วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำเสนอผลงานวิจัยแบบ Oral Presentation ณ สาธารณรัฐเวียดนาม



วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
แลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำเสนอผลงานวิจัยแบบ Oral Presentation ณ สาธารณรัฐเวียดนาม
โดย ดร.พนิตนาฎ  ชำนาญเสือ
          การเผยแพร่งานการวิจัย (Rearch Publication) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การรายงานด้วยวาจาและการรายงานด้วยการเขียน การเสนอวิจัยแบบ Oral Presentation ในเวทีวิชาการระดับนานาชาติ ภายหลังจัดทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้วมีการดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ จากการถอดบทเรียนในเวทีการจัดการความรู้ของวิทยาลัย สรุปได้ดังนี้
1.       ขั้นเตรียมการ ผู้วิจัยศึกษารูปแบบ หัวข้อการส่งรายงานวิจัยฉบับย่อ เป็นบทความวิจัยตามรูปแบบสถาบันที่จัดกำหนด และจัดทำให้ถูกต้องตามกำหนดทั้งนี้ การนำเสนอในเวทีนานาชาติต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษต้องผ่านการตรวจแก้ไขให้ถูกต้องตามวิชาการและหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการให้ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาอังกฤษตรวจทาน
2.       ขั้นลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ผู้วิจัยดำเนินการลงทะเบียนทางออนไลน์ตามข้อมูลที่ได้จากสถาบันจัดประชุมภายหลังได้รับอนุมัติการเข้าร่วมประชุมจากมติกรรมการบริหารของวิทยาลัย
3.       ขั้นดำเนินการส่งรายงานวิจัยส่งข้อมูลบทความวิจัยทางจดหมายอิเล็คทรอนิคในการประชุมวิชาการและรอการตอบกลับจากเลขาฯการประชุม ซึ่งมีการตรวจโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน เป็นผู้ทรงจาก ๒ สถาบันที่ร่วมกันจัดการประชุม
4.       ขั้นการติดตามและแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ในเวทีประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับจดหมายอิเล็คทรอนิค จากคณะผู้จัดการประชุม โดยการตรวจใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางที่ผู้วิจัยต้องทำความเข้าใจในการวิจารณ์และข้อเสนอให้แก้ไขปรับปรุง หลังจากแก้ไขต้องรีบส่งกลับภายในเวลาที่ผู้ประชุมกำหนดและเมื่อได้รับการพิจารณาให้นำเสนอจะได้รับจดหมายตอบรับการไปนำเสนอในรูปแบบที่กรรมการเห็นสมควร ผู้วิจัยต้องเก็บหลักฐานการตอบรับไว้สำหรับประกอบการเสนออนุมัติการไปราชการต่างประเทศ
5.       ขั้นเสนออนุมัติไปนำเสนอต่างประเทศ ประกอบด้วย 1) การเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากผู้อำนวยการ (งบประมาณจากหมวดเงินรายได้สถาบัน) หรือ กรณีโครงการเครือข่ายเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขอนุมัติโดยมีวิทยาลัยที่เป็นหัวหน้าโครงการเป็นผู้เสนอ 2) สำหรับผู้วิจัยทำเรื่องเสนออนุมัติไปราชการผ่านผู้อำนวยการและผู้ว่าราชการตามลำดับ 3) เสนอขออนุมัติค่าใช้จ่ายตามโครงการ และ 4) ยืมเงินสำรองจ่ายตามโครงการก่อนเดินทาง
6.       ขั้นเตรียมตัวนำเสนอวิจัย หลังจากได้รับการตอบรับเรียบร้อย ผู้วิจัยดำเนินการเตรียมนำเสนอแบบ Oral Presentationโดยใช้บทความวิจัยภาษาอังกฤษจัดทำ Power Point Presentation ตามหัวข้อที่เวทีวิชาการกำหนด ได้แก่ Background, Objectives, Methods, Participants, Measurement, Dataanalysis, Results, Conclusion และ Acknowledgementจำนวน 12-15 สไลด์ สำหรับการนำเสนอ ไม่เกิน 15 นาที รวมถามตอบ ข้อเสนอควรตรวจสอบการใช้ขนาดอักษรและสีของสไลด์ ไม่ควรตัวเล็กเกิน และไม่ควรมีจำนวนบรรทัดมากเกิน เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยจัดส่งทางจดหมายอิเล็คทรอนิกที่คณะผู้จัดแจ้ง แต่ควรสำรองข้อมูลและนำไปในวันนำเสนอด้วย
7.       การเตรียมพร้อมส่วนบุคคล การเตรียมสำหรับนำเสนอผู้วิจัยควรอ่านทำความเข้าใจในงานวิจัยและซ้อมพูดพร้อมจับเวลาไม่ให้เกินเวลาที่กำหนด และเตรียมตอบข้อซักถามโดยเน้นการอภิปรายผลการวิจัย
จากประสบการณ์การไปนำเสนอผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อให้มีความพร้อมและนำเสนอได้มีประสิทธิภาพ คือ การเตรียมทำความเข้าใจในงานวิจัยพร้อมอธิบายจุดที่ผู้วิจัยคิดว่าน่าจะถูกถามจากผู้สนหรือผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะผลการวิจัย และการซ้อมพูดภาษาอังกฤษที่ต้องออกเสียงให้ชัดและพูดในเวลาที่กำหนด และการตรวจสอบสื่อในการนำเสนอให้มีความชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น