วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

ถอดบทเรียนจากการประชุมเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์การบริการสุขภาพ

ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์

.............................................

ที่มาของแนวทางปฏิบัติที่ดี  จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ ปีการศึกษา 255๕ มีความเป็นมาจากการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถาบัน ให้มีการผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ของวิทยาลัยที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข โดยมีประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยการนำแนวปฏิบัติที่ดีของปีการศึกษา 2554 ไปลงมือปฏิบัติและนำมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  แล้วนำมาสู่การพัฒนาขั้นตอนหรือการดำเนินงานเพื่อให้บัณฑิตมีการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์

          จากแนวคิดสาธารณสุขแนวใหม่ การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นการบริการ             ด้วยความเมตตา เอื้ออาทร และดูแลผู้รับบริการทั้ง 4 มิติ ที่ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และเพิ่มเรื่อง ความเข้าใจผู้อื่น โดยคำนึงถึงผู้รับบริการหรือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ให้บริการ            ที่มีความยืดหยุ่น เน้นการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และพัฒนาศักยภาพของคนให้พึ่งพาตนเองได้

          การเข้าใจผู้อื่น คือ การพัฒนากระบวนทัศน์และปรับกระบวนทัศน์ ในการศึกษาจากสภาพจริง               มองความเป็นจริง ผลลัพธ์ คือ การเข้าใจชีวิต และการเรียนรู้จากภายใน

          ทิศทางการศึกษา เน้นการเรียนรู้ให้เข้าใจชีวิตและสังคมตามความจริง สอนแบบบูรณาการระหว่างการเรียนความรู้สำเร็จรูป (เรียนจากความรู้ที่มีอยู่ตามตำราหรือทฤษฎีทางกับการเรียนความรู้ในสภาพจริง เรียนโดยการไปดูของจริง คิดวิจารณญาณ เข้าใจชีวิตและบริบทจริง) เพื่อให้ผู้เรียน           เข้าใจความเป็นจริงของชีวิต มุมมองการดูแลสุขภาพของชาวบ้าน เป็นการสอนที่ผสมผสานความรู้ทางวิชาชีพและการเข้าใจสภาพความจริงจนสามารถประยุกต์การบริการให้เหมาะสมกับบุคคล ครอบครัว และชุมชนได้

          กระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์ มีบันได 3 ขั้น ได้แก่

                    1. กระบวนการปรับทัศนคติต่อการเรียนรู้ความจริง

                    2. กระบวนการศึกษาความจริงด้วยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

                    3. กระบวนการสรุปวิเคราะห์และชี้ประเด็นของครู

          ผลที่ต้องการ  ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจผู้อื่น ไม่ใช้เกณฑ์ของตนเองไปตัดสินผู้อื่น เข้าใจความจริง ของชีวิตในสังคม สามารถนำความรู้ไปประยุกต์และถ่ายทอด สนับสนุนให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง ครูเป็นหัวใจของความสำเร็จ ผลสัมฤทธิ์การสอนขึ้นกับศักยภาพครู โดยเรียนรู้          ไปพร้อมกัน ครูทำหน้าที่ปรับความคิดนักศึกษา

          บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ หมายถึง การให้บริการที่เป็นมิตร มีความรัก             ความเมตตา ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง ให้บริการตามปัญหาและ              ความต้องการ ของผู้รับบริการที่เป็นจริง โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการเป็นหลัก เรียกย่อว่า SAP

          Service mind คือ การมีจิตบริการที่เป็นมิตร มีความรัก ความเมตตา ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง โดยไม่ตัดสินพฤติกรรมคนอื่นด้วยความคิดของตนเอง เข้าใจและ เห็นใจผู้อื่น ให้บริการตรงตามปัญหาและความต้องการของผู้รับริการ

          Analytical thinking คือ การคิดบนฐานข้อมูลจริง วิเคราะห์และวางแผนแก้ปัญหาได้ โดย               เก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพความเป็นจริงอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการที่แท้จริง              ของผู้รับบริการ วางแผนแก้ปัญหาได้อย่างสอดคล้องกับบริบทชีวิตจริงโดยประยุกต์ความรู้วิชาการ

          Participation/ Patient center คือ วิธีการทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ให้เขารับรู้ ตัดสินใจ ช่วยตนเองได้

          ความหมายและขอบเขต  การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยวิทยาลัยให้ความหมายไว้ว่า  เป็นการให้บริการด้วยความเต็มใจ  เอาใจใส่ในปัญหา ความทุกข์ของผู้รับบริการ  คิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาตามความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย

จิตบริการ (Service mind : S) หมายถึง การบริการด้วยความเต็มใจ เอาใจใส่ในปัญหา

และความทุกข์ของผู้รับบริการอย่างเสมอภาคและเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

     คุณลักษณะและพฤติกรรมที่คาดหวัง

เต็มใจ  (Willing )  หมายถึง  การปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วยท่าทีเป็นมิตร กิริยาสุภาพ

อ่อนโยน พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส   เห็นใจ

         เอาใจใส่  (Attentiveness) หมายถึง   กระตือรือร้น สอบถามทุกข์สุขและสังเกตการ

เปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอและตอบสนองต่อความรู้สึกหรือความต้องการของผู้รับบริการอย่างทันท่วงที ให้ความช่วยเหลือโดยผู้รับบริการไม่ต้องร้องขอ ไม่หวังสิ่งตอบแทน

ความเสมอภาค (Equity) หมายถึงการปฏิบัติต่อผู้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่

แบ่งแยก

เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (Respect & Dignity)หมายถึง การยอมรับและ

เคารพในความแตกต่างทางความคิดและพฤติกรรม   ของแต่ละบุคคล (การรับฟังด้วยความตั้งใจ ปราศจากอคติ ไม่ตีค่าตัดสินความเป็นมนุษย์) 

การคิดวิเคราะห์และใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Analytical thinking and Evidence

based : Ae ) หมายถึง การคิดวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้วิจารณญาณจากข้อมูลที่หลากหลายตามสภาพจริงและวางแผนแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการอย่างเป็นระบบ และใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

วิเคราะห์ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ที่หลากหลาย

ตามบริบทที่เป็นจริงของผู้รับบริการ และพิจารณาความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่รวบรวมได้ ระบุปัญหาและสาเหตุจากข้อมูลที่มีอยู่จริง และเชื่อมโยงองค์ความรู้อย่างมีหลักการสู่การแก้ปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ

วางแผนแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ หมายถึง การคิดประยุกต์วิธีการแก้ปัญหาตามสาเหตุที่

แท้จริงอย่างปลอดภัยโดยมีความรู้และหลักฐานอ้างอิงอย่างชัดเจนสอดคล้องกับสภาพจริงที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และนำผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาไปปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง

               การบริการแบบมีส่วนร่วม (Participation : P) หมายถึง ปฏิบัติการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามปัญหาและความต้องการโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม 

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Care) หมายถึง ให้การดูแลผู้รับบริการที่ครอบคลุม

 กาย จิตสังคมและจิตวิญญาณ   และสอดคล้องกับบริบทของสังคม

          ผู้รับบริการมีส่วนร่วม หมายถึง มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล วางแผน ตัดสินใจเลือกวิธีการ

แก้ปัญหา ดูแลสุขภาพ และติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง        

            SAeP มีจุดมุ่งหมายให้นักศึกษา มีจิตบริการ (Service mind) คือ มีจิตอาสาให้บริการด้วยความเอื้ออาทร สามารถคิดวิเคราะห์ (Analytical) คือ มีเหตุมีผล มีวิจารณญาณ ภายใต้การใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์ (Evidence-based) และให้บริการแบบมีส่วนร่วม (Participation) คือ ให้ผู้รับบริการ            มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อเสริมสร้างพลังความสามารถของผู้รับบริการให้สามารถดูแลตนเองได้  ผู้รับบริการ จึงมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ จิตวิญญาณ ปลอดภัยจากความเสี่ยงที่ป้องกันได้

         

วิธีดำเนินการ

          การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ของวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สระบุรี จากการถอดบทเรียนเล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนพบว่า มีการสอนหลากหลายวิธีหรือรูปแบบที่จัดว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดี และสอดคล้องกับแนวคิด SAeP สรุปได้ ดังนี้

1.      บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดอัตลักษณ์และถือเป็นค่านิยมร่วมกัน

2.      กำหนดนโยบาย  ผู้บริหารทุกระดับประกาศนโนบายให้ทุกรายวิชามีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่

ประกอบด้วย SAeP

3.      ศึกษาหลักสูตร  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์รายวิชาเพื่อจัดทำผลลัพธ์การเรียนรู้  โดย

ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอนร่วมกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาในด้านการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์

4.      ออกแบบการสอนรายวิชา (Course   design) ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

ร่วมกำหนดกำหนดวิธีการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ในด้านการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดรายวิชา (มคอ. 3 และมคอ. 4) ได้แก่ หมวดการศึกษาทั่วไป ออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ บูรณาการการสอนกับพัฒนานักศึกษา จิตอาสา เล่าประวัติ เล่าชีวิต  การรับฟังอย่างตั้งใจ  และเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หมวดพื้นฐานวิชาชีพ ออกแบบการเรียนรู้ในสภาพจริง  การบรรยายแบบมีส่วนร่วม  การสอนแบบการคิดมีวิจารณญาณ  การสอนการคิดเชิงเหตุผล  การสอนแบบความร่วมมือ  หมวดวิชาชีพ  ออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยการวิเคราะห์กรณีศึกษา  การตั้งคำถาม  การใช้ปัญหาเป็นหลัก  การมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน  การสอนแบบการคิดมีวิจารณญาณ  ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล  ปฐมนิเทศรายวิชา  การประชุมปรึกษาก่อนและหลังการพยาบาล   การวิเคราะห์กรณีศึกษา  การรับฟังอย่างตั้งใจ  การสะท้อนคิด  การเป็นต้นแบบ  การมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน  การสอนในคลินิก  การเขียน Journal writing & feedback

เป็นต้น

5.      ออกแบบการวัดและประเมินผล  ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอนร่วมกำหนดวิธีการ

วัดและประเมินผลเพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ในด้านการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์

6.      จัดทำแผนการสอนรายครั้ง/แผนการสอนภาคปฏิบัติ  อาจารย์ผู้สอนศึกษาผลลัพธ์การ

เรียนรู้   วิธีการสอน  การวัดและประเมินในหัวข้อที่รับผิดชอบ แล้วนำมาจัดทำแผนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับการออกแบบการสอนที่กำหนดไว้ในหัวข้อนั้นๆโดยเฉพาะในด้านการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์  เช่นในรายวิชาศึกษาทั่วไปฯ บูรณาการกับวิชาสังคมวิทยาฯ มีการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษาทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้รับบริการด้วยความเต็มใจ ในรายวิชามนุษย์  สิ่งแวดล้อมและสุขภาพมีการออกแบบการเรียนการสอนให้นักศึกษา ศึกษาวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่มีบริบทที่ต่างๆกัน ในรายวิชาการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบและวิชาศึกษาทั่วไปฯ มีการออกแบบการเรียนการสอนฝึกทักษะด้านการคิดและการตั้งคำถาม  ในรายวิชาการพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ 1,2,3 มีการออกแบบการเรียนการสอนการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case analysis)  ที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์  เป็นต้น

7.      ดำเนินการสอน  อาจารย์ผู้สอนดำเนินการสอนตามวิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนหรือ

จัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่ได้ออกแบบไว้เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการสอนรายครั้ง/แผนการสอนภาคปฏิบัติในด้านการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์

8.      ประเมินผลการเรียนรู้  โดยอาจารย์ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ในด้านการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งประกอบด้วยเรื่องจิตบริการ  การคิดวิเคราะห์และใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และผู้รับบริการมีส่วนร่วม

9.      ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน     นักศึกษาประเมินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาตาม

แบบประเมินผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชาและมีสัมมนาการจัดการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์และนักศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาและบันทึกในแบบบันทึกการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาและนำผลการสัมมนาปรับปรุงวางแผนการจัดการเรียนการสอนในด้านการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในปีการศึกษาต่อไป

10.   จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปองค์ความรู้   รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและผุ้รับผิดชอบ

งานจัดการความรู้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนทุกหมวดวิชาที่ประกอบด้วยหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป  พื้นฐานวิชาชีพ  และหมวดวิชาชีพ  ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ คือการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์


ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1.      บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการกำหนดอัตลักษณ์และถือเป็นค่านิยมร่วมกันในการ

ดำเนินงาน

2.      การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ร่วมคิด ร่วมทำ โดยร่วมมือกันทุกกลุ่มภารกิจ กำหนด

กรอบแนวคิดของวิทยาลัย SAeP การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

          3. การสนับสนุนจากผู้บริหารเป็นอย่างดีในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง และร่วมคิดให้ข้อเสนอแนะ ในที่ประชุม

          4. มีการสนับสนุนเตรียมความพร้อมให้อาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นในการเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น การเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยการจัดประชุมอบรม เช่น ทักษะการตั้งคำถาม สุนทรียสนทนา การรับฟังอย่างตั้งใจ จิตอาสา จิตบริการ การศึกษาดูงาน

          ๕. มีการจัดการความรู้ โดยจัดให้อาจารย์นำประสบการณ์มาเล่าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของวิทยาลัย โดยอาจารย์ได้นำแนวปฏิบัติที่ดีไปทดลองปฏิบัติและนำมาเล่าสู่กันฟัง มีการถอดบทเรียนและนำความรู้ไปทดลองปฏิบัติ แล้วนำกลับมาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดี

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น