วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประสบการณ์การสอนการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ภาคปฏิบัติ



วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สระบุรี
การจัดการความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ประสบการณ์การสอนการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ภาคปฏิบัติ

สุรางค์  เปรื่องเดช

          จากประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 21  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2548 เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ  หมั่นแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  และสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งให้เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม   และได้กล่าวถึงโครงสร้างหลักสูตรว่าประกอบด้วย 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  หมายถึง วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง  มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล  มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม  เป็นผู้ใฝ่รู้ และสามารถคิดอย่างมีเหตุผล  สามารถใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้ดี  สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี 2) หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง วิชาแกน  วิชาเฉพาะด้าน  วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพ  ที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้  3)  หมวดวิชาเลือกเสรี  หมายถึง  วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจตามที่ตนเองถนัดหรือสนใจ 
          วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี  เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  โดยมีรูปแบบของหลักสูตรคือเป็น หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา  นอกจากนั้นจากทิศทางการเปลี่ยนแปลงและบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตพยาบาลให้มีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์และมาตรฐานสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ
          จากรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ. 2) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) หมวดที่ 2 หน้า 5 ว่าด้วยเรื่องข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร ที่กล่าวถึงปรัชญาของหลักสูตร วรรคที 2 ว่า การศึกษาพยาบาลเป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยบูรณาการศาสตร์ทาง  การพยาบาล(Professional meaning) ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ (Client  meaning) ในเชิงสังคมวิทยา มานุษยวิทยา มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และผู้ใช้บริการ บนพื้นฐานความเอื้ออาทรภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้จากสภาพจริง ด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณลักษณะมีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ทักษะทางปัญญา ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศและทักษะการปฏิบัติการพยาบาล สามารแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม    
        สาระเรื่องกระบวนการพยาบาลเป็นเป็นสาระที่สำคัญเพราะเป็นแก่นของวิชาชีพการพยาบาลอย่างหนึ่ง  กล่าวคือกระบวนการพยาบาลเครื่องมือสำคัญของพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล  โดยเมื่อพยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลทำให้เข้าถึงและเข้าใจผู้รับบริการ  ทราบข้อมูล  วิเคราะห์  กำหนดปัญหา/ความต้องการ  วางแผนและให้การพยาบาลครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ตรงปัญหาและความต้องการ  ซึ่งสอดคล้องกับประกาศของสภาการพยาบาลมาตรฐานที่ 1  ว่าด้วย “การใช้กระบวนการพยาบาลใน      การปฏิบัติพยาบาลและการผดุงครรภ์  ต้องมีการใช้กระบวนการพยาบาลและบันทึกรายงานการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยทุกรายโดยพยาบาลวิชาชีพ”   นอกจากนั้นประกาศของสภาการพยาบาลมาตรฐานที่  5     ยังให้มีการบันทึกและการรายงานผลการปฏิบัติพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการพยาบาลและการผดุงครรภ์  รวมทั้งต้องมีระบบการตรวจสอบคุณภาพและความสมบูรณ์ของการบันทึกทางการพยาบาลเพื่อการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ      อย่างไรก็ตามการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้   ผู้ใช้จะต้องใช้บนพื้นฐานของกรอบแนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล   เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพของอย่างมีคุณภาพ   
            ข้าพเจ้าเป็นครูพยาบาลมีประสบการณ์การสอนหัวข้อกระบวนการพยาบาลเป็นเวลานานกว่า 20 ปี มีการพัฒนา/ปรับปรุงเนื้อหาการสอนเรื่อยมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนที่ 2 ของกระบวนการพยาบาลคือขั้นการวินิจฉัยการพยาบาล  มักเป็นยาขมสำหรับทั้งครูพยาบาลและนักศึกษาพยาบาล รวมถึงพยาบาลวิชาชีพระดับต่างๆ  ข้าพเจ้าได้เขียนและดำเนินโครงการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้กระบวนการพยาบาลให้แก่พยาบาลวิชาชีพที่เป็นพี่เลี้ยงนักศึกษาพยาบาลในแหล่งฝึกของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี  และได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้  หรือการวินิจฉัยทางการพยาบาลและการนำไปใช้  รวมทั้งได้เขียนและดำเนินโครงการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้กระบวนการพยาบาลแก่
นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และ 3 ก่อนฝึกปฏิบัติในชุมชนและหอผู้ป่วยวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคและวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 , 2 และ 3   ซึ่งกิจกรรมในการเตรียมประกอบด้วยการทบทวนความรู้เรื่องกระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน  รวมถึงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Common errors in formulating Nursing Diagnoses)     ให้แก่นักศึกษาทั้งชั้น  ตามด้วยให้นักศึกษาฝึกเขียนแผนการพยาบาลจากสถานการณ์จริงตามหอผู้ป่วยที่นักศึกษาจะฝึกปฏิบัติเป็นแผนกแรกหรือสถานการณ์จำลองที่นำมาจากสถานการณ์จริง   โดยมีครูประจำกลุ่มที่เป็นครูนิเทศประจำหอผู้ป่วยเป็นผู้ชี้แนะ  รวมทั้งข้าพเจ้าที่เป็นครูนิเทศประจำหอผู้ป่วยอายุรกรรม
          ในการเตรียมความพร้อมนั้นนักศึกษาจะต้องผ่านการฝึกด้านต่างๆดังนี้
1.      การฝึกการเขียนสรุปอาการและการรักษาก่อนรับไว้ในความดูแล เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาบูรณาการศาสตร์พื้นฐานวิชาชีพ เช่น เภสัชวิทยา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา พยาธิสรีรวิทยา ชีวเคมี ชีวบูรณาการ เป็นต้น กับศาสตร์ทางวิชาชีพ  โดยเริ่มจากการศึกษา OPD card  เวชระเบียน และแม้แต่ใบส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนหรือร.พ.ส.ต.ก็ต้องศึกษา  ว่าผู้ใช้บริการมาด้วยปัญหาทางการแพทย์ใด (ประวัติการเจ็บป่วย)   ผลการตรวจร่างกายเป็นอย่างไร  แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้น (Impression)ใด  ยืนยันการวินิจฉัยด้วยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการใด ผลเป็นอย่างไร ให้การรักษาอย่างไรบ้าง  ตั้งแต่แรกรับจนถึงวันที่รับผู้ใช้บริการไว้ในความดูแล  นอกจากนั้นถ้าผู้ใช้บริการรายนั้นปัญหาทางการแพทย์อื่นร่วม (โรคร่วม : Comorbid) หรือผลที่เกิดตามมาจากการเจ็บป่วยครั้งนี้นักศึกษาต้องสรุปไว้ในรายงานด้วย  ซึ่งการสรุปในหัวข้อดังกล่าวสะท้อนให้ทราบว่านักศึกษาผู้นั้นมีการคิดวิเคราะห์หรือคิดวิจารณญาณ หรือการเชื่อมโยงในระดับใด  และต้องการการชี้แนะมากน้อยแค่ไหนดังตัวอย่าง





วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สระบุรี
ตัวอย่างการสรุปอาการและการรักษาก่อนรับไว้ในความดูแล
สรุปอาการและการรักษาก่อนรับไว้ในความดูแล วันที่ 29 ม.ค. 57
1.      Dyspnea R/O Pneumonia  DDx  CHF 
                  ผู้ป่วยชายไทย วัยผู้ใหญ่ อยู่ร.พ.เป็นวันที่ 2  รับส่งต่อจากมาร.พ.เสาไห้ ด้วยอาการเหนื่อย 4 วัน PTA มีไข้ ไอมีน้ำมูก 15 ช.ม.ก่อนเริ่มเหนื่อยหอบ  6 ช.ม.ก่อน เหนื่อยหอบ  หนาวสั่น  และเหนื่อยหอบมากขึ้นจึงไปร.พ. เสาไห้  PE : T 37.7 o C , PR 98 bspm, RR 38 tspm , BP  174/104  mmHg , Lungs : crepitation & Wheezing BLs , DTX 286 , O2 Sat 88 % , MDx Acute asthmatic attack with Pneumonia ,  Rx ETT No. 7.5  depth 22  , Ventolin  1 NB X 2  doses , Berodual 1 NB X 1  dose , NSS 1000 ml    V    drip จึงส่งต่อมาร.พ. สระบุรี 
          แรกรับที่ ER  E4VTM6 , V/S : T 37.6 o C , PR 104 bspm, RR Ambu , BP 160 - 163/66 - 82  mmHg ,       O2 Sat 98 – 100 %  , Lungs : crepitation & Wheezing BLs Imp. Dyspnea R/O Pneumonia  DDx  CHF ,  Rx  suction , Bird , s respirator,  CXR พบ Patch infiltration at  Rt. Lung นอนสังเกตอาการที่ ER 1 ช.ม.30นาที จึง Admit อ.ช. 2
          PE : รู้สึกตัว ให้ความร่วมมือ on ETT with Bird , s respirator , RS :  crepitation Rt. Lower lung , sputum pink frosty sputum , Ext. : pitting edema 1 + both legs
วงรี:    Imp. Multilobar Pneumonia , DM , CKD ? HT ? , Rx  NPO ยกเว้น ยา , Record V/S, Bl. for CBC & plt , H/C x 2, CXR  P, sputum G/S, C/S , AFB x 3 days, U/A , Berodual  1 NB   NB   q  4  hr , on Bird , s respirator set  TV 450 ml , RR 18 tspm , FiO2 0.4 ,Fleuimucil (200 mg.) 1 x 3 ๏ pc , Para (500 mg) 2 tabs prn q 6 hr, Azithromycin (250 mgs) 2 tabs od ,
Record urine output keep  > 160 / 4 hr , NSS 1000 ml    V    drip 80  ml/hr หลังจากอยู่อช. 2 ประมาณ  ?  ช.ม. ผู้ป่วยถูกย้ายเข้า ICU Med  ,Ventilator setting  PCV , FiO2  1 , Pi 10 , PEEP 20 , Ti 1, F  20 /min. , ABG  q 6 hr , Fentanyl 50   g    V   stat , Dormicum  (1: 1)   
   V    drip 2  mg /hr

2.     DM with  Hyperglycemia
        Known case of DM ..?. ปี  (ม.ค.56) ได้รับการรักษา  on Insulin ฉีด เช้า 28 u - 0 - 0  ,
DTX 286 จาก ร.พ. เสาไห้  และ ผล U/A พบ glucose  4 + , Rx : DTX  q  6 hr  keep  80 – 100 mg./ dl , RI Potocol   sc  ,RI (1: 1)  V   drip 2  u /hr , RI  5 u   v    push , DTX  next  1 hr  , if  80 – 200 mg/dl  ให้   F/U ต่อ q 6 hr , มีHypoglycemia  DTX  44  %  Rx ให้ hold RI drip , 50 % glucose 50 ml   V   push , DTX  หลัง push ½ hr , then q  1 hr,  keep  80 – 100 mg./ dl , 5 % D/N/2 1000 ml   V   drip  80 - 100  ml/hr , RI (1: 1)    V   drip 1  u /hr

3.     Anemia
          จากผล CBC : Hct ...22 %...ในวันแรกของการอยู่ร.พ., .Rx G/M  PRC  2 U , ให้ PRC  2 U
   V    in 4 hr ในวันแรกของการอยู่ร.พ. Hct ...28 %....และให้ PRC  1 U   V    in 4 hr ในวันที่ 2 ของการอยู่ร.พ.

4.     Acute Kidney Injury on top CKD
        Known case of DM ..?. ปี  (ม.ค.56) ผลการตรวจ  Blood for BUN , Cr วันแรกรับ BUN 
104 , Cr 10.95 , U/S KUB  : increase renal parenchymal edema both kidneys without hydronephrosis & stone  ปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต Rx Hemodialysis  session length 3 hr ในวันที่ 2 ของการอยู่ ร.พ. ร่วมกับให้ ATB : Gentamycin 240 mg    V     drip in 1 hr

5.     Electrolyte  imbalance
        Hyperkalemia   ในวันแรกของการอยู่ร.พ.ผล Electrolyteพบ Hyper K + 5.8 Rx  Kalimate 
30 gm. + น้ำ100 ml rectal suppo q 4 hr x 3 doses และ repeat electrolyte หลังครบ doses
ผล K + ลดลงเหลือ 3.9- 4.6
        Metabolic acidosis จากผล Electrolyteในวันแรกของการอยู่ร.พ. พบHCO3- 12 , Rx  7.5 %
NaHCO3- 100 ml   v    drip in 2 hr จากนั้น repeat electrolyte หลังครบ dose ผลพบ   
HCO3- 13       9
        Hypomagnesaemia จากผล Electrolyteในวันแรกของการอยู่ร.พ. พบMg 1.1,  Rx 50 %
วงรี:    MgSO4 8 ml in NSS 100 ml   V   drip in 4 hr

6.     Hypertension
วงรี:            จากผล PE ในวันแรก BP 160 - 163/66 - 82  mmHg , Rx Hydralazine 10 mg    V 
record  V/S  Keep  BP  <  180/ 110  mmHg

7.     Atrial Fibrillation
        ในวันที่ 2 ของการอยู่ร.พ. (ICU Med) ผลการตรวจ HR เร็ว ~ 160 bspm , EKG 12 lead  :
AF with RVR สลับกับ Sinus tachycardia ,  BP  158/94  mmHg,  Rx  : Cordarone 150 mg  
วงรี:    วงรี:      V   drip in 1/2 hr then 600 mg    V    drip in 24  hr , EKG 12 lead 

2.      การสรุปแผนการรักษาตั้งแต่แรกรับจนถึงก่อนรับไว้ในความดูแลซึ่งนักศึกษาต้องสรุปประเด็นปัญหาทางการแพทย์  ในแผนการรักษาดังกล่าวรวมถึงการส่งสิ่งส่งตรวจไปห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษที่สอดคล้องกับปัญหาทางการแพทย์นั้นๆ  สะท้อนถึงนักศึกษาผู้นั้นนำความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค พยาธิสรีรวิทยา และเภสัชวิทยามาใช้อย่างมีเหตุมีผลและมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  และแผนการรักษานั้นต้องสอดคล้องกับแผนการรักษาที่อยู่ในหัวข้อ 1  ดังตัวอย่าง






สรุปแผนการรักษา วันที่ 29 ม.ค. 57

Med. Prob.
แผนการรักษา
วัน เดือน ปี
Dyspnea R/O Pneumonia 
DDx  CHF 

ร.พ. เสาไห้
ETT no  7.5  depth 22  with Ambu
CXR
วงรี:    NSS 1000 ml    V    drip 80  ml/hr
at ER
Bird , s respirator
at อ.ช. 2
on Bird , s respirator set  TV 450 ml , RR 18 tspm , FiO2 0.4
Ventolin  1 NB X 2  doses
Berodual 1 NB X 1  dose
วงรี:    Berodual  1 NB   NB   q  4  hr
NPO ยกเว้น ยา
Record V/S
Bl. for CBC & plt , H/C x 2, CXR  P, sputum G/S,
C/S , AFB x 3 days, U/A
Fleuimucil (200 mg.) 1 x 3 pc
Para (500 mg) 2 tabs prn q 6 hr
Azithromycin (250 mgs) 2 tabs od ,
Record urine output keep  > 160 / 4 hr ,
ผู้ป่วยถูกย้ายเข้า ICU Med 
Ventilator setting  PCV , FiO2  1 , Pi 10 , PEEP 20 , Ti 1, F  20 /min
ABG  q 6 hr
Fentanyl 50   g    V   stat
 Dormicum  (1: 1)    V    drip 2  mg /hr

29 ม.ค. 57
 
28 . 57
 
DM with  Hyperglycemia



Hypoglycemia



Hyperglycemia
DTX  ร.พ. เสาไห้
DTX  q  6 hr  keep  80 – 100 mg./ dl at อ.ช. 2
RI Potocol   sc 
RI (1: 1)  V   drip  2 u /hr , RI  5 u   v    push , DTX  next  1 hr  , if  80 – 200 mg/dl  ให้  F/U ต่อ q 6 hr
DTX  44  %  Rx ให้ hold RI drip , 50 % glucose 50
ml   V   push , DTX  หลัง push ½ hr
then q  1 hr,  keep  80 – 200 mg./ dl
5 % D/N/2 1000 ml   V   drip  80 - 100  ml/hr ,
RI (1: 1)    V   drip 1 u /hr
29 ม.ค. 57
 
28 ม.ค. 57
 
Anemia

CBC & plt
G/M  PRC  2 U , ให้ PRC  2 U   V    in 4 hr
PRC  1 U   V    in 4 hr
29 ม.ค. 57
 
28 ม.ค. 57
 
Acute Kidney Injury on top of CKD

Blood for BUN , Cr
U/S KUB 
Consult  Nephro
Hemodialysis  session length 3 hr
Gentamycin 240 mg    V     drip in 1 hr

29 ม.ค. 57
 
28 ม.ค. 57
 
Electrolyte  imbalance :
Hyperkalemia

Bl. for Electrolyte

Kalimate  30 gm. + น้ำ100 ml rectal suppo q 4 hr x 3 doses
repeat electrolyte หลังครบ doses
28 ม.ค. 57

29 ม.ค. 57
Metabolic acidosis
7.5 % NaHCO3- 100 ml   v    drip in 2 hr
repeat electrolyte หลังครบ dose

Hypomagnesaemia
50 % MgSO4 8 ml in NSS 100 ml   V   drip in 4 hr
28 ม.ค. 57
HT

Hydralazine 10 mg    V    
record  V/S  Keep  BP  <  180/ 110  mmHg
28 ม.ค. 57
AF with RVR สลับกับ Sinus tachycardia

Cordarone 150 mg   V   drip in 1/2 hr then 600 mg
    V    drip in 24  hr
EKG 12 lead 
29 ม.ค. 57


3.      การแปลค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ   การเขียนค่าที่ตรวจได้จากผู้ป่วยจะต้องแยกชนิดของเม็ดเลือดแต่ละชนิดไว้ด้วยกัน  และการแปลค่าต้องเชื่อมโยงกับผู้ป่วย  ไม่ใช่ลอกจากตำราโดยขาดการคิดวิจารณญาณ  การแปลค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สะท้อนถึงการคิดวิเคราะห์และ การคิดเชื่อมโยงดังตัวอย่างการแปลผลการตรวจ CBC




ผลการตรวจ Complete Blood Count
สิ่งที่ตรวจ
ค่าที่ได้
ค่าปกติ/หน่วย
WBC count
8.7 x  10 3
5.4 – 8.6 x 10 3 / ul
Neutrophil
68  %
55 – 75 %
Eosinophil
21  %
1 - 3 %
Basophil
7   %
0 – 2 %
Lymphocyte
4   %
2 - 6  %
Monocyte
0   %
0 – 2 %



RBC
2.7
4.38 – 5.19  ป 10 6/ul
Hb
7.7
11.7 – 15.6 g/dl
Hct
23.2
38.2 – 45.7  %
MCV
83.3
80.00 – 100.00 fl
MCH
27.5
26.0 - 34.0 pg
MCHC
33.0
31.0 – 37.0 g/dl
RDW
17.4
11.6 – 14.5 %
RBC Morphology
Abnormal

      Ovalocyte
few

      Polychromasis
few




Plt.  count
195
140 – 400 x 103 /ul

แปลผล
             ผลการตรวจ RBC , Hb , Hct สะท้อนว่า ผู้ใช้บริการนี้ มี ภาวะchronic  anemia ซึ่งน่าจะเกิดจากการสูญเสียเลือดจากระบบทางเดินอาหาร  ขาดสารที่จำเป็นในการสร้าง RBC อีกทั้งผู้ใช้บริการเป็น known case of Cirrhosis มี portal HT มีผลทำให้splenic HT ด้วยทำให้ RBC ถูกทำลายก่อนอายุไข
         
4.       การฝึกทักษะดังกล่าวจะมีการแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ละ 7 - 8 คน ซึ่งเป็นการฝึกให้
นักศึกษาเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
จากการสอบถามนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เคยผ่านการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1,2 และ 3  โดยวิธีการส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้  การคิดวิเคราะห์และ        การเชื่อมโยงกับสภาพผู้ใช้บริการ ตั้งแต่ข้อ 1 – 4    นักศึกษาสะท้อนความรู้สึกออกมาว่า
การสรุปอาการและการรักษาก่อนรับไว้ในความดูแล 
-          เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้ศึกษาทั้งประวัติการเจ็บป่วยที่มารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วย
นอก (OPD card)และเวชระเบียน  เห็นภาพผู้ใช้บริการที่เข้ามารับการรักษาด้วยปัญหาหลัก  เรียนรู้ถึงการนำผลการตรวจที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนปัญหาแต่ละประเด็น
-          ช่วยให้ทราบปัญหาของผู้ใช้บริการที่ยังเหลืออยู่ช่วยในการวางแผนการพยาบาล
-          ช่วยให้ทราบพบจุดอ่อนของตนเองที่ต้องปรับปรุง  หลังจากได้รับการชี้แนะจากอาจารย์แล้ว
-          ได้แนวทางการสืบค้นพยาธิสรีรวิทยา สามารถเปรียบเทียบ/เชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีและ
ผู้ใช้บริการ
-          ช่วยให้ทราบการดำเนินของปัญหา
-          ช่วยให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการสรุปอาการและการรักษาก่อนรับไว้ใน
ความดูแล
-          ได้เรียนรู้ถึงการแปลค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  ที่สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎี
กับผู้ใช้บริการ  โดยเฉพาะการคำนวณค่า ANC ของผลการตรวจระบบเลือด (ค่าCBC)  นักศึกษานำไปสอนให้เพื่อนคำนวณจนเพื่อสามารคำนวณได้
-          ได้แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้จากการนำไปประยุกต์ใช้กับแผนกเด็กและนำเสนอข้อมูล
ขณะประชุมปรึกษากับพี่ๆได้รับคำชมว่าสรุปดี เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนที่ไม่ได้ผ่านการฝึกตั้งแต่ข้อ 1 – 4  จากการนำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการบิหารการพยาบาลที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ใช้บริการคนละ 5 รายการรายงานอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้บริการแก่แพทย์ได้เป็นที่ยอมรับของทั้งพี่พยาบาลและแพทย์
-          สามารถวิเคราะห์โจทย์สถานการณ์ข้อสอบในสนามต่างๆที่ผ่านๆมาได้แม่นยำ  โดยเฉพาะ
นำไปใช้วิเคราะห์ค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในข้อสอบได้ถูกต้อง
-          จะนำไปประยุกต์ใช้เมื่อไปทำงานในอนาคต  มีอยู่หลายครั้งที่บัณฑิตที่จบไปทำงานเป็น
พยาบาลวิชาชีพ ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้เตรียมข้อมูลกรณีศึกษา Incident case ซึ่งมีทั้งแพทย์และพยาบาลเข้ารับฟังโดยการนำทักษะดังกล่าวไปใช้
สรุปและข้อเสนอแนะ
          อาจารย์ผู้สอนมีความสำคัญที่มีส่วนในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในศาสตร์และทักษะต่างๆที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม  การฝึกให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ตั้งแต่ข้อ 1 – 4 จึงเป็นกลวิธีที่คุณครูพยาบาลทุกคนควรนำไปใช้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์คือบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณลักษณะมีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ทักษะทางปัญญา ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศและทักษะการปฏิบัติการพยาบาล สามารแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม 
                                
                                      ............................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น