วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แนวปฏิบัติที่ดีจากถอดบทเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัย “การนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ”


วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สระบุรี

แนวปฏิบัติที่ดีจากถอดบทเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัย

การนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ

 

********************************

     การเตรียมเพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัย  หมายถึง  การเตรียมตัวหรือเตรียมความพร้อม เพื่อการเผยแพร่  ผลงานวิจัย ในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ

 วิธีการดำเนินการ

 1. สมัครไปนำเสนอผลงานวิจัย  โดยส่งบทคัดย่องานวิจัยไปประกอบการพิจารณาด้วย หาข้อมูลได้จากกลุ่ม ภารกิจด้านวิจัย การประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางเอกสาร จดหมายราชการ หรือ ทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์

           2. ติดตามผลการแจ้งตอบรับ ให้ไปนำเสนอผลงานวิจัย และรายละเอียดข้อมูลประกอบการนำเสนอ เช่น วัน เวลาที่จะให้ไปนำเสนอ สถานที่ ภาษาที่ใช้ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อผู้รับผิดชอบ เป็นต้น

           3. ทำเรื่องขออนุมัติ การไปนำเสนอผลงานวิจัยตามระเบียบราชการ เมื่อได้รับการตอบรับแล้วให้นำหลักฐานการตอบรับมาทำเรื่องขออนุมัติการเดินทางและงบประมาณค่าใช้จ่าย ค่าลงทะเบียน

           4. ลงทะเบียนสมัคร ไปนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อได้รับการอนุมัติตามข้อ 1.3 แล้วจึงสมัครลงทะเบียนไปนำเสนอผลงานวิจัย เนื่องจากต้องขออนุมัติการเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบราชการก่อน

           5. เตรียมต้นฉบับผลงานวิจัย หรือ Proceeding และสื่อ Power Point ประกอบการนำเสนอ ซึ่งสามารถเตรียมไว้ล่วงหน้าระหว่างรอการตอบรับเพื่อให้มีเวลาดำเนินการและต้องตรวจสอบความถูกต้องให้มากที่สุดเพราะเมื่อส่งไปแล้วจะแก้ไขไม่ได้ โดยเฉพาะในเรื่องความถูกต้องของการสะกดคำ การใช้ format ตามรูปแบบที่ผู้จัดกำหนด ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ควรแปลโดยมืออาชีพ             

           6. เตรียมสื่อสไลด์/โปสเตอร์ที่จะนำเสนอ ควรเตรียมให้สอดคล้องกับเวทีที่สมัครไปนำเสนอ ขนาดห้องประชุม จำนวนผู้ฟัง ภาษา และกำหนดเวลา บนสไลด์ควรมีโลโก้ของวิทยาลัยเพื่อให้เป็นมาตรฐาน ตัวอักษรความมีขนาดที่ชัดเจน มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา มีตัวเลขสถิติ รูปภาพ รูปกราฟ หรือแผนภูมิประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ อาจให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบความถูกต้องของภาษาและเนื้อหาก่อนไปนำเสนอ ซึ่งต้อมีเวลาและค่าใช้จ่ายให้ผู้เชี่ยวชาญด้วย จึงต้องวางแผนล่วงหน้าตั้งแต่ทำวิจัย ถ้าเป็นวีดิทัศน์ควรตรวจสอบเสียงและบริหารความเสี่ยงในเรื่องระบบการเปิดที่เวทีนำเสนอ และควรซ้อมวิธีการเปิดใช้ให้คล่องก่อนเดินทาง และ มีไฟล์สำรองแยกไปด้วย ภาพประกอบควรให้มีชีวิตชีวาเป็นภาพเคลื่อนไหวจะดีกว่า แต่จะเปิดได้ยากกว่า

               ส่วนรูปแบบของโปสเตอร์ที่เตรียมไปนำเสนอต้องมีขนาด (กว้างxยาวxสูง) และรูปแบบตรงตามที่ผู้จัดกำหนด มินั้นจะติดแสดงไม่ได้และต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับติดตั้งไปให้พร้อมด้วย รวมทั้งออกแบบให้สะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะทางเครื่องบินและวัสดุไม่ยับง่าย

               การออกแบบโปสเตอร์ควรให้มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา ขนาดตัวอักษรเห็นชัดเจน เนื้อหาข้อมูลควรแยกข้อมูลเป็นกลุ่มหรือบล็อกให้ชัดเจน และมีตัวเลขสถิติ รูปภาพ รูปกราฟ หรือแผนภูมิประกอบ เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ มีโลโก้ของวิทยาลัยและชื่อที่อยู่ ให้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ การออกแบบโปสเตอร์นี้อาจให้ช่างทำโปสเตอร์ช่วยออกแบบให้ได้ เจ้าของงานวิจัยต้องเตรียมข้อมูลเนื้อหาทั้งหมดใส่ไฟล์ไปให้ในรูปของ Power Point ควรตรวจสอบภาษาและการสะกดคำให้ถูกต้อง และต้องพูดคุยกับช่างทำโปสเตอร์ให้เข้าใจ ให้เวลาทำและนัดหมายกำหนดส่งมอบงานให้ชัดเจน และมีค่าใช้จ่าย (ประมาณตารางเมตรละ 400 บาทขึ้นไป) 

          7. เตรียมฝึกซ้อมการพูด โดยเฉพาะถ้าเป็นเวทีนานาชาติ ถ้ามีผู้ชมโปสเตอร์สอบถามข้อมูล

          8. เตรียมความพร้อมส่วนบุคคล ในเรื่องการเดินทาง การจองที่พัก เสื้อผ้า การแต่งกาย แผนที่  ยารักษาโรค ของใช้ส่วนตัว กล้องถ่ายรูป การนัดหมาย และอื่นๆ ตามความจำเป็น

แนวปฏิบัติที่ดีจากถอดบทเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับนานาชาติ “การนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับนานาชาติ”



วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
แนวปฏิบัติที่ดีจากถอดบทเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับนานาชาติ
การนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับนานาชาติ
.............................................


          การเตรียมเพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัย  หมายถึง  การเตรียมตัวหรือเตรียมความพร้อม เพื่อการเผยแพร่ผงงานวิจัย ในบทความนี้จะกล่าวถึง การนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับนานาชาติ 2) การนำเสนอผลงานวิจัย/โปสเตอร์ในการประชุมเวทีวิชาการระดับชาติ 3) การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ


วิธีดำเนินการ


1.1 ศึกษาข้อมูลและค้นหาเวทีในการนำเสนอ


                1.2 คณะกรรมการบริหารพิจารณา  โดยอาจารย์แจ้งเรื่องการไปนำเสนอผลงานวิจัยต่อผู้รับผิดชอบการเผยแพร่งานวิจัยเพื่อเข้าสู่คณะกรรมการบริหารพิจารณา


               1.3 สมัครไปนำเสนอผลงานวิจัย  โดยส่งบทคัดย่องานวิจัยไปประกอบการพิจารณาด้วย หาข้อมูลได้จากกลุ่มภารกิจด้านวิจัย การประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางเอกสาร จดหมายราชการ หรือทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์


                1.4 ติดตามผลการแจ้งตอบรับ ให้ไปนำเสนอผลงานวิจัย และรายละเอียดข้อมูลประกอบการนำเสนอ เช่น วัน เวลาที่จะให้ไปนำเสนอ สถานที่ ภาษาที่ใช้ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อผู้รับผิดชอบ เป็นต้น


               1.5  ทำเรื่องขออนุมัติ การไปนำเสนอผลงานวิจัยตามระเบียบราชการ เมื่อได้รับการตอบรับแล้วให้นำหลักฐานการตอบรับมาทำเรื่องขออนุมัติการเดินทางและงบประมาณค่าใช้จ่าย ค่าลงทะเบียน


              1.6 ลงทะเบียนสมัคร ไปนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อได้รับการอนุมัติตามข้อ 1.3 แล้วจึงสมัครลงทะเบียนไปนำเสนอผลงานวิจัย เนื่องจากต้องขออนุมัติการเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบราชการก่อน


                1.7  เตรียมต้นฉบับผลงานวิจัย หรือ Proceeding และสื่อ Power Point ประกอบการนำเสนอ/โปสเตอร์ ซึ่งสามารถเตรียมไว้ล่วงหน้าระหว่างรอการตอบรับเพื่อให้มีเวลาดำเนินการและต้องตรวจสอบความถูกต้องให้มากที่สุดเพราะเมื่อส่งไปแล้วจะแก้ไขไม่ได้ โดยเฉพาะในเรื่องความถูกต้องของการสะกดคำ การใช้ format ตามรูปแบบที่ผู้จัดกำหนด ถ้าเป็นภาษาอังกฤษควรแปล     โดยมืออาชีพ (มีผู้รับจ้างแปล ประมาณหน้าละ 500 บาท หรืออาจคิดเป็นห้าพันคำ/ หกพันบาท ควรจ้างแบบรวมค่าทำสื่อสไลด์ประกอบการนำเสนอพร้อมกัน)


            1.8 เตรียมสื่อสไลด์/โปสเตอร์นำเสนอ ควรเตรียมให้สอดคล้องกับเวทีที่สมัครไปนำเสนอ ขนาดห้องประชุม จำนวนผู้ฟัง ภาษา และกำหนดเวลา บนสไลด์ควรมีโลโก้ของวิทยาลัยเพื่อให้เป็นมาตรฐาน ตัวอักษรความมีขนาดที่ชัดเจน มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา มีตัวเลขสถิติ รูปภาพ รูปกราฟ หรือแผนภูมิประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ อาจให้ผู้เชี่ยวชาญ ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของภาษาและเนื้อหาก่อนไปนำเสนอ ซึ่งต้อมีเวลาและค่าใช้จ่ายให้ผู้เชี่ยวชาญด้วย จึงต้องวางแผนล่วงหน้าตั้งแต่ทำวิจัย ถ้าเป็นวีดิทัศน์ควรตรวจสอบเสียงและบริหารความเสี่ยงในเรื่องระบบการเปิดที่เวทีนำเสนอ และควรซ้อมวิธีการเปิดใช้ให้คล่องก่อนเดินทาง และมีไฟล์สำรองแยกไปด้วย ภาพประกอบควรให้มีชีวิตชีวาเป็นภาพเคลื่อนไหวจะดีกว่า แต่จะเปิดได้ยากกว่า


                    ส่วนรูปแบบของโปสเตอร์ที่เตรียมไปนำเสนอต้องมีขนาด (กว้างxยาวxสูง) และรูปแบบตรงตามที่ผู้จัดกำหนด มินั้นจะติดแสดงไม่ได้และต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับติดตั้งไปให้พร้อมด้วย รวมทั้งออกแบบให้สะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะทางเครื่องบินและวัสดุไม่ยับง่าย


                   การออกแบบโปสเตอร์ควรให้มีสีสันดึงดูดความสนใจและดูสบายตา ขนาดตัวอักษรเห็นชัดเจน เนื้อหาข้อมูลควรแยกข้อมูลเป็นกลุ่มหรือบล็อกให้ชัดเจน และมีตัวเลขสถิติ รูปภาพ รูปกราฟ หรือแผนภูมิประกอบ เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ มีโลโก้ของวิทยาลัยและชื่อที่อยู่  ให้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ การออกแบบโปสเตอร์นี้อาจให้ช่างทำโปสเตอร์ช่วยออกแบบให้ได้ เจ้าของงานวิจัยต้องเตรียมข้อมูลเนื้อหาทั้งหมดใส่ไฟล์ไปให้ในรูปของ Power Point ควรตรวจสอบภาษาและการสะกดคำให้ถูกต้อง และต้องพูดคุยกับช่างทำโปสเตอร์ให้เข้าใจ ให้เวลาทำและนัดหมายกำหนดส่งมอบงานให้ชัดเจน และมีค่าใช้จ่าย (ประมาณตารางเมตรละ 400 บาทขึ้นไป) 


                     ในการนำเสนอโดยโปสเตอร์ควรมีการจัดทำผลงานวิจัยเป็นแผ่นพับหรือรูปเล่มเล็กๆเพื่อแจกให้กับคณะกรรมการหรือผู้เข้าชมด้วย


                   1.9 เตรียมฝึกซ้อมการพูด โดยเฉพาะถ้าเป็นเวทีนานาชาติ แต่ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลมาก เพราะผู้ฟังจะเข้าใจความแตกต่างด้านเชื้อชาติภาษา


                   1.10 เตรียมความพร้อมส่วนบุคคล ในเรื่องการเดินทาง การจองที่พัก เสื้อผ้า การแต่งกาย แผนที่ ยารักษาโรค ของใช้ส่วนตัว กล้องถ่ายรูป การนัดหมาย และอื่นๆ ตามความจำเป็น

แนวปฏิบัติที่ดีจากถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัย


วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สระบุรี
แนวปฏิบัติที่ดีจากถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัย
 
การตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
          1. วางแผนการเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสาร
                   ควรวางแผนเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้ล่วงหน้าตั้งแต่การทำโครงร่างงานวิจัยขอทุนเนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการลงตีพิมพ์ บางวารสารต้องสมัครเป็นสมาชิกติต่อกัน 2-3 ปี จึงจะได้รับการพิจารณารับตีพิมพ์ และต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร
          2.  ศึกษาข้อมูลของวารสาร 
                   ควรศึกษาข้อมูลของวารสารที่สนใจว่าสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่  และวารสารที่จะเลือกตีพิมพ์ควรเป็นวารสารที่ได้รับการรับรองในระดับชาติ และมีค่าคะแนน Impact facter สูงๆ หรือได้รับการรับรองจาก สมศ. ตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา เช่น วารสารพยาบาลของสมาคมพยาบาลฯ วารสารพยาบาลสาธารณสุข วารสารพยาบาลศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น (สามารถหาข้อมูลรายชื่อวารสารและรายละเอียดข้อกำหนดได้ที่กลุ่มงานวิจัยหรือสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซด์ของวารสารได้)
          3. เตรียมต้นฉบับบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์เผยแพร่
                   ควรกำหนดกรอบหรือโครงเรื่อง (แผนที่การเขียนบทความ) ไว้ก่อนว่าต้องการหัวข้อเรื่องอะไรบ้างและขอบเขตของเนื้อหาแต่ละหัวข้อเรื่อง ความยาวของแต่ละหัวข้อมากน้อยเท่าไร รวมทั้งหมดไม่เกินกี่หน้า (โดยประมาณ 15-25 หน้า) ตามที่บรรณาธิการวารสารกำหนดแบบฟอร์มไว้ ถ้าไม่ดำเนินการตามนั้นอาจจะไม่ได้รับการพิจารณารับตีพิมพ์ มีข้อเสนอแนะจากผู้มีประสบการณ์ว่าถ้าได้อ่านบทความวิจัยในวารสารที่จะลงตีพิมพ์เป็นตัวอย่างก่อนจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเตรียมต้นฉบับได้ง่ายขึ้น
                   จากนั้นจึงลงมือเขียนบทความตามกรอบหัวข้อและความยาวที่วางแผนไว้ โดยเขียนขึ้นใหม่ให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งเรื่อง และเน้นความสำคัญที่ต้องการเสนอให้ผู้อ่านทราบ ไม่ใช่การย่อวิจัยเล่มใหญ่มาทุกหัวข้อแบบสั้นๆ การอ้างอิงต้องให้ถูกต้องตามระบบที่วารสารกำหนด ควรเก็บเอกสารต้นฉบับและเอกสารอ้างอิงไว้ก่อน โดยคั่นหน้าไว้ หรือใส่ดัชนีไว้ให้ชัดเจน ถ้ามีการแก้ไขจะได้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว การพิมพ์แก้ไขควรบันทึกในไฟล์ใหม่ ไม่ควรบันทึกซ้อนไฟล์เดิม เพราะบางครั้งอาจต้องแก้ไขกลับมาใช้แบบเดิม
          4. ตรวจสอบความถูกต้อง เชื่อมโยงของเนื้อหา การสะกดคำ ระเบียบวิธีการวิจัย การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม ตามระบบที่วารสารกำหนดแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง
          5. ส่งบทความไปให้บรรณาธิการวารสาร พิจารณารับตีพิมพ์
          6. ติดตามผล  ควรติดตามผลกับบรรณาธิการเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไขบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรทำความเข้าใจและรีบดำเนินการแก้ไข เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้จะขาดความต่อเนื่องและหลงลืมประเด็นได้ ถ้ามีข้อสงสัยควรติดต่อกลับไปถามหรือเจรจาต่อรองกับบรรณาธิการให้เข้าใจตรงกัน 
          7.  แก้ไขและส่งต้นฉบับบทความกลับ ไปให้บรรณาธิการเพื่อการตีพิมพ์ใหม่แล้วติดตามเป็นระยะๆ เช่นเดียวกับข้อ 3.4 ข้อสำคัญคือต้องจดจ่อไม่ย่อท้อให้กำลังใจตนเองจนกว่าจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ