วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
แนวปฏิบัติที่ดีจากถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัย
การตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
1.
วางแผนการเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสาร
ควรวางแผนเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้ล่วงหน้าตั้งแต่การทำโครงร่างงานวิจัยขอทุนเนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการลงตีพิมพ์
บางวารสารต้องสมัครเป็นสมาชิกติต่อกัน 2-3 ปี จึงจะได้รับการพิจารณารับตีพิมพ์
และต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร
2.
ศึกษาข้อมูลของวารสาร
ควรศึกษาข้อมูลของวารสารที่สนใจว่าสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่
และวารสารที่จะเลือกตีพิมพ์ควรเป็นวารสารที่ได้รับการรับรองในระดับชาติ
และมีค่าคะแนน Impact
facter สูงๆ หรือได้รับการรับรองจาก สมศ.
ตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา เช่น วารสารพยาบาลของสมาคมพยาบาลฯ
วารสารพยาบาลสาธารณสุข วารสารพยาบาลศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วารสารพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น
(สามารถหาข้อมูลรายชื่อวารสารและรายละเอียดข้อกำหนดได้ที่กลุ่มงานวิจัยหรือสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซด์ของวารสารได้)
3. เตรียมต้นฉบับบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์เผยแพร่
ควรกำหนดกรอบหรือโครงเรื่อง
(แผนที่การเขียนบทความ)
ไว้ก่อนว่าต้องการหัวข้อเรื่องอะไรบ้างและขอบเขตของเนื้อหาแต่ละหัวข้อเรื่อง
ความยาวของแต่ละหัวข้อมากน้อยเท่าไร รวมทั้งหมดไม่เกินกี่หน้า (โดยประมาณ 15-25
หน้า) ตามที่บรรณาธิการวารสารกำหนดแบบฟอร์มไว้
ถ้าไม่ดำเนินการตามนั้นอาจจะไม่ได้รับการพิจารณารับตีพิมพ์
มีข้อเสนอแนะจากผู้มีประสบการณ์ว่าถ้าได้อ่านบทความวิจัยในวารสารที่จะลงตีพิมพ์เป็นตัวอย่างก่อนจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเตรียมต้นฉบับได้ง่ายขึ้น
จากนั้นจึงลงมือเขียนบทความตามกรอบหัวข้อและความยาวที่วางแผนไว้
โดยเขียนขึ้นใหม่ให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งเรื่อง
และเน้นความสำคัญที่ต้องการเสนอให้ผู้อ่านทราบ
ไม่ใช่การย่อวิจัยเล่มใหญ่มาทุกหัวข้อแบบสั้นๆ
การอ้างอิงต้องให้ถูกต้องตามระบบที่วารสารกำหนด ควรเก็บเอกสารต้นฉบับและเอกสารอ้างอิงไว้ก่อน
โดยคั่นหน้าไว้ หรือใส่ดัชนีไว้ให้ชัดเจน ถ้ามีการแก้ไขจะได้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
การพิมพ์แก้ไขควรบันทึกในไฟล์ใหม่ ไม่ควรบันทึกซ้อนไฟล์เดิม เพราะบางครั้งอาจต้องแก้ไขกลับมาใช้แบบเดิม
4. ตรวจสอบความถูกต้อง
เชื่อมโยงของเนื้อหา การสะกดคำ ระเบียบวิธีการวิจัย การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม
ตามระบบที่วารสารกำหนดแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง
5. ส่งบทความไปให้บรรณาธิการวารสาร
พิจารณารับตีพิมพ์
6. ติดตามผล ควรติดตามผลกับบรรณาธิการเป็นระยะๆ
ถ้ามีการแก้ไขบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรทำความเข้าใจและรีบดำเนินการแก้ไข
เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้จะขาดความต่อเนื่องและหลงลืมประเด็นได้ ถ้ามีข้อสงสัยควรติดต่อกลับไปถามหรือเจรจาต่อรองกับบรรณาธิการให้เข้าใจตรงกัน
7.
แก้ไขและส่งต้นฉบับบทความกลับ ไปให้บรรณาธิการเพื่อการตีพิมพ์ใหม่แล้วติดตามเป็นระยะๆ
เช่นเดียวกับข้อ 3.4
ข้อสำคัญคือต้องจดจ่อไม่ย่อท้อให้กำลังใจตนเองจนกว่าจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น