วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567

คู่มือการบริหารจัดการโครงการ แบบ ONE STOP SERVICE สำหรับเจ้าหน้าที่

 

                                           คู่มือการบริหารจัดการโครงการ 

                  แบบ ONE STOP SERVICE สำหรับเจ้าหน้าที่




รายละเอียดคู่มือ ตาม link



































วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2567

การจัดการความรู้ : การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ

          การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ : อ.ดร.ศิริวรรณ ทุมเชื้อ

          วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนกได้พัฒนาแนวปฏิบัติในการพัฒนานวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ในหลายบริบทเพื่อให้บุคลากรในวิทยาลัยใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้สอดคล้องกันพันธกิจของวิทยาลัยภายใต้วิสัยทัศน์ สถาบันการศึกษาที่เป็นเลิศในศาสตร์ทางการพยาบาล สร้างสรรค์นวัตกรรม มุ่งพัฒนาสุขภาพที่ยั่งยืนในระดับชาติและนานาชาติ” เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตให้มีความโดดเด่นในเรื่องการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ คือ วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ สัจจะ กตเวที มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 

          นวัตกรรมด้านสุขภาพ (Health Innovation) เป็นแนวทางใหม่หรือแนวทางที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกกับสุขภาพ (WHO: 2023) ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้น หมายถึง แนวคิด กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์บนฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เป็นผลงานที่นำไปสู่การแก้ปัญหา หรือพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ หรือส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน (ที่มา:https://www.thaihealth.or.th

         งานจัดการความรู้จึงได้รวบรวมความรู้แจ้ง (Explicit Knowledge) จากชุมชนนักปฏิบัติ CoP อาจารย์ และ CoP เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ที่เป็นนักประดิษฐ์ภายในวิทยาลัยที่ได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์และจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติของวิทยาลัยทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนภายใต้โครงการจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (KM for learning organization) ดังนี้


1.ชุมชนนักปฏิบัติของอาจารย์ (CoPอาจารย์)

        1.1 องค์ประกอบของการพัฒนานักประดิษฐ์

        1.1.1 การสร้างบรรยากาศความคิดสร้างสรรค์ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา กล้าคิด กล้าพูด กล้าเสนอความคิดเห็นที่แปลกใหม่  ทุกคนในองค์กรตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ ร่วมเรียนรู้และรู้จักการฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริง ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำงาน รวมถึงความเชื่อและทัศนคติของบุคคลแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน ฝึกการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้สามารถคิดคำตอบและสร้างไอเดียอย่างสร้างสรรค์ด้วยเช่นกันตลอดจนการเข้าใจซึ่งกันและกัน 

         1.1.2 พัฒนาและบ่มเพาะอาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนา Mindset ให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าเสี่ยงอย่างมีหลักการ ให้สามารถก้าวข้าม ความกลัว โดยการเพิ่มเสริมทักษะ จัดอบรมเรียนรู้วิธีใหม่ๆ เช่น การไปดูงาน การอบรมต่างๆ การทดลองทำสิ่งใหม่ๆ เมื่อผิดพลาดให้โอกาสแก้ไขและไม่มีการตีตราจากสังคมและคนรอบข้าง 

      1.1.3. ริเริ่มจากงานเล็กๆที่รับผิดชอบก่อนที่จะทำงานใหญ่ๆที่อาจจะมีความเสี่ยง เปิดโอกาสให้ทุกคนทำสิ่งใหม่ๆ หรือทดลองทำชิ้นงานเล็กๆในสาขา ในงาน ในรายวิชา ภายในวิทยาลัยร่วมกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 

แนวปฏิบัติในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลของอาจารย์ใช้แนวคิดการพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งประกอบด้วย การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย(Empathize) การตั้งกรอบโจทย์ (Define) การสร้างแนวคิด (Ideate)การสร้างต้นแบบ (Prototype) และการทดสอบ (Test)เป็นกรอบในการพัฒนาเมื่อผ่านการทดสอบแล้วจึงจะสามารถนำไปขอจดแจ้งคุ้มครองสิทธิต่อ 

กรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป

1.แนวทางการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพภายใต้แนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จะทำให้นักประดิษฐ์สามารถมองเห็นวิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย จะทำให้รู้จักมองปัญหาตลอดจนโจทย์ของการทำงานต่าง ๆ ได้รอบทิศและรอบคอบมากขึ้น รวมถึง ฝึกให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีลำดับการบริหารจัดการที่ดี ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

    1.2.1 การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (Empathize) มายถึง นักประดิษฐ์จะต้องเข้าใจก่อนอันดับแรกว่าใครคือผู้ใช้สิ่งประดิษฐ์ที่เรากำลังจะพัฒนา เช่น CoP อาจารย์พยาบาล จะต้องรู้จักว่าใครคือ ผู้ใช้ปลายทาง (End-user) ของนวัตกรรมชิ้นนี้ การทำความเข้าใจในขั้นตอนนี้ อาจจะมาได้จากลายช่องทาง หลายวิธีการ เช่น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบภายใต้ (PICO) การศึกษาความต้องการของผู้ใช้ปลายทาง อาจทำในรูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) หรือ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ตามบริบทของผู้ใช้ปลายทาง การสำรวจภาวะสุขภาพ (Health survey) การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational analysis) ศึกษาแผนยุทธศาสตร์ แผลกลยุทธแผนปฏิบัติการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาคำอธิบายรายวิชา วัตถุประสงค์รายวิชาและผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา ร่วมกับการพัฒนานักศึกษาให้มีสมรรถนะตามหลัก 4 Csแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาช่องว่างของความรู้ (Gap of Knowledge) เพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ แล้วนำมาออกแบบสิ่งประดิษฐ์ของอาจารย์ หรือร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มและนักศึกษาในรายวิชาพื้นฐานทางการพยาบาลและรายวิชาทางการพยาบาล 

               1.2.การตั้งกรอบโจทย์ (Define) เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วว่าใครคือผู้ใช้ปลายทางขั้นต่อไปคือการตั้งกรอบโจทย์หรือเป้าหมายที่ชัดเจนของการพัฒนานวัตกรรม เช่น สเปรย์ดับกลิ่นปากจากดอกกาสะลอง กลุ่มเป้าหมายที่จะใช้คือบุคคลทั่วไปสามารถพกพาติดตัวไปได้ 

         1.2.การสร้างแนวคิด (Ideate) แนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มาจากการระดมสมองของนักประดิษฐ์ ในชุมชนนักปฏิบัติ จากคำถาม เราจะ.....อย่างไร? ด้วยข้อมูลที่มาจากขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2 เพื่อนำมาออกแบบสิ่งประดิษฐ์ร่วมกันของชุมชนนักปฏิบัติของอาจารย์ของเจ้าหน้าที่ หรือระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มและนักศึกษาในรายวิชาพื้นฐานทางการพยาบาลและรายวิชาทางการพยาบาลใน 5 สาขาหลัก    

         1.2.4 การสร้างต้นแบบ (Prototype) พัฒนาต้นแบบเพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีคุณค่าต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง การพัฒนาในขั้นตอนนี้ อาจต้องใช้ความรู้จากศาสตรสาขาอื่นๆ เข้ามามีส่วนสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้นวัตกรรมด้านสุขภาพบรรลุเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น เช่น วิศวกรรมศาสตร์  เทคโนโลยีสารสนเทศ ดนตรี ศิลปกรรมศาสตร์ แพทย์แผนไทย เป็นต้น

         1.2.การทดสอบ (Test) ทดสอบต้นแบบจากแนวคิดที่พัฒนาขึ้นมาใหม่กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย โดยขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน สามารถย้อนกลับไปทบทวนใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึง ขั้นตอนที่ 5 ซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะได้ต้นแบบนวัตกรรมที่ตรงความต้องการกับเป้าหมายอย่างชัดเจน 

1.3 การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ โดยนำแนวคิดหลักของวงจรบริหารงานคุณภาพ ที่ประกอบไปด้วย ขั้นตอน คือPlan-Do-Check-Act (Deming Cycle) มาใช้เป็นกระบวนการในการปรับปรุงการทำงานที่เป็นระบบโดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง(Continuous improvement) เพื่อพัฒนานวัตกรรมจึงจะต้องมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) ควบคู่ไปกับการทำงานประจำ (PDCA) ทั้งในส่วนของอาจารย์และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ดังนั้น PDCA จึงหมายถึง P = Priority & Purpose & Plan หมายถึง การวิเคราะห์ความต้องการและจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ จัดลำดับความสำคัญเพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าและนำมาวางแผนเพื่อจัดทำแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ 

D = Directing & Organizing หมายถึง การลงมือปฏิบัติ กำกับ บริหารจัดการโดยตรง

C = Check & Control & Continue หมายถึง ตรวจสอบ ควบคุม และ ทำต่อเนื่อง

A = Adjust & Action to improvement หมายถึง ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น




การพัฒนาต่อยอด

1. เชิญวิทยากรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญามาให้ข้อเสนอแนะในการขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและขอจดแจ้งคุ้มครองสิทธิ (ลิขสิทธิ/สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

2. เชิญวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกเพื่อให้คำแนะนำในการพัฒนาต่อและขยายผลเชิงพาณิชย์

 

 

2.ชุมชนนักปฏิบัติของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน (CoPเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน)

   การพัฒนาเริ่มต้นจากนำผลการประเมินและทบทวนผลการปฏิบัติจากงานประจำของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ตามหลักการ ของ PDCA ที่พบว่า การดำเนินงานในงานประจำมีความผิดพลาดและล่าช้า หรือมีขั้นตอนมาก รวมถึงเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบมีจำนวนน้อย มีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบบ่อย จึงต้องการที่จะพัฒนาแนวทางในปฏิบัติงานแบบใหม่เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความผิดพลาดและก่อให้เกิดความล่าช้าของการดำเนินงานทั้งงานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิทยบริการ งานห้องปฏิบัติการ งานวิชาการและงานวิจัย ดังนี้

    2.1 การออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรม เป็นการปรับปรุงและออกแบบใหม่ในการให้บริการ โดยมีเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนในงานนั้นๆ เป็นเจ้าของผลงาน 

    งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้วิธีการสอนงาน ในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อทดแทนงาน หมายถึง เจ้าหน้าที่ภายในกลุ่มงานนั้นสามารถทำงานทดแทนกันได้ภายในกลุ่มงานของตัวเอง เป็นการปฏิบัติงานเบื้องต้น เช่น เครื่องเสียงขัดข้อง คอมพิวเตอร์มีปัญหา ไมโครโฟนใช้การไม่ได้  ซึ่งมีเจ้าหน้าที่งานโสตฯ ดูแลเพียง 1 คน จึงจะต้องมีการสอนงานเบื้องต้นให้กับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ เพื่อให้ปฏิบัติงานทดแทนได้ในกรณีลาหรือกำลังติดภารกิจอื่นในเวลาเดียวกัน การยืมคืนของระบบห้องสมุดสามารถใช้เจ้าหน้าที่คนอื่นที่ไม่ใช่บรรณารักษ์ปฏิบัติหน้าที่แทน  การเข้าใช้ห้องปฏิบัติการเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ สามารถทำหน้าที่ทดแทนเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการได้

   งานวิทยบริการ พบว่าอาจารย์และนักศึกษามีข้อเรียกร้องให้ช่วยตรวจสอบการเขียนบรรณานุกรมบ่อย และรูปแบบเดิมๆ บรรณรักษ์จึงเขียนตัวอย่างบรรณานุกรมและรูปแบบวิธีในการเขียนอ้างอิง (APA format) แขวนไว้บนเวปไซด์ของห้องสมุด เพื่อผู้รับบริการจะสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนของบรรณรักษ์

     งานห้องปฏิบัติการ จากการทำ 5 ส พบว่า หูฟังไม่ได้รับการเก็บเพื่อให้ง่ายและสะดวกในการใช้งาน จึงพัฒนา ราวห้อยหูฟังทางการแพทย์ โดยนำราวแขวนผ้ามาติดกับผนัง แล้วประยุกต์ใช้เป็นราวห้อยหูฟัง 

     งานบริหารหลักสูตร โดยการนำระบบของ ไลน์แอพพลิเคชั่น เพื่อมาติดตามการจัดส่ง มคอ.ของอาจารย์ โดยเริ่มนำไปใช้ในการกำกับติดตามที่หัวหน้าสาขาวิชาทางการพยาบาล

     งานวิจัย มีการกำกับและติดตามเพื่อให้สามารถเบิกเงินทุนวิจัยให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

     สรุปการพัฒนานวัตกรรมของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ประกอบด้วย วิธีการสร้างใหม่ (Redesign) และการนำแนวคิดการปรับปรุงงานให้ง่าย (Work Simplification) ด้วยวิธการสอนงาน ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง จัดเก็บอย่างเป็นระบบ กำกับและติดตาม โดยให้ความสำคัญต่อตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ คือ ต้นทุน คุณภาพ เงินลงทุน การบริการ และความรวดเร็วในการดำเนินงาน

     2.2  การนำไปใช้ เป็นการนำนวัตกรรมไปใช้ควบคู่กับงานประจำ

            มีเพียง 1 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พบว่า เจ้าหน้าที่ ร้อยละ 100 ได้นำนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้และผลการประเมินของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการที่เป็นนักศึกษา มีความพึงพอใจในระดับมาก

   2.3 การส่งเสริมและพัฒนาเพื่อต่อยอดนวัตกรรม

       งานเทคโนโลยีสารสนเทศนำรูปแบบการทำงานมาพัฒนาต่อยอดในการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ One Stop Service แบบมืออาชีพ ผ่าน Google space 

3ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรม

   3.1 กลัวการเปลี่ยนแปลง วางเฉย คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่เดิมดีแล้ว

   3.2 ขาดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ ไม่รู้จะพัฒนาไปทำไม

 3.3 ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาในบางชิ้นงานเนื่องจากภาระงานทั้งของอาจารย์และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน

 3.4 งบประมาณมีจำกัดทำให้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ได้แค่ในระดับเบื้องต้นและขาดการพัฒนาต่อยอด

4.ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม

 4.1 วิสัยทัศน์ของวิทยาลัยชัดเจน ที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมทำให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง เห็นเด่นในเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน

4.2 ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุน 

4.3 มีผู้รับผิดชอบงานวิจัยและนวัตกรรม มีระบบและกลไกในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม 

5.แนวทางการพัฒนา

5.1 สร้างบรรยากาศขององค์กรให้เป็นชุมชนนักประดิษฐ์อย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจเพิ่มแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีรางวัลนักประดิษฐ์ดีเด่นขององค์กร

5.2 การพัฒนานวัตกรรมต่อยอดในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้แก่องค์กร