รายงานการสังเคราะห์ความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอน
เพื่อพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
.................................................................
จากการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยและการจัดการความรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ตามเกณฑ์การวิเคราะห์คุณภาพงานวิจัย โดยคณะอนุกรรมการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย ได้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์(EBN) ตามองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม 2) รูปแบบวิธีการสอน และ 3) การประเมินผล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ข้อเสนอแนะ (Recommendation)
|
1. เตรียมความพร้อมก่อนการเรียนได้แก่การเตรียมนักศึกษา อาจารย์ และสิ่งแวดล้อม
|
1.1 เตรียมนักศึกษา
ก่อนการจัดการเรียนการสอน EBN อาจารย์ควรเตรียมนักศึกษาดังนี้
· เตรียมความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ EBN (3C)
· พัฒนาทักษะการอ่านรายงานวิจัยภาษาอังกฤษ (3C)
· ปลูกฝังทัศนคติต่อการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ( 2 )
· นักศึกษาควรเรียนวิชาวิจัยทางการพยาบาลมาก่อน (3C)
|
1.2 เตรียมอาจารย์
ก่อนการจัดการเรียนการสอน EBN ควรเตรียมความพร้อมของอาจารย์ดังนี้
· เตรียมความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ EBN ( 4 ) เช่น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (4)
· เตรียมทักษะในการเรียนการสอนตามขั้นตอนของ EBNทั้งในการเตรียมการสอน การดำเนินการสอน และการประเมินผล (3C)
|
1.3 เตรียมสิ่งแวดล้อม
· สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ EBN เช่น ห้องเรียนที่เป็นสัดส่วน การสนับสนุนของแหล่งฝึก และ ความร่วมมือของญาติและผู้ป่วย (3C )
· จัดเตรียมทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ EBN เช่น คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล วารสาร (3C)
|
2. วิธีการเรียนการสอน
|
· ฝึกทักษะผู้เรียนตามกระบวนการ EBN ได้แก่ การตั้งคำถามโดยใช้ PICO model การสืบค้นหลักฐาน การประเมินคุณภาพของหลักฐาน การตัดสินใจใช้หลักฐาน การนำไปปฏิบัติ และ การประเมินผลการปฏิบัติ ( 2 )
· ฝึกทักษะการใช้กระบวนการ EBN ในทุกรายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง (3C)
· อาจารย์ควรสอนภาคปฏิบัติโดยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี ได้แก่ การใช้เทคนิคส่งเสริมการเรียนรู้ การให้คำแนะนำและกำลังใจ (3C)
· ควรนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิจัยทางการพยาบาลมาใช้ในการพิจารณาออกแบบการเรียนการสอนและจัดกลุ่มผู้เรียนในการฝึกภาคปฏิบัติ (3C)
· อาจารย์ควรพัฒนาความสามารถในการอ่านรายงานวิจัยภาษาอังกฤษของนักศึกษา (3C)
|
3. การประเมินผล
|
การประเมินผลการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ EBN โดย
· ประเมินการเรียนรู้ ENB ของผู้เรียนทุกขั้นตอนของกระบวนการ EBN อย่างต่อเนื่อง ( 4 )
· การสะท้อนคิด (reflection) ( 4 )
· ให้ผู้เรียนประเมินสมรรถนะ EBN ของตนเองด้วยแบบประเมินสมรรถนะ EBN ( 4 )
· ให้ผู้เรียนประเมินกระบวนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ EBN ด้วยแบบประเมินประสิทธิภาพการสอน และแบบสอบถามความต้องการของนักศึกษาเกี่ยวกับความต้องการการเรียน EBN ( 4 )
|
จุดอ่อนและจุดแข็งของงานวิจัยด้านการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
จากการวิเคราะห์ผลงานวิจัยในภาพรวมพบว่ามีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ในด้านจุดแข็งคือ การได้องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน EBN ตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากรที่ได้มาโดยการสุ่ม มีการใช้เครื่องมือชุดเดียวกันในงานวิจัยทั้ง 4 เรื่อง และได้ผลงานวิจัยที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย ในด้านจุดอ่อน พบว่ามีการคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ขนาดอิทธิพลยังไม่ชัดเจน การนำเสนอรายละเอียดที่ทำให้มั่นใจว่าเครื่องมือวิจัยมีคุณภาพจริง รูปแบบการเขียนรายงาน และข้อค้นพบปัญหาการเรียน EBN ยังไม่สามารถระบุขนาดของปัญหาได้
แนวทางการพัฒนางานวิจัย
ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโจทย์วิจัยและการปรับปรุงงานวิจัย ดังนี้
1. โจทย์วิจัยที่ควรค้นหาคำตอบเพิ่มเติมเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สมบูรณ์มากขึ้นเกี่ยวกับ
1.1 การนำผลการวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลมีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้รับบริการอย่างไร
1.2 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากขึ้นหรือไม่เมื่อมีการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
1.3. มีองค์ประกอบอะไรบ้างจากหน่วยงานหรือจากผู้บังคับบัญชาที่กระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมุ่งมั่นหรือต้องการทำวิจัยและนำผลงานวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน
1.4 ควรศึกษามุมมองของผู้สอน content analysis ควรทำโดยผู้วิเคราะห์ 2 คน เพื่อตรวจสอบความตรงของผลการวิจัย
1.5 ควรมีการวิจัยสำรวจความรุนแรงของปัญหาโดยการนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาใช้
1.6 ควรศึกษาปัจจัยทำนายความสามารถให้เห็นชัดเจนว่าตัวแปรแต่ละตัวมีอิทธิพลต่อสมรรถนะมากน้อยเพียงไร โดยเขียนเป็นสมการทำนาย
2. พัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ให้ครบตามวงจรของ EBN และนำมาใช้ศึกษาติดตามปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถและทัศนคติของนักศึกษาภายหลังสำเร็จการศึกษา
3. การคำนวณกลุ่มตัวอย่างควรมีความชัดเจนโดยใช้ค่าขนาดอิทธิพลจากการศึกษานำร่องเป็นตัวเลขที่นำมาใช้คำนวณและ. แสดง Effect size ในแต่ละคู่ว่ามีขนาดเท่าใดเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินความเพียงพอ
4. ควรมีการตรวจสอบรูปแบบการเขียนรายงานวิจัยก่อนการทำเล่มเผยแพร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น