วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการ



จากการให้บริการวิชาการในโครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน : การส่งเสริมการ
เลิกสูบบุหรี่ (วิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย) เมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน 2557 พบประเด็นความรู้ที่น่าสนใจ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้คนหันกลับไปสูบบุหรี่อีก/เลิกบุหรี่ไม่สำเร็จนั้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ได้แก่
          1) ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น มีความเครียด/ความกดดันในชีวิตแล้วใช้วิธีสูบบุหรี่เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย สบายใจ ทั้งๆที่ทราบดีว่าบุหรี่มีโทษร้ายแรงเพียงใด
          2) ปัจจัยด้านสังคม/สิ่งแวดล้อม เช่นเห็นเพื่อนสูบก็ทำให้เกิดความรู้สึกอยากสูบขึ้นมาอีก  หรือถูกคนรอบข้าง คนในครอบครัวบ่นมากๆจนเกิดความหงุดหงิด รำคาญเลยสูบบุหรี่เพื่อประชด เป็นต้น     
ประเด็นที่ 2 เทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการลด ละ เลิกบุหรี่ มีหลากหลายวิธีและมีอิทธิพลต่อการสร้างแรงจูงใจของผู้ติดบุหรี่ให้อยากเลิกบุหรี่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล   เทคนิคที่ใช้ได้ผล คือ
          1)ใช้บุคคลสำคัญในชีวิตเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะเลิกบุหรี่ เช่นมารดา บุตร เป็นต้น
          2)ใช้สื่อกระตุ้นให้เกิดความกลัวที่จะเป็นโรคร้ายแรงตามมาจากการสูบบุหรี่อย่างหนัก เช่นภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งจากบุหรี่   การสาธิตโดยใช้ปอดจำลอง  การยกตัวอย่างผู้ป่วยอื่นๆในชุมชนที่เป็นโรคร้ายแรง  จากผลของการสูบบุหรี่ เป็นต้น
ประเด็นที่ 3 การใช้มะนาวเป็นตัวช่วยในการเลิกสูบบุหรี่   เพราะมะนาวมีผลทำให้ลิ้นขม เฝื่อน เนื่องจากมะนาวมีผลต่อการทำงานของต่อมรับรสขม  เมื่อสูบบุหรี่จะทำให้รสชาติบุหรี่เปลี่ยนเป็นขมจนไม่อยากสูบบุหรี่อีก        การใช้มะนาวเป็นตัวช่วยให้เลิกพฤติกรรมสูบบุหรี่นั้นสามารถอธิบายได้จากแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขแบบแบบลงมือกระทำ (Operant  Conditioning)  ของ Skinner เป็นการใช้สิ่งเร้าเพื่อเป็นเงื่อนไขให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ หรือลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ  ดังแผนภูมิ

สิ่งเร้า
 
ได้รับ
 
เอาออกไป
 
                                     

พึงพอใจ
 
เสริมแรงทางบวก
Positive  Reinforcement
ลงโทษทางลบ
Negative    Punishment
ไม่พึงพอใจ
 
ลงโทษทางบวก
Positive   Punishment
เสริมแรงทางลบ
Negative  Reinforcement

                   
ประเด็นที่ 4 เทคนิคการให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้รับบริการ โดยประยุกต์ใช้ หลักการ 5 A 5 R และ 5 D
       -หลัก 5 A ประกอบด้วย Ask, Advise, Assess, Assist, Arrange follow up
       -หลัก 5 R ประกอบด้วย Relevance, Risks, Rewards, Road blocks, Repetition)
       -หลัก 5 D ประกอบด้วย Delay, Deep Breath, Drink Water, Do something else, Destination)






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น