รายงานผลการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย
เรื่อง การส่งเสริม ป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
(Promotion and Prevention Risk Factors Leading to Stroke Disease)
…………………………………..
จากการสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยกึ่งทดลองจำนวน 2 เรื่องของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยที่ใช้เป็นหลักฐานโดยคณะอนุกรรมการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ได้แก่ 1)ผลของโปรแกรมการสร้างพลังต่อการรับรู้ความ สามารถแห่งตน พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเกินระดับปกติในชุมชน พ.ศ. 2548 โดยวิมลนิจ สิงหะและประไพ กิตติบุญถวัลย์ และ 2)ผลของโปรแกรมสร้างพลังโดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในประชาชนกลุ่มเสี่ยง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี พ.ศ.2549 โดย รัตนา ยอดพรหมมินทร์และเกศแก้ว สอนดี
ได้ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้ ประกอบด้วยข้อเสนอแนะ 3 ด้าน ได้แก่ 1)กลุ่มบุคคลที่ควรได้รับการส่งเสริมป้องกันปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 2)เทคนิค/ วิธีการสร้างพลังอำนาจเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และ 3)การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ข้อเสนอแนะ (Recommendations)
| |
1.กลุ่มบุคคลที่ควรได้ รับการส่งเสริมป้องกันปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
|
บุคคลที่เริ่มมีความดันโลหิตสูงเกินระดับปกติ (pre-hypetension) บุคคลที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน (BMI ≥ 23.9) หรือค่าเฉลี่ยรอบเอวเกินมาตรฐาน หรือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 1 ควรได้รับการสร้างเสริมพลังอำนาจเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงโดยการสร้างการรับรู้ความสามารถหรือสมรรถนะแห่งตน ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง (หลักฐานระดับ 2)
|
2.เทคนิค/วิธีการสร้างพลังอำนาจเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
|
1.กิจกรรมการสร้างพลังอำนาจเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง ค่าความดันโลหิต ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว หรือค่าเฉลี่ยรอบเอว ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังต่อไปนี้ (หลักฐานระดับ 2)
|
1.1 1.1 ขั้นกำหนดเป้าหมายที่คาดหวัง: ให้ผู้รับบริการระบุเป้าหมายสุขภาพที่ตนเองต้องการจากการเข้าร่วมโปรแกรมฯ โดยการทำกิจกรรมฝันดี - ฝันร้าย
| |
1.2 1.2 ขั้นทบทวนประสบการณ์: ให้ผู้รับบริการเล่าประสบการณ์ทางด้านสุขภาพ พร้อมทั้งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาสุขภาพที่พบทั้งจากประสบการณ์ของตนเองและบุคคลอื่นๆในชุมชน โดยใช้การเล่นละครใบ้โยงใยหาสาเหตุของปัญหาสุขภาพ
| |
ข้อเสนอแนะ (Recommendations)
| |
1.3 1.3 ขั้นสร้างแนวทางสู่การปฏิบัติ: ให้ผู้รับบริการกำหนดเป้าหมายการปรับปรุง
1.4 พฤติกรรมสุขภาพด้วยตนเอง และประกาศแผนการปรับปรุงพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้สมาชิกในกลุ่มรับทราบ
| |
1.5 1.4 ขั้นความต่อเนื่องของการปฏิบัติ: ขณะที่ผู้รับบริการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงพฤติกรรมสุขภาพที่ตนเองกำหนดไว้ ควรจัดให้มีบุคคลต้นแบบที่มีปัญหาสุขภาพเช่นเดียวกับผู้รับบริการแต่สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ดี เพื่อช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับบริการและเห็นทางเลือกในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
| |
1.6 1.5 ขั้นการพัฒนาสภาวะด้านร่างกายและอารมณ์: เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการระบาย
1.7 ความรู้สึกหรืออุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยการทำกิจกรรมสายธารชีวิต
| |
2.การนำโปรแกรมการสร้างพลัง มาใช้ในการส่งเสริมป้องกัน และควบคุม
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควรจัดกิจกรรมเสริมสร้างพลังอย่างน้อย
2 - 4 ครั้งๆ ใช้เวลาครั้งละ ½ วัน (หลักฐานระดับ 2)
| |
3.การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร
|
พยาบาลควรได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนนำโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจไปใช้ โดยวิธีการ ดังนี้ (หลักฐานระดับ 2)
1.พยาบาลได้รับการฝึกทักษะการจัดกิจกรรมสร้างพลังอำนาจแห่งตน
2.พยาบาลศึกษาคู่มือหรือแนวปฏิบัติการจัดกิจกรรมสร้างพลังอำนาจแห่งตน
|
จุดอ่อนและจุดแข็งของงานวิจัย
จากการวิเคราะห์ผลงานวิจัยกึ่งทดลองจำนวน 2 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์การประเมินและนำมาสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองพบว่ายังมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนอยู่บ้าง ในด้านจุดแข็งพบว่า การได้องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลวิจัยมีคุณภาพและมีการออกแบบงานวิจัยที่ช่วยลดอคติ ในด้านจุดอ่อน พบว่าการระบุที่มาของจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างยังไม่ชัดเจน กลุ่มตัวอย่างไม่ได้มาจากการสุ่มเข้ากลุ่มแต่มาจากการเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด และการเก็บข้อมูลตัวแปรผลลัพธ์ เช่น ระดับความดันโลหิต น้ำหนักและเส้นรอบเอวกับกลุ่มทดลองและควบคุมในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
แนวทางการพัฒนางานวิจัย
ผลการสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบครั้งนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโจทย์วิจัยและการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการผลิตผลงานวิจัย ของวิทยาลัย ดังต่อไปนี้
1. พัฒนาโจทย์วิจัยที่ช่วยค้นหาคำตอบให้ได้องค์ความรู้ที่สมบูรณ์มากขึ้น ดังต่อไปนี้
1.1 มุ่งค้นหาคำตอบวิจัยในประชากรกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มผู้ดูแลที่อาศัยอยู่ในจังหวัด
สระบุรีเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพระดับจังหวัด เช่น ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ช่วยป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การฟื้นฟูสภาพและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
1.2 พัฒนารูปแบบการวิจัยที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และการทำงานแบบบูรณาการของบุคลากรจากทุกภาคส่วนในท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและวิถีการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน
1.3 วิจัยประเมินผลการนำแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) มาใช้ในการส่งเสริม รักษา ป้องกัน และ
ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลทั้งในคลินิก และชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยและผู้ดูแลโรคหลอดเลือดสมอง
1.4 ศึกษาต้นทุนค่าใช้จ่ายและประสิทธิผลที่ได้รับ (Cost-effectiveness) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล
1.5 ควรศึกษาปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม เช่น พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและผู้ดูแลโรคหลอดเลือดสมอง หรือปัจจัยการเข้ารับการรักษาซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
1.6 ทบทวนองค์ความรู้จากรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองที่ดำเนินการกับประชากรในจังหวัดสระบุรี เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่ต่อไป
2. การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของวิทยาลัย
3. การขยายเครือข่ายความร่วมมือการทำงานและการเชื่อมต่อข้อมูลบุคคลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดสระบุรี
วิทยาลัยมีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการสร้างเสริมป้องกันและควบคุมโรคในบุคคลกลุ่มเสี่ยงและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ดังนั้นทางวิทยาลัยจึงควรมีการขยายเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนางานโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชนในจังหวัดสระบุรี รวมทั้งควรมีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและการเชื่อมต่อฐานข้อมูลบุคคลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดสระบุรี เพื่อช่วยติดตามข้อมูลสถานการณ์การเจ็บป่วยโรคหลอดเลือดสมองและร่วมหาแนวทางป้องกันช่วยเหลือต่อไป