พนิตนาฎ
ชำนาญเสือ
ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านผลงานวิจัยที่ดีมากฉบับหนึ่งซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์
เรื่องข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดโดยวิชิต
กัมมันตคุณ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำร่างตรวจสอบและจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดประกอบด้วยส่วนที่เป็นวัตถุประสงค์และแนวทางของนโยบายใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วมมีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ระยะคือระยะที่ 1 การศึกษาบริบทเพื่อจัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายดำเนินการวิจัย 3 วิธีดังนี้ 1) การวิจัยเอกสาร 2) การวิจัยเชิงสำรวจสถาบัน 3) การศึกษาพหุกรณีและจัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายโดยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างผู้วิจัยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระยะที่
2 การตรวจสอบเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายดำเนินการวิจัย 2 วิธีดังนี้1) การประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ 2) การสนทนากลุ่มเป้าหมายและจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายโดยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างผู้วิจัยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผลการวิจัยได้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่กำหนดวิสัยทัศน์ด้านการวิจัยว่ามุ่งส่งเสริมสนับสนุนการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้ระบบบริหารจัดการคุณภาพการวิจัยนำมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศก่อเกิดภูมิปัญญาพัฒนาท้องถิ่นและสังคมอย่างยั่งยืนพันธกิจ
1) กำหนดนโยบายแนวทางและทิศทางการวิจัยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยนโยบายและยุทธศาสตร์จังหวัดกรอบแผนพัฒนาอุดมศึกษานโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ
2) วิเคราะห์และกำหนดโครงสร้างองค์กรการวิจัย 3)สร้างเสริมและเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรการวิจัย 4) สนับสนุนสร้างเสริมและพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารทรัพยากรการวิจัย
5) พัฒนาระบบบริหารและจัดการคุณภาพงานวิจัยและได้ยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดจำนวน
5 ยุทธศาสตร์ดังนี้คือ 1) การสร้างศักยภาพและความสามารถด้านนโยบายและการวางแผนการวิจัย
2) การสร้างศักยภาพและความสามารถด้านการจัดองค์กรการวิจัย 3)
การสร้างศักยภาพและความสามารถด้านการบริหารบุคลากรการวิจัย
4) การสร้างศักยภาพและความสามารถด้านการบริหารทรัพยากรการวิจัย
5) การสร้างศักยภาพและความสามารถด้านการบริหารคุณภาพการวิจัยและได้กลยุทธ์การวิจัย
15 ด้านคือ 1) จัดทำนโยบายและแผนการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
2) สร้างศักยภาพการแข่งขันด้านการวิจัย 3) พัฒนาสาขาวิชาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
4) ส่งเสริมการจัดองค์กรการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ 5) สร้างระบบบริหารองค์กรการวิจัยอย่างมีคุณภาพ 6) สร้างระบบการบริหารงานบุคลากรการวิจัยอย่างมีคุณภาพ
7) การพัฒนาส่งเสริมค่านิยมและทัศนคติในการทำวิจัยของอาจารย์
8) พัฒนาอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ 9) พัฒนาระบบการจัดสรรทุนวิจัย
10) ส่งเสริมความคล่องตัวในด้านการใช้จ่ายเงินทุนวิจัย 11) ส่งเสริมการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการวิจัย 12) ส่งเสริมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งค้นคว้าข้อมูล
13) ส่งเสริมการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการวิจัย 14) สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย 15) ส่งเสริมการติดตามตรวจสอบและประเมินผลงานวิจัย
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยต่อผู้บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยคณะกรรมการสภาวิชาการและคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยในการนำผลการวิจัยไปประกอบการปรับปรุงนโยบายแนวทางและทิศทางการวิจัยของมหาวิทยาลัยตลอดจนการพัฒนาศักยภาพการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดโดยรวมนอกจากนี้
ผู้เขียนมีความเห็นว่า สิ่งที่ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่นๆในการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยคือการแก้ไขสิ่งที่เป็นจุดอ่อน
ประการแรกมหาวิทยาลัยควรทำเกณฑ์ภาระงานของอาจารย์ให้มีความเหมาะสมประการที่สองควรมีมาตรการในการพัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ความเข้าใจตลอดจนความสามารถและตั้งใจที่จะใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษาเร่งพัฒนาอาจารย์ให้ทำผลงานทางวิชาการโดยมีระบบพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา
และประการสุดท้ายมีมาตรการสร้างแรงจูงใจเช่นการประกาศหรือยกย่องผู้ที่มีผลงานวิจัยดีเด่นใช้เกณฑ์ภาระงานการทำวิจัยเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น