วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
แนวปฏิบัติที่ดีจากถอดบทเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัย
“การนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ”
********************************
การเตรียมเพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัย หมายถึง
การเตรียมตัวหรือเตรียมความพร้อม เพื่อการเผยแพร่ ผลงานวิจัย
ในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ
วิธีการดำเนินการ
1.
สมัครไปนำเสนอผลงานวิจัย
โดยส่งบทคัดย่องานวิจัยไปประกอบการพิจารณาด้วย หาข้อมูลได้จากกลุ่ม
ภารกิจด้านวิจัย การประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางเอกสาร จดหมายราชการ หรือ
ทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. ติดตามผลการแจ้งตอบรับ ให้ไปนำเสนอผลงานวิจัย
และรายละเอียดข้อมูลประกอบการนำเสนอ เช่น วัน เวลาที่จะให้ไปนำเสนอ สถานที่
ภาษาที่ใช้ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อผู้รับผิดชอบ เป็นต้น
3. ทำเรื่องขออนุมัติ
การไปนำเสนอผลงานวิจัยตามระเบียบราชการ
เมื่อได้รับการตอบรับแล้วให้นำหลักฐานการตอบรับมาทำเรื่องขออนุมัติการเดินทางและงบประมาณค่าใช้จ่าย
ค่าลงทะเบียน
4. ลงทะเบียนสมัคร ไปนำเสนอผลงานวิจัย
เมื่อได้รับการอนุมัติตามข้อ 1.3 แล้วจึงสมัครลงทะเบียนไปนำเสนอผลงานวิจัย
เนื่องจากต้องขออนุมัติการเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบราชการก่อน
5.
เตรียมต้นฉบับผลงานวิจัย หรือ Proceeding และสื่อ Power Point ประกอบการนำเสนอ
ซึ่งสามารถเตรียมไว้ล่วงหน้าระหว่างรอการตอบรับเพื่อให้มีเวลาดำเนินการและต้องตรวจสอบความถูกต้องให้มากที่สุดเพราะเมื่อส่งไปแล้วจะแก้ไขไม่ได้
โดยเฉพาะในเรื่องความถูกต้องของการสะกดคำ การใช้ format ตามรูปแบบที่ผู้จัดกำหนด
ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ควรแปลโดยมืออาชีพ
6. เตรียมสื่อสไลด์/โปสเตอร์ที่จะนำเสนอ
ควรเตรียมให้สอดคล้องกับเวทีที่สมัครไปนำเสนอ ขนาดห้องประชุม จำนวนผู้ฟัง ภาษา
และกำหนดเวลา บนสไลด์ควรมีโลโก้ของวิทยาลัยเพื่อให้เป็นมาตรฐาน
ตัวอักษรความมีขนาดที่ชัดเจน มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา มีตัวเลขสถิติ รูปภาพ
รูปกราฟ หรือแผนภูมิประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ
อาจให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบความถูกต้องของภาษาและเนื้อหาก่อนไปนำเสนอ
ซึ่งต้อมีเวลาและค่าใช้จ่ายให้ผู้เชี่ยวชาญด้วย
จึงต้องวางแผนล่วงหน้าตั้งแต่ทำวิจัย
ถ้าเป็นวีดิทัศน์ควรตรวจสอบเสียงและบริหารความเสี่ยงในเรื่องระบบการเปิดที่เวทีนำเสนอ
และควรซ้อมวิธีการเปิดใช้ให้คล่องก่อนเดินทาง และ มีไฟล์สำรองแยกไปด้วย ภาพประกอบควรให้มีชีวิตชีวาเป็นภาพเคลื่อนไหวจะดีกว่า
แต่จะเปิดได้ยากกว่า
ส่วนรูปแบบของโปสเตอร์ที่เตรียมไปนำเสนอต้องมีขนาด (กว้างxยาวxสูง) และรูปแบบตรงตามที่ผู้จัดกำหนด
มินั้นจะติดแสดงไม่ได้และต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับติดตั้งไปให้พร้อมด้วย
รวมทั้งออกแบบให้สะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะทางเครื่องบินและวัสดุไม่ยับง่าย
การออกแบบโปสเตอร์ควรให้มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา
ขนาดตัวอักษรเห็นชัดเจน เนื้อหาข้อมูลควรแยกข้อมูลเป็นกลุ่มหรือบล็อกให้ชัดเจน
และมีตัวเลขสถิติ รูปภาพ รูปกราฟ หรือแผนภูมิประกอบ เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ
มีโลโก้ของวิทยาลัยและชื่อที่อยู่ ให้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้
การออกแบบโปสเตอร์นี้อาจให้ช่างทำโปสเตอร์ช่วยออกแบบให้ได้ เจ้าของงานวิจัยต้องเตรียมข้อมูลเนื้อหาทั้งหมดใส่ไฟล์ไปให้ในรูปของ
Power
Point ควรตรวจสอบภาษาและการสะกดคำให้ถูกต้อง
และต้องพูดคุยกับช่างทำโปสเตอร์ให้เข้าใจ
ให้เวลาทำและนัดหมายกำหนดส่งมอบงานให้ชัดเจน และมีค่าใช้จ่าย (ประมาณตารางเมตรละ
400 บาทขึ้นไป)
7. เตรียมฝึกซ้อมการพูด
โดยเฉพาะถ้าเป็นเวทีนานาชาติ ถ้ามีผู้ชมโปสเตอร์สอบถามข้อมูล
8. เตรียมความพร้อมส่วนบุคคล
ในเรื่องการเดินทาง การจองที่พัก เสื้อผ้า การแต่งกาย
แผนที่ ยารักษาโรค ของใช้ส่วนตัว
กล้องถ่ายรูป การนัดหมาย และอื่นๆ ตามความจำเป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น