การแต่งกาย
แผนที่ ยารักษาโรค ของใช้ส่วนตัว กล้องถ่ายรูป การนัดหมาย และอื่น ๆ ตามความจำเป็น
3. การตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
3.1 การวางแผนการเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสาร ควรวางแผนเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เริ่มการทำโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอทุนเนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการลงตีพิมพ์
บางวารสารต้องสมัครเป็นสมาชิกติต่อกัน 2-3 ปี จึงจะได้รับการพิจารณารับตีพิมพ์
3.2 การศึกษาข้อมูลของวารสาร
ควรศึกษาข้อมูลของวารสารที่สนใจว่าสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่
และวารสารที่จะเลือกตีพิมพ์ควรเป็นวารสารที่ได้รับการรับรองในระดับชาติ
และมีค่าคะแนน Impact factor สูง ๆ
หรือได้รับการรับรองตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา เช่น
วารสารพยาบาลของสมาคมพยาบาลฯ วารสารพยาบาลสาธารณสุข
วารสารพยาบาลศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วารสารพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น
(สามารถหาข้อมูลรายชื่อวารสารและรายละเอียดข้อกำหนดได้ที่กลุ่มงานวิจัยหรือสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซด์ของวารสารได้)
3.3 การเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ ควรกำหนดกรอบหรือโครงเรื่อง
(แผนที่การเขียนบทความ)
ไว้ก่อนว่าต้องการหัวข้อเรื่องอะไรบ้างและขอบเขตของเนื้อหาแต่ละหัวข้อเรื่อง
ความยาวของแต่ละหัวข้อมากน้อยเท่าไร รวมทั้งหมดไม่เกินกี่หน้า (โดยประมาณ 12-15 หน้า) ตามที่บรรณาธิการวารสารกำหนดแบบฟอร์มไว้
ถ้าไม่ดำเนินการตามนั้นอาจจะไม่ได้รับการพิจารณารับตีพิมพ์
มีข้อเสนอแนะจากผู้มีประสบการณ์ว่าถ้าได้อ่านบทความวิจัยในวารสารที่จะลงตีพิมพ์เป็นตัวอย่างก่อนจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเตรียมต้นฉบับได้ง่ายขึ้น จากนั้นจึงลงมือเขียนบทความตามกรอบหัวข้อและความยาวที่วางแผนไว้
โดยเขียนขึ้นใหม่ให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งเรื่อง
และเน้นความสำคัญที่ต้องการเสนอให้ผู้อ่านทราบ
ไม่ใช่การย่อวิจัยเล่มใหญ่มาทุกหัวข้อแบบสั้นๆ การอ้างอิงต้องให้ถูกต้องตามระบบที่วารสารกำหนด
ควรเก็บเอกสารต้นฉบับและเอกสารอ้างอิงไว้ก่อน
โดยคั่นหน้าไว้ หรือใส่ดัชนีไว้ให้ชัดเจน ถ้ามีการแก้ไขจะได้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
การพิมพ์แก้ไขควรบันทึกในไฟล์ใหม่ ไม่ควรบันทึกซ้อนไฟล์เดิม เพราะบางครั้งอาจต้องแก้ไขกลับมาใช้แบบเดิม
3.4 การตรวจสอบความถูกต้อง
ความเชื่อมโยงของเนื้อหา การสะกดคำ ระเบียบวิธีการวิจัย การเขียนอ้างอิง
และบรรณานุกรม ตามระบบที่วารสารกำหนดแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง
3.5 การส่งบทความไปให้บรรณาธิการวารสาร
พิจารณารับตีพิมพ์
3.6 การติดตามผล ควรติดตามผลกับบรรณาธิการเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไขบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับกลับมา
ผู้เขียนควรทำความเข้าใจและรีบดำเนินการแก้ไข
เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้จะขาดความต่อเนื่องและหลงลืมประเด็นได้ ถ้ามีข้อสงสัยควรติดต่อกลับไปถามหรือเจรจาต่อรองกับบรรณาธิการให้เข้าใจตรงกัน
3.7
การแก้ไขและส่งต้นฉบับบทความกลับ
ไปให้บรรณาธิการเพื่อการตีพิมพ์ใหม่แล้วติดตามเป็นระยะ ๆ เช่นเดียวกับข้อ 3.4
ข้อสำคัญคือต้องจดจ่อไม่ย่อท้อให้กำลังใจตนเองจนกว่าจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ จากความคิดเห็นในเวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จได้ดังนี้
1. การมีแนวปฏิบัติเรื่องการเผยแพร่ผลงานวิจัย
ทำให้รู้ขั้นตอนในการดำเนินงาน ส่งผลให้การดำเนินงานเสร็จทันเวลาที่กำหนด
และผู้เสนอผลงานไม่มีความยุ่งยากในการดำเนินงาน
2.
วิทยาลัยพยาบาลฯ มีระบบสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ดีจากผู้บริหารและกลุ่มภารกิจด้านการวิจัย
ทั้งในด้านงบประมาณ ข้อมูลความรู้ ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา
และเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน
มีการให้รางวัลสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้วิจัยได้เผยแพร่ผลงานวิจัยต่อไป
3. ผู้วิจัยมีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานให้สำเร็จ
โครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน : การสร้างเสริมแนวทางการป้องกันการใช้บุหรี่และแนวทางการเลิกสูบบุหรี่แก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
ถอดบทเรียนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
โครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน
: การสร้างเสริมแนวทางการป้องกัน
การใช้บุหรี่และแนวทางการเลิกสูบบุหรี่แก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา
ประภาส ธนะ
บทนำ
วัยรุ่นถือเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตและเป็นกลุ่มประชากรที่เผชิญกับปัญหาสุขภาพสืบเนื่องมาจากสภาพความก้าวหน้าทางสังคมและเทคโนโลยี
ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งทางร่างกาย
และจิตใจ มีความคิดค่อนข้างอิสระ ต้องการเป็นตัวของตัวเอง
ปัจจุบันพบว่าวัยรุ่นและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับแรงผลักดันของเพื่อน
และสื่อมวลชนที่อยู่รอบตัว มีรายงานว่าเด็กวัยรุ่นที่นิยมเล่นเกมที่มีลักษณะต่อสู้ ก้าวร้าว รุนแรง
มักจะซึมซับความคิดและพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงไปโดยไม่รู้ตัว
จึงทำให้เกิดอารมณ์ดื้อรั้น ต่อต้านครู
ผู้ปกครอง ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท ชกต่อยกันเมื่อมีความขัดแย้งกันได้ง่าย
ปัญหาทางจิตใจ ที่มักพบในวัยรุ่น
ได้แก่อารมณ์ซึมเศร้า (depressive
disorder) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น
โดยพบว่ามีความชุกร้อยละ 1.6-8.0 ในวัยรุ่น
โดยมีอัตราส่วนเพศชาย:เพศหญิง ประมาณ 1:2 หลังจากเข้าสู่วัยรุ่น พบว่าความชุกของโรคในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก
และพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการเมื่ออายุน้อยลงกว่าเดิม การศึกษาในประเทศไทยพบว่า
depressive disorder มีความชุกสูงร้อยละ 7.1 ในเด็กวัยเรียน
และพบว่าวัยรุ่นร้อยละ 13.3 มีปัญหาอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรง
depressive disorder เป็น โรคที่มีผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นอย่างมากทั้งความสามารถในด้านการเรียน
การเข้าสังคม พัฒนาการด้านจิตสังคมทุกด้านรวมทั้งการพัฒนา self-esteem และ การพัฒนาความผูกพันทางอารมณ์ต่อพ่อแม่ เป็นต้น เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่นในปัจจุบันหลายอย่าง
เช่น พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ปัญหาการติดสารเสพติด รวมทั้งบุหรี่และเหล้า ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย
และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของปัญหาการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นที่มี แนว โน้มสูงขึ้นในปัจจุบัน บางครั้งพบว่าเด็กต้องแบกรับความเครียดจากความคาดหวังของผู้ปกครอง มีภาวะเครียดในด้านต่างๆ เกิดความวิตกกังวล
ทำให้มีปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และสังคม ความเครียดจากโรงเรียนและเพื่อน สมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder: ADHD), oppositional
defiant disorder และ conduct disorder ส่งผลให้เด็กและวัยรุ่นมีพฤติกรรมเพื่อช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน
เบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาทางอารมณ์ มีพฤติกรรมการใช้บุหรี่
ดื่มแอลกอฮอล์จนเกิดอุบัติเหตุ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพต่อเนื่องถึงวัยผู้ใหญ่
ปัญหาสุขภาพวัยรุ่นเหล่านี้สามารถดูแลป้องกันได้โดยการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กวัยรุ่นให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะก้าวต่อไปเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์
บทสรุปจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็นที่ 1 การเตรียมชุมชน
การติดต่อประสานงานกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับผลเสีย อันตรายและผลกระทบของบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพของบุคคล ชุมชน
ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม
เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติสร้างเสริมแรงจูงใจในการแก้ไขพฤติกรรมการใช้บุหรี่รวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้บุหรี่ของผู้เข้าร่วมโครงการ
ภาพที่
1 การเตรียมชุมชน
ประเด็นที่ 2 การเตรียมนักศึกษาเพื่อเรียนรู้การสร้างเสริมแนวทางการป้องกันการ ใช้บุหรี่และแนวทางการเลิกสูบบุหรี่แก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษาโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค
5As ในวัยรุ่นที่สูบบุหรี่
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาด้านความรู้เรื่องการเลิกบุหรี่ในรายวิชาการสอนและให้คำปรึกษาทางสุขภาพโดยครอบคลุมการจัดการเรียนรู้ในบทเรียนมีหัวข้อดังนี้
- - แนวทางการสอนเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ และแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันตนเองจากอันตรายและผลกระทบของบุหรี่
- วิธีการเลิกบุหรี่ หลักการให้คำปรึกษาในการเลิกบุหรี่ในคู่มือรายวิชาการสอนและให้คำปรึกษาทางสุขภาพ
การให้นักศึกษามีความพร้อมด้านความรู้เรื่องการเลิกบุหรี่
แนวทางการสอนเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับบุหรี่
และแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันตนเองจากอันตรายและผลกระทบของบุหรี่
และวิธีการเลิกบุหรี่ หลักการให้คำปรึกษาในการเลิกบุหรี่จะทำให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในการปฎิบัติการการสร้างเสริมแนวทางการป้องกันการ
ใช้บุหรี่และแนวทางการเลิกสูบบุหรี่แก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา
ภาพที่ 2 และ 3 นักศึกษากำลังสอนให้ความรู้เรื่องการเลิกบุหรี่
นอกจากนี้เทคนิคการสอนให้ความรู้นอกจากการบรรยายผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ผ่านการให้ความรู้ผ่านฐานกิจกรรมต่างที่นักศึกษาจัดไว้
ดังภาพ
ภาพที่
4-6
การให้ความรู้ผ่านนิทรรศการ
ประเด็นที่
3
ประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง
ภาพที่
7-9
การดำเนินกิจกรรม
นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในผู้เข้าร่วมโครงการเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการบูรณาการ
การเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เป็นบทบาทในการสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค
ภาพที่
10-11
กิจกรรมเน้นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามา
การบริการให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกลุ่มเป้าหมาย
โดยประยุกต์ใช้หลักการ 5 A (Ask, Advise, Assess, Assist,
Arrange follow up) 5 R (Relevance, Risks, Rewards, Road blocks, Repetition) และ 5D (Delay, Deep Breath, Drink Water,Do something
else,Destination)
ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายแต่ละคน
ภาพที่
12-13
เทคนิคการให้คำปรึกษา 5As