วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สถานการณ์และมาตรการป้องกันการตกน้ำ จมน้ำของเด็กในประเทศไทย



การจัดการความรู้(Knowledge  Management :  KM)
เรื่อง  สถานการณ์และมาตรการป้องกันการตกน้ำ จมน้ำของเด็กในประเทศไทย


โดย...อ.ภูวสิทธิ์  สิงห์ประไพ

            การตกน้ำ  จมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของเด็กทั่วโลก  ในแต่ละวันมีเด็กอายุต่ำกว่า  20  ปี  จำนวน  480  คนเสียชีวิตจากการจมน้ำ  และทุกๆ  ปีจะมีเด็กและวันรุ่นประมาณ  2-3  ล้านคนเกือบจมน้ำเสียชีวิต  เด็กอายุต่ำกว่า  5  ปีทั่วโลกเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญที่สุดเพราะเด็กเล็ก(Infant)  สามารถจมน้ำได้ในน้ำที่มีระดับเพียงเล็กน้อย  มากกว่าร้อยละ  98  ของเด็กที่เสียชีวิตจากการตกน้ำ  จมน้ำเกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำหรือปานกลางและพบบ่อยในแหล่งน้ำเปิด  เช่น  ทะเลสาบ  ลำธาร  ส่วนในประเทศไทยที่มีรายได้สูง  การตกน้ำ  จมน้ำจะเกิดขึ้นมาที่สุดในสระว่ายน้ำ
          ประเทศไทยในกลุ่มเด็กไทยอายุต่ำกว่า  15  ปี  การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ  อัตราการเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน(ปี พ.ศ.2547-2556)  อยู่ในช่วง  7.6-11.5  และมีจำนวนการเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ  1,243  คน  หรือวันละ  3.4  คน(ภาพที่  1)  อัตราป่วยตาย(Case  Fatality  Rate)  จากการจมน้ำ  เท่ากับร้อยละ  37.2
         
















         
          โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ จังหวัดนครราชสีมา กรุงเทพมหานคร บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุดรธานี และขอนแก่น มีจำนวนการเสียชีวิตมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 5 ปี : ปี 2547-2551) ในขณะที่ช่วงปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) มีเด็กตกน้ำ จมน้ำ สูงถึงเกือบ 500 คน แหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำสูงสุดคือ แหล่งน้ำธรรมชาติ (ร้อยละ 49.9) รองลงมาคือสระว่ายน้ำ (ร้อยละ 5.4) และอ่างอาบน้ำ (ร้อยละ 2.5) (ค่าเฉลี่ย 10 ปี: ปี 2541-2550)

สถานการณ์ปัญหาการจมน้ำในประเทศไทย
          จมน้ำเป็นเหตุนำการตายในเด็กไทย เด็กไทย 0-17 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำปีละ 1624 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 8.7/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 27 ของการตายจากการบาดเจ็บ กลุ่มทารกและกลุ่มวัยรุ่น (อายุมากกว่า 10 ปี) เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่ม 1-10 ปี พบว่ากลุ่มเด็ก 1-4 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำสูงถึง 12.9/100000 ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 53 ของการตายจากการบาดเจ็บ และกลุ่มเด็ก 5-9 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำ12/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 56 ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด
v การจมน้ำในเด็กทารก
เด็กทารก (น้อยกว่า 1 ปี) เป็นกลุ่มเด็กที่มีการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและการจมน้ำไม่มากเนื่องจากเด็กยังมีพัฒนาการเคลื่อนที่ได้น้อยโดยเฉพาะใน 6 เดือนแรก เด็กทารกเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทั้งหมดปีละ 122 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 15 คน ต่อการเกิดมีชีพ 100000  คน ในจำนวนนี้มีสาเหตุจากการจมน้ำ 18 รายต่อปี (ร้อยละ 15)
v การจมน้ำในเด็ก 1-14 ปี
จมน้ำเป็นเหตุนำการตายในเด็กไทย 1-11 ปี เมื่อเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปจะมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุจราจรสูงกว่าการจมน้ำ และอุบัติเหตุจราจรจะเป็นเหตุนำการตายตั้งแต่อายุ 12 ขึ้นไปจนถึงวัยรุ่นและวัยกลางคน (middle age group)  เด็กอายุ 1-14 ปีเสียชีวิตจากการจมน้ำปีละ 1482 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 9.8/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 44 ของการตายจากการบาดเจ็บ กลุ่มเด็ก 1-4 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำสูงถึง 12.9/100000 ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 53 ของการตายจากการบาดเจ็บ กลุ่มเด็ก 5-9 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำ12/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 56 ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด ในขณะที่กลุ่ม กลุ่มเด็ก 10-14 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำ 5.3/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 24.6 ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด
v การจมน้ำในเด็ก 15-17 ปี
ในวัยรุ่นกลุ่มอายุนี้เสียชีวิตจากการจมน้ำปีละ 124 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 3.7/100000 หรือร้อยละ 4.8 ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด (2541 ราย) ในกลุ่มวัยรุ่นชายอัตราการตายจากการจมน้ำยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องมาจากอายุ 13-14 ปี โดยมีอัตราการตายจากการจมน้ำ (/100000) ของวัยรุ่นชายอายุ 13-17 ปีเท่ากับ 4.86, 5.31, 5.51, 6.57 และ 5.16 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราการตายของวัยรุ่นหญิงลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 10-17 ปี โดยมีอัตราการตายเท่ากับ 6.85, 5.11, 3.8, 3, 2.27, 1.63 และ 1.09 ตามลำดับ
v การจมน้ำในผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป
กว่าอีกร้อยละ 50 ของรายงานการตายจากการจมน้ำ (w66-w74) เป็นกลุ่มอายุ มากกว่า 17
ปี อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาสัดส่วนแล้วคิดเป็นเพียง ร้อยละ 4 ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มอายุ น้อยกว่า 18 ปีคิดเป็นร้อยละ 27 หรือหากพิจารณเพียงกลุ่มอายุ 1-14 ปี พบว่าจมน้ำเป็นสัดส่วนการตายถึง ร้อยละ 44  ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด






สาเหตุปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
          การจมน้ำเป็นปรากฏการณ์ที่มีเหตุปัจจัยนำ ซึ่งหากเราวิเคราะห์กันแล้วจะพบว่าสามารถป้องกันได้เช่นเดียวกับอุบัติเหตุอื่นๆ เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำในต่างประเทศลดลงอย่างรวดเร็วเช่นในประเทศอังกฤษ สวีเดน สหรัฐอเมริกา อุบัติการณ์การจมน้ำเสียชีวิตในปัจจุบันต่ำกว่าเมื่อ 40 ปีที่แล้วถึงเกือบ 20 เท่า ทั้งๆที่ผลการรักษาพยาบาลเด็กที่จมน้ำแล้วไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ผลที่ลดลงนี้เกิดจากการป้องกันเบื้องต้นเป็นสำคัญ การวิเคราะห์สาเหตุต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งด้านบุคคล และสิ่งแวดล้อม
          1. ปัจจัยด้านบุคคล คือตัวเด็กเอง มีความเสี่ยงตามสภาพร่างกาย พัฒนาการ พฤติกรรม และโรคประจำตัวอย่างไร เช่นเด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไปที่เริ่มคืบคลานได้เร็วจะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการจมน้ำจากแหล่งน้ำในบ้านหรือรอบๆบ้านเด็กอายุ 1 ปีจะเริ่มเดินได้ แต่การทรงตัวมักไม่ดี เนื่องจากมวลสารของศีรษะยังมีสัดส่วนสูง จุดศูนย์ถ่วงอยู่สูง  จึงทำให้ล้มง่าย ในท่าที่ศีรษะทิ่มลงและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ดังนั้นจึงสามารถจมน้ำในถังน้ำ อ่างน้ำ สระว่ายน้ำตื้นๆได้ 
          2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็นสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม
                   2.1  สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่นการมีแหล่งน้ำใกล้ตัวเด็ก ซึ่งเด็กสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่นมีถังน้ำ สระว่ายน้ำ หนอง คลองบึง ใกล้บ้าน ไม่ได้มีรั้วรอบขอบชิดแบ่งแยกเด็กออกจากแหล่งน้ำนั้นอย่างชัดเจน
                   2.2  สิ่งแวดล้อมทางสังคมเช่น ความยากจน การทำงานของผู้ดูแลหลัก ระบบสวัสดิการสังคม ระบบการสงเคราะห์ หรือคุ้มครองเด็กที่อ่อนแอ เช่น ในครอบครัวที่พ่อแม่ต้องทำงานหารายได้ หรือ   พ่อแม่ที่ต้องคดีต่างๆ ทำให้เด็กขาดผู้ดูแลหลัก ระบบเครือญาติหรือครอบครัวใหญ่มีความอ่อนแอไม่สามารถทดแทนได้ ชุมชนไม่มีระบบสวัสดิการชุมชนที่จะทดแทนการดูแลของพ่อแม่ได้เช่นกัน เด็กขาดการดูแลที่ดีโดยหน่วยงานที่ต้องปฏบัติภาระกิจการสงเคราะห์หรือคุ้มครองเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กยังเข้าไม่ถึง   ตัวเด็ก  เด็กที่ไม่ใช่ผู้ดูแลหลักเช่นฝากผู้อื่นช่วยดูแลในเวลากลางวัน

ปัจจัยเสี่ยงแตกต่างกันตามวัย     

          ปัจจัยเสี่ยงต่อการจมน้ำในเด็กเล็กและเด็กโตมีความแตกต่างกัน เด็กทารกและเด็กวัยเตาะแตะจะมีความสัมพันธ์กับการดูแลของผู้ดูแลเด็ก และการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านเป็นหลัก เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียนตอนต้นจะมีความสัมพันธ์กับการจัดการสิ่งแวดล้อมในละแวกบ้าน พฤติกรรมของเด็กในการปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย และทักษะการว่ายน้ำ-ช่วยคนจมน้ำ ในเด็กวัยรุ่นมีความสัมพันธ์กับการจัดการความปลอดภัยในแหล่งน้ำสาธารณะ การเดินทางทางน้ำ พฤติกรรมของเด็กในการปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัยรวมทั้งการใช้สารมึนเมา และทักษะการว่ายน้ำ-ช่วยคนจมน้ำ

v ปัจจัยเสี่ยงต่อการจมน้ำในเด็กทารกและเด็กวัยเตาะแตะ (0-3 ปี)
          ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการจมน้ำในด็กทารกและเด็กวัยเตาะแตะคือปัจจัยผู้ดูแลเด็ก ทั้งความรับรู้ในความเสี่ยงต่ำ ไม่มีความพร้อมทั้งด้านเวลา เศรษฐานะ ความรู้ ทักษะในการดูแลเด็ก และการจัดการสิ่งแวดล้อมเสี่ยงในบ้าน
          การศึกษาการจมน้ำตายในเด็กกรุงเทพ พบว่าร้อยละ 38 ของเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน้ำมีอายุอยู่ระหว่าง 6เดือน-3ปี  รัอยละ 94 เป็นแหล่งน้ำในบ้านเช่นกะละมัง อ่าง ตุ่มน้ำ ร่องน้ำ หรือบ่อน้ำเป็นต้น ในขณะเกิดเหตุเด็กมีผู้ดูแลใกล้ชิด และผู้ดูแลรู้ว่ามีแหล่งน้ำเสี่ยง แต่ผู้ดูแล เผอเรอชั่วขณะทำกิจกรรมบางอย่างเพียงระยะเวลาสั้นๆก่อนเกิดเหตุการณ์จมน้ำ ตัวอย่างเหตุการณ์จมน้ำ
Ø เด็ก 2 ปี 1 เดือน นั่งเล่นอยู่กับแม่หน้าบ้าน แม่เดินเข้าไปเก็บผ้าในบ้าน ออกมาพบว่าเด็กหายไป ตามหาพบว่าจมน้ำในคูน้ำข้างบ้าน
Ø เด็ก 2 ปี 1 เดือน นั่งกินข้าวอยู่หน้าบ้านกับแม่ สักครู่ แม่เข้าบ้านดูทีวี มองหาอีกทีไม่พบลูก ยายซึ่งนอนตื่นขึ้นมาชะโงกออกมาทางหน้าต่างเห็นหลานนอนจมน้ำคว่ำหน้า ตัวติดกับกะละมังล้างจาน
Ø เด็ก 1 ปี 10 เดือน ยายจะเดินไปตลาดจึงเอาผ้าขาวม้าผูกขาเด็กไว้กับเสาบ้านซึ่งขณะนั้นเด็กนอนหลับอยู่ที่พื้นบ้านแล้วฝากน้า (นักเรียน ม.3)ไว้  น้าทำการบ้านสักพักเดินมาดูไม่เห็นหลาน เดินตามหาพบว่าลอยอยู่ในบ่อน้ำ (เป็นบ่อที่ขุดขึ้นเองสำหรับรองน้ำไว้ใช้เพราะน้ำประปายังมาไม่ถึง บ่อไม่มีฝาปิด ปากบ่อเสมอกับพื้นดิน มีไม้พาดปากบ่อกว้างประมาณ 1 . เอาไว้ยืนตักน้ำ)
Ø เด็ก 1 ปี 5 เดือน น้าเดินเข้าไปรับโทรศัพท์ในบ้าน โดยปล่อยให้หลานเล่นอยู่ที่หน้าบ้าน เมื่อออกมาไม่พบหลาน จึงเดินหา พบหลานลอยอยู่ในบ่อน้ำ ท่าคว่ำ (เป็นบ่อขุดสำหรับเลี้ยงปลาซึ่งบริเวณรอบๆมีพงหญ้ารกมาก)
v ปัจจัยเสี่ยงต่อการจมน้ำในเด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียนและวัยเรียนตอนต้น  (3-9 ปี)
          ปัจจัยเสี่ยงต่อการจมน้ำในเด็กวัยนี้คือสิ่งแวดล้อมเสี่ยงละแวกบ้าน เด็กเองมีพฤติกรรมเสี่ยงรวมทั้งไม่มีความรู้ทักษะที่ดีในการว่ายน้ำ ช่วยคนจมน้ำ และการเดินทางทางน้ำของ รวมทั้งระดับความรับรู้ความเสี่ยงและการจัดการความปลอดภัยของผู้ดูแลเด็กและชุมชนอยู่ในระดับต่ำ
          การศึกษาการจมน้ำตายในเด็กกรุงเทพพบว่า ร้อยละ 47  ของการจมน้ำตายในเด็กเป็นการ
ตกน้ำ ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงบริเวณละแวกบ้าน  โดยผู้ดูแลเด็กเคยชินกับสภาพสิ่งแวดล้อมนั้น ไม่คิดว่าสิ่งแวดล้อมละแวกบ้านนั้นจะเป็นอันตราย จึงอนุญาตให้เด็กเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ตัวอย่างเหตุการณ์เช่น
Ø เด็ก 4 ปี 11 เดือน จะออกไปหาแม่ที่ขายของอยู่ ป้าจึงให้เด็กเดินออกไปก่อน บนทางเดินยาวเลียบริมแม่น้ำซึ่งไม่มีรั้วกันตก สักพักป้าเดินตามหลังมาไม่เห็นเด็ก พอมาถึงที่เกิดเหตุเห็นรองเท้าของหลานตกอยู่ที่สะพานซึ่งมีตะไคร่น้ำเกาะอยู่ ต่อมาพบศพเด็กห่างจากจุดที่ตกไกลมาก
Ø เด็ก 4 ปี ออกไปวิ่งเล่น พอกลับมาบ้านไม่ได้ใส่รองเท้ากลับมา คนเลี้ยงจึงให้เด็กกลับไปเอารองเท้ามา เด็กหายไปนาน คนเลี้ยงจึงออกไปหา และพบว่าเด็กจมน้ำในบ่อปลา
Ø เด็ก 3 ปี 10 เดือน ออกไปวิ่งเล่นที่สวนในบ้านโดยผู้ปกครองอยู่ในบ้าน  หลังจากนั้นไม่กลับมา จึงตามพบเด็กตกลงไปในบ่อน้ำในสวน
Ø เด็ก 6 ปี 1 เดือน เด็กออกไปเล่นช้อนปลาที่ทุ่งนาซึ่งขณะนั้นฝนตก เด็กจึงลื่นตกบ่อน้ำ
v ปัจจัยเสี่ยงต่อการจมน้ำในเด็กวัยรุ่น  (10-17 ปี)
              ในเด็กอายุ 10-17 ปี มักเป็นการจมน้ำในแหล่งน้ำที่ห่างไกลออกไป เช่นแหล่งน้ำธรรมชาติประเภทห้วย หนองคลองบึง แม่น้ำ หรือแหล่งน้ำสาธารณะอื่นๆเช่นสระว่ายน้ำ เป็นต้น เหตุการณ์นำมักมาจาก การว่ายน้ำเล่นน้ำ การช่วยคนจมน้ำ และการเดินทางทางน้ำ เหตุการณ์เสริมบางกรณีเกิดจากความมึนเมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเหตุการณ์เช่น
Ø เด็กอายุ 14 ปี ไปว่ายน้ำกับเพื่อนแล้วจึงแกล้งทำเป็นจมน้ำให้เพื่อนช่วย  เพื่อนรู้ว่าแกล้งจึงไม่เข้าไปช่วย จนในที่สุดก็เห็นศีรษะของเด็กลอยนิ่งๆจึงเข้าไปช่วย
Ø เด็กอายุ 7 ปี ว่ายน้ำไม่เป็น หลังเลิกเรียนไปเล่นน้ำกับเพื่อนในคลอง  โดยเอามือจับสะพานไว้แล้วว่ายน้ำเล่น  แต่น้ำแรงซัดเด็กมือหลุดจากสะพาน  เพื่อนจึงวิ่งไปบอกครู
Ø เด็กอายุ 9 ปี หนีแม่ไปเล่นน้ำกับเพื่อน โดยเกาะเชือกที่ผูกติดระหว่างเรือกับตลิ่ง พอน้ำขึ้นเชือกหย่อน ทำให้เด็กจมลงไปในน้ำ (ว่ายน้ำเป็นแต่ไม่แข็ง)
มาตรการป้องกันการจมน้ำ
          จาการศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการจมน้ำในเด็กกรุงเทพและเขตควบคุมโรคต่างๆ พบว่าการจมน้ำในเด็กในแต่ละท้องถิ่นนั้นมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมการเลี้ยงดู วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความแตกต่างกันไป โครงการป้องกันการจมน้ำรูปแบบต่างๆนั้นจะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีความเข้าใจในปัจจัยดังกล่าว และนำเสนอในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนแต่ละท้องถิ่น
          การศึกษาในสหรัฐอเมริกาคาดประมาณว่าเด็กตายจากการจมน้ำ 1 รายจะมีเด็กจมน้ำที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลอีกเพียง 4  ราย ซึ่งจัดเป็นโรคที่มีการตายสูง (case fatality) นอกจากนั้นยังพบอัตราการตายของเด็กจมน้ำที่หมดสติสูงกว่าร้อยละ 50  ดังนั้นการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลจึงมีผลต่อการลดอัตราการตายได้ไม่มาก การป้องกันการจมน้ำรวมทั้งการกู้ชีพ ณ จุดเกิดเหตุ โดยผู้อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์ (bystanders) จึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการลดอัตราการตาย

มาตรการการป้องกันในประเทศไทย
          1. กำหนดทิศทางนโยบายระดับชาติให้ชัดเจน (national strategic direction) รวมถึงการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงาน (ensuring an appropriate water safety infrastructure) และการกระจายทรัพยากร ((resourcing levels and distribution) ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและความปลอดภัยในเด็ก
          2.  กำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำด้านความปลอดภัยในการเลี้ยงดูเด็ก สอดรับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก 2546 รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในสิ่งก่อสร้างในชุมชน แหล่งน้ำสาธารณะ การเดินทางทางน้ำ และผลิตภัณฑ์ในตลาด 
          3.  พัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยทางน้ำ ในระดับชาติและท้องถิ่น (national and local water safety watch) และการสอบสวนการตายของเด็ก (child fatality review)
          4.  รณรงค์สร้างความตระหนักในความเสี่ยง ความรู้ในการป้องกัน และทักษะเพื่อความปลอดภัยทางน้ำ (water safety education and awareness) ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม
5.  พัฒนาระบบฉุกเฉิน (emergency rescue services)
          6.  มีการรวบรวม ทบทวน วิเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้และส่งเสริมการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องของการป้องกันการจมน้ำ (research and development)
แนวทางการป้องกันจมน้ำสำหรับโรงเรียน  สระว่ายน้ำ  และชุมชนที่มีแหล่งน้ำ ดังนี้
          1.  รณรงค์ ฝึกอบรม ฝึกทักษะเพื่อ ให้ผู้ดูแลเด็กมีความตระหนักถึงความสูญเสียจากการจมน้ำ       มีความรู้เรื่องความเสี่ยงต่อการจมน้ำในบ้านและละแวกบ้านตามระดับพัฒนาการต่างๆของเด็ก ปรับพฤติกรรมการดูแลเด็กเพื่อลดความเสี่ยงต่อการจมน้ำในบ้านและละแวกบ้าน ตรวจสอบสิ่งแวดล้อมในบ้านและละแวกบ้านและบ่งบอกได้ว่ามีจุดใดเป็นความเสี่ยงต่อการจมน้ำ และจะดำเนินการแก้ไขอย่างไร และสามารถปรึกษา ต่อรอง กับชุมชนหรือหน่วยงานอื่นๆในการดำเนินการจัดการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเสี่ยงต่างๆในละแวกบ้านได้
          2.  ฝึกอบรม ทั้งให้ความรู้และฝึกทักษะเพื่อให้ผู้ดูแลเด็กสามารถทำการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำได้อย่างถูกวิธี
          3.  สอนเด็กให้รู้จักกฎแห่งความปลอดภัย โดยเด็กอายุ 18 เดือน สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆได้ ดังนั้นจึงควรสอนให้อยู่ห่างแหล่งน้ำ เด็กอายุ 3-5  ปีสอนโดยเล่ากรณีตัวอย่างให้เห็นถึงอันตราย เด็กอายุ 6 ปีสอนให้รู้จักวิเคราะห์หาจุดเสี่ยงได้ด้วยตนเอง
          4.  ฝึกทักษะเพื่อความปลอดภัยให้กับเด็กโดย สอนให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือตัวเองในน้ำเมื่อตกน้ำ รู้จักการตะเกียกตะกายขึ้นมาโผล่ผิวน้ำ หรือตะกายเข้าฝั่งที่อยู่ใกล้แม้ว่าจะว่ายน้ำไม่เป็น (water recovery) ได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือน เด็กอายุ 6-7 ปีขึ้นไป ควรว่ายน้ำได้ทุกคน รู้จักการช่วยเหลือผู้ตกน้ำได้อย่างถูกวิธี และ รู้จักการใช้ชูชีพเมื่อต้องเดินทางทางน้ำ เด็กอายุ 9 ปีขึ้นไปควรได้รับการฝึกการปฐมพยาบาลและสามารถปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นได้
          5.  ให้ความสำคัญกับครอบครัวกลุ่มเสี่ยงสูงคือ ครอบครัวยากจน ครอบครัวหย่าร้าง ครอบครัวที่มีผู้นำ และผู้เลี้ยงดูเด็กมีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาหรือน้อยกว่า 6 ปี
         















สรุป


เอกสารอ้างอิง
สุชาดา  เกิดมงคลการ  และคณะ.(2552). สถานการณ์การตกน้ำ จมน้ำของเด็กในประเทศไทย.  นนทบุรี :        องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น