เรื่องเล่าบำบัด: มนุษย์ศาสตร์การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์
สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล
บทนำ
คนไทยในยุคปัจจุบัน มีวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ภายใต้สังคมที่ผสมผสานระหว่างวิถีเก่ากับวิถีใหม่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่กำลังเสื่อมโทรมลง และก้าวเข้าสู่ภาวะขาดความสมดุลระหว่างคน สังคม
และธรรมชาติ เกิดการแย่งชิงทรัพยากร ต่างละเลยภูมิปัญญาการดำเนินชีวิตแบบวิถีไทยที่เชื่อมวิถีชีวิตของคน
ครอบครัว ชุมชนอันสัมพันธ์กับ ความเชื่อ และสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างเกื้อกูลสมดุลกัน
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อการบริการทางการแพทย์เช่นกัน
ปัจจุบันโลกส่วนใหญ่ได้หันมานิยมใช้วิธีการบำบัดรักษาที่ถือว่าเป็นแบบอารยธรรมตะวันตกซึ่งเรามักเรียกกันว่าการแพทย์สมัยใหม่ ความจริงการแพทย์สมัยใหม่ก็วิวัฒนาการมาจากการแพทย์สมัยเก่านั่นเอง ซึ่งลักษณะสำคัญของการแพทย์สมัยใหม่
คือสนับสนุนแนวคิดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่สำคัญ พร้อมด้วยลักษณะที่เรียกว่าความชำนาญพิเศษ การแพทย์แบบโบราณของไทย คล้ายกับการแพทย์แบบตะวันออก
ซึ่งมีลักษณะร่วมกันหลายอย่าง ลักษณะที่เด่นอย่างหนึ่ง คือ
วัฒนธรรมทางด้านจิตใจซึ่งยังมีอิทธิพลเหลืออยู่
สังเกตได้ว่า เมื่อพูดถึงการแพทย์ในประเทศไทยในวิถีการแพทย์สมัยใหม่ ก็ยังคงแฝงด้วยความคิดบางประการ ที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมไทย
เช่นเรื่องความกตัญญูกับความรู้สึกมีบุญคุณ ดังปรากฏการณ์ของการให้ความยกย่องกับแพทย์
พยาบาลว่าเป็นดั่งปูชนียบุคคล
เพราะเป็นคนที่มีพระคุณแก่ชีวิตของผู้คน
เป็นผู้ที่ได้ช่วยเหลือชีวิตของเพื่อนมนุษย์
หรือเป็นคนมีคุณค่าของสังคมเป็นต้น
การมองในแง่ของความมีพระคุณกับในแง่ความกตัญญูกตเวทีนั้น จึงเกิดเป็นความเป็นความสัมพันธ์ในเชิงคุณธรรมขึ้น
ฝ่ายแพทย์ พยาบาลเป็นผู้ที่มีเมตตากรุณาได้ช่วยเหลือ
ส่วนทางฝ่ายคนไข้ก็เป็นผู้มีความกตัญญูระลึกถึงพระคุณนั้นทำให้มีความรู้สึกในเชิงน้ำใจต่อกัน แต่สิ่งซึ่งเป็นปัญหาในปัจจุบันนี้
คือการแพทย์สมัยใหม่ของไทยนั้น
นอกจากจะมุ่งเน้นนำความรู้การแพทย์แบบตะวันตกมาใช้แล้ววัฒนธรรมก็ถูกกลืนไปตามแบบตะวันตกด้วย
เช่น การให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์แบบเสมอภาค ที่ไม่มีเจ้านายเหนือลูกน้อง หรือข้าราชการเหนือชาวบ้าน
ผู้น้อยให้เกียรติผู้ใหญ่ ฯ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยจะอยู่ภายใต้ระบบ ซึ่งนับว่าเป็นจุดแข็งที่จะปรับสมดุลความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไทย
ในอีกมุมมองหนึ่ง กระแสวัฒนธรรมตะวันตกเน้นการแพทย์เชิงธุรกิจการดูแลที่ดีขึ้นอยู่กับการให้มูลค่าของบริการที่มากขึ้นหากแนวคิดนี้มีพลังอำนาจมากขึ้น
ความ-รู้สึกในคุณค่าทางจิตใจก็จะลดน้อยลง นับว่าเป็นจุดอ่อนที่เป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยในปัจจุบัน
ดังนั้นถ้ากลับมาพิจารณาด้านประโยชน์ของความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลหรือมิติเชิงคุณค่าทางจิตใจแล้ว
แพทย์และพยาบาลยังได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมเดิมของไทย คือ
ความรู้สึกเชื่อถือ
และความเคารพนับถือไว้เนื้อเชื่อใจที่ยังคงหยั่งรากลึกในจิตใจของคนไทยทั่วไป จึงอาจกล่าวได้ว่าการศึกษาวิธีการแพทย์ตะวันตกเป็นสิ่งที่ดีขณะเดียวกันการเลือกใช้ประโยชน์
การปรับวิธีคิด
และการปฏิบัติในบริบทของสังคมไทยก็ควรนำมาบูรณาการโดยเฉพาะการให้ความสำคัญในมิติความสัมพันธ์ของมนุษย์
ดังที่นิธิ เอียวศีรวงษ์ กล่าวว่า
...
รู้สึกว่าประวัติการแพทย์และสาธารณสุขมีแต่เรื่องแพทย์และเข็มฉีดยา
แต่ไม่มีการศึกษาว่าแพทย์มีผลกระทบต่อคนอย่างไร...
ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ของคนเป็นสิ่งที่ประวัติศาสตร์การแพทย์ไม่ค่อยสนใจเลยแม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ก็ยังไม่ค่อยสนใจศึกษากัน...
(นิธิ เอียวศีรวงษ์, 2545: 20-21)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น