วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน : การสร้างเสริมแนวทางการป้องกันการใช้บุหรี่และแนวทางการเลิกสูบบุหรี่แก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา



วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สระบุรี
ถอดบทเรียนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
โครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน : การสร้างเสริมแนวทางการป้องกัน
การใช้บุหรี่และแนวทางการเลิกสูบบุหรี่แก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา

ประภาส ธนะ

บทนำ
วัยรุ่นถือเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตและเป็นกลุ่มประชากรที่เผชิญกับปัญหาสุขภาพสืบเนื่องมาจากสภาพความก้าวหน้าทางสังคมและเทคโนโลยี  ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งทางร่างกาย และจิตใจ มีความคิดค่อนข้างอิสระ ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ปัจจุบันพบว่าวัยรุ่นและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับแรงผลักดันของเพื่อน และสื่อมวลชนที่อยู่รอบตัว มีรายงานว่าเด็กวัยรุ่นที่นิยมเล่นเกมที่มีลักษณะต่อสู้  ก้าวร้าว รุนแรง มักจะซึมซับความคิดและพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงไปโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เกิดอารมณ์ดื้อรั้น  ต่อต้านครู ผู้ปกครอง ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท ชกต่อยกันเมื่อมีความขัดแย้งกันได้ง่าย
ปัญหาทางจิตใจ ที่มักพบในวัยรุ่น ได้แก่อารมณ์ซึมเศร้า (depressive disorder) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น โดยพบว่ามีความชุกร้อยละ 1.6-8.0 ในวัยรุ่น โดยมีอัตราส่วนเพศชาย:เพศหญิง ประมาณ 1:2 หลังจากเข้าสู่วัยรุ่น พบว่าความชุกของโรคในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก และพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการเมื่ออายุน้อยลงกว่าเดิม การศึกษาในประเทศไทยพบว่า depressive disorder มีความชุกสูงร้อยละ 7.1 ในเด็กวัยเรียน และพบว่าวัยรุ่นร้อยละ 13.3 มีปัญหาอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรง depressive disorder เป็น โรคที่มีผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นอย่างมากทั้งความสามารถในด้านการเรียน การเข้าสังคม พัฒนาการด้านจิตสังคมทุกด้านรวมทั้งการพัฒนา self-esteem และ การพัฒนาความผูกพันทางอารมณ์ต่อพ่อแม่ เป็นต้น เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่นในปัจจุบันหลายอย่าง เช่น พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ปัญหาการติดสารเสพติด รวมทั้งบุหรี่และเหล้า ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของปัญหาการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นที่มี แนว โน้มสูงขึ้นในปัจจุบัน บางครั้งพบว่าเด็กต้องแบกรับความเครียดจากความคาดหวังของผู้ปกครอง  มีภาวะเครียดในด้านต่างๆ เกิดความวิตกกังวล ทำให้มีปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และสังคม ความเครียดจากโรงเรียนและเพื่อน สมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder: ADHD), oppositional defiant disorder และ conduct disorder  ส่งผลให้เด็กและวัยรุ่นมีพฤติกรรมเพื่อช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน เบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาทางอารมณ์ มีพฤติกรรมการใช้บุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์จนเกิดอุบัติเหตุ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพต่อเนื่องถึงวัยผู้ใหญ่ ปัญหาสุขภาพวัยรุ่นเหล่านี้สามารถดูแลป้องกันได้โดยการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กวัยรุ่นให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะก้าวต่อไปเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์


บทสรุปจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นที่ 1 การเตรียมชุมชน
          การติดต่อประสานงานกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลเสีย อันตรายและผลกระทบของบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพของบุคคล  ชุมชน  ครอบครัว  สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติสร้างเสริมแรงจูงใจในการแก้ไขพฤติกรรมการใช้บุหรี่รวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้บุหรี่ของผู้เข้าร่วมโครงการ


   ภาพที่ 1 การเตรียมชุมชน


ประเด็นที่ 2 การเตรียมนักศึกษาเพื่อเรียนรู้การสร้างเสริมแนวทางการป้องกันการ ใช้บุหรี่และแนวทางการเลิกสูบบุหรี่แก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษาโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค 5As ในวัยรุ่นที่สูบบุหรี่

            การเตรียมความพร้อมนักศึกษาด้านความรู้เรื่องการเลิกบุหรี่ในรายวิชาการสอนและให้คำปรึกษาทางสุขภาพโดยครอบคลุมการจัดการเรียนรู้ในบทเรียนมีหัวข้อดังนี้

  1. - แนวทางการสอนเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ และแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันตนเองจากอันตรายและผลกระทบของบุหรี่  
  2. วิธีการเลิกบุหรี่ หลักการให้คำปรึกษาในการเลิกบุหรี่ในคู่มือรายวิชาการสอนและให้คำปรึกษาทางสุขภาพ


การให้นักศึกษามีความพร้อมด้านความรู้เรื่องการเลิกบุหรี่ แนวทางการสอนเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ และแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันตนเองจากอันตรายและผลกระทบของบุหรี่ และวิธีการเลิกบุหรี่ หลักการให้คำปรึกษาในการเลิกบุหรี่จะทำให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในการปฎิบัติการการสร้างเสริมแนวทางการป้องกันการ ใช้บุหรี่และแนวทางการเลิกสูบบุหรี่แก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา

 ภาพที่ 2 และ 3 นักศึกษากำลังสอนให้ความรู้เรื่องการเลิกบุหรี่

นอกจากนี้เทคนิคการสอนให้ความรู้นอกจากการบรรยายผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ผ่านการให้ความรู้ผ่านฐานกิจกรรมต่างที่นักศึกษาจัดไว้ ดังภาพ



ภาพที่ 4-6 การให้ความรู้ผ่านนิทรรศการ

ประเด็นที่ 3 ประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง
         




 
ภาพที่ 7-9 การดำเนินกิจกรรม

นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในผู้เข้าร่วมโครงการเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการบูรณาการ การเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เป็นบทบาทในการสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค







ภาพที่ 10-11 กิจกรรมเน้นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามา

การบริการให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกลุ่มเป้าหมาย โดยประยุกต์ใช้หลักการ 5 A (Ask, Advise, Assess, Assist, Arrange follow up) 5 R (Relevance, Risks, Rewards, Road blocks, Repetition) และ 5D (Delay, Deep Breath, Drink Water,Do something else,Destination) ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายแต่ละคน 


ภาพที่ 12-13 เทคนิคการให้คำปรึกษา 5As

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น