วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Learning), การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning)



วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Learning),
การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning)
         
อ.จีราภรณ์  ชื่นฉ่ำ

การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning)เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่แต่ละคนในการระบุความต้องการในการเรียนรู้ ตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ ระบุทรัพยากรการเรียนรู้ เลือกกลวิธีในการเรียนที่เหมาะสม และประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งอาจจะมีผู้ช่วยเหลือหรือไม่มีก็ได้ มีเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน คือ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง จนพัฒนาให้เป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต โดยมีกรอบแนวคิดเบื้องต้นว่า ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องหรือการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการศึกษา พร้อมทั้งระบุคุณลักษณะของการเรียนรู้ว่านักศึกษาต้องมี แรงจูงใจในการเรียน มีความอยากรู้อยากเห็น มีความสามารถในการชี้นำตนเอง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และคิดอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งตระหนักที่จะใช้ทรัพยากรในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Knowles (1970) ได้ระบุแนวคิดต่อไปนี้อยู่ในกรอบแนวคิดด้วย
๑.      การศึกษาด้วยตนเอง(Independent study)
๒.      การเรียนการสอนเป็นรายบุคคล (Individualized instruction)
๓.      การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning)
๔.      การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learning)

นอกจากนี้ยังมีกรอบแนวคิดของ Siegel (1968) เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนดังนี้
การจัดการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงความต้องการ ความสามารถ และข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคน จึงจะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากที่สุด
     ข้อตกลงเบื้องต้นสำหรับผู้เรียน
1.      กระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้ (Need to know)ผู้สอนต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าสิ่งที่เรียนมีประโยชน์อย่างไร ทำไมต้องเรียนรู้
2.      ต้องอยากที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Need to be self-directing)เนื่องจากคำว่า ผู้ใหญ่ คือ ผู้ที่รับผิดชอบตนเอง และ สามารถที่จะชี้นำตนเองได้ดังนั้นต้องเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้จากครูมาเป็นเน้นการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3.      ประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสิ่งที่มีคุณค่า (Learnersunique experiences are valued)ดังนั้นต้องนำมาใช้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
4.      การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนรู้
5.      การเรียนรู้ใช้สถานการณ์/ปัญหาที่อยู่รอบๆ ตัว (Organize learning around life problems)เช่น สถานการณ์ในคลินิก
6.      ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้จากภายใน (Tap into intrinsic motivation)ไม่ใช่สิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้จากภายนอก

     เงื่อนไขสำหรับการเรียนรู้    การเรียนรู้ต้องเอื้ออำนวยให้เกิดบรรยากาศต่อไปนี้
1.      สนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการเรียนรู้
2.      สนับสนุนให้ผู้เรียนสร้างแนวคิดของตนเองโดยผสมผสานกับความรู้ที่มีอยู่
3.      ตระหนักถึงธรรมชาติในการเรียนรู้ของแต่ละคน
4.      มองเห็นว่าความคิดเห็นที่แตกต่างเป็นสิ่งที่ดี
5.      เพิ่งระลึกว่าความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้
6.      คงไว้ซึ่งความอยากรู้อยากเห็น
7.      มีการประเมินผลโดยการสะท้อนพฤติกรรม
8.      ประเมินผลทั้งตัวเองและเพื่อนร่วมทีม
9.      สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็น
10.  สนับสนุนให้เชื่อมั่นในตนเองและผู้ให้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรในการเรียนรู้จากภายนอก
11.  ช่วยให้ผู้เรียนเคารพซึ่งกันและกัน

     การปรับเปลี่ยนบทบาท (Role transition)จากการแสดงบทบาทผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้
 บทบาทผู้เรียน
๑.    เข้าใจและชื่นชอบ ปรัชญาและวิธีการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก/ฐาน
๒.    กระตือรือร้นในตัวเองและร่วมกับอื่นในกระบวนการเรียนรู้
๓.    รับผิดชอบและเตรียมพร้อม
๔.    ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้อื่นและมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง
๕.    ร่วมทำให้เกิดสิ่งแวดล้อม/บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี
๖.    เรียนรู้ด้วยตนเอง (SDL) ระบุความต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง
๗.    ศึกษาค้นคว้าสิ่งที่จะเรียนรู้โดยใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
๘.    แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อน
๙.    ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ไปศึกษาค้นคว้ามากับสถานการณ์ปัญหา
๑๐.    ประเมินผลการเรียนรู้
๑๑.    ทำให้บรรยากาศของกลุ่มและการเรียนรู้ของกลุ่มเป็นไปในทางที่ดี

 บทบาทผู้สอน
๑.        ปฐมนิเทศผู้เรียนเรื่องกระบวนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก PBL รายละเอียดวิชา และวิธีการประเมินผล
๒.        สร้างและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี
๓.        ช่วยผู้เรียนให้เข้าใจ ความต้องการการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ปัญหา
๔.        มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในกิจกรรมกลุ่ม
๕.        สนับสนุน/ส่งเสริมการใช้เหตุผลเชิงคลินิกโดยการตั้งคำถาม
๖.        ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการประเมินผลของผู้เรียน
๗.        ให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งระหว่างทำกลุ่ม และเมื่อสิ้นสุดการทำกลุ่มแก่ผู้เรียนทั้งรายบุคคล และรายกลุ่ม
๘.        เป็นแบบอย่างที่ดีในการคิดขั้นสูง
๙.        กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด
๑๐.    สนับสนุนและให้กำลังใจ ผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนอยู่ในช่วงก้าวผ่าน การเรียนการสอนแบบบรรยายสู่การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก
๑๑.    เข้าใจความต้องการของหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่ต้องการสอน เพื่อที่จะใช้ในการชี้แนะการเรียนรู้ของผู้เรียน

    หลักในการจัดการเรียนการสอนในทุกกลุ่ม
1.      ไม่ว่าจะสอนในกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่จะสามารถสนับสนุนนักศึกษาให้เกิดการเรียนรู้แบบคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความเป็นอิสระและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.      ยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
3.      อาจารย์ประจำกลุ่มเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้
    
     กลวิธีในการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก สำหรับกลุ่มเล็ก
1.      มีการพัฒนาสถานการณ์ในโจทย์ใกล้เคียงกับสภาพจริงทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า
2.      สร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้นักศึกษากำหนดเป้าหมายการเรียน
3.      กระตุ้นและสนับสนุนนักศึกษาในการที่จะสืบค้นหรือขยายโอกาสของการเรียนรู้ในเชิงลึก
4.      เพิ่มโอกาสในการสะท้อนคิดการเรียนรู้
5.      เพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
6.      เปิดโอกาสให้มีการประเมินระหว่างเพื่อนด้วยกัน

     บทบาทของครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก
1.      กระตุ้นการคิดให้นักศึกษาคิดโดยการตั้งคำถามขั้นสูงของการเรียนรู้
2.      ท้าทายกระบวนคิดของผู้เรียนเช่นถามว่า คุณรู้ไม๊ว่ามีความหมายว่าอย่างไร จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร





    บทบาทของนักเรียน
1.      เข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาและวิธีการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (PBL)
2.      มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
3.      มีความรับผิดชอบและเตรียมตัวในการเรียน
4.      ให้ข้อมูลป้อนกลับกับผู้อื่นและมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง
   
   สิ่งที่ท้าทาย
1.         นักศึกษาที่มีลักษณะที่ไม่ชอบกระบวนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักหรือการทำงาน
      เป็นทีม
2.         นักศึกษาที่ไม่มีการเตรียมตัวสำหรับการเรียน
3.         ไม่มีโอกาสในการใกล้ชิดนักศึกษา
4.         ในการจัดการเรียนแบบกลุ่มเล็กจะมีแนวโน้มให้นักศึกษาพึ่งพาครูมากเกินไป
 
    จุดแข็ง
1.         ส่วนใหญ่ความสำเร็จของการเรียนและกระบวนการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มที่เหมาะสม
2.         ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณ เรียนรู้แบบอิสระ เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการเป็นพยาบาลในอนาคต
3.         การเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย

          การประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ จะต้องมีการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินให้เหมาะสมกับขนาดของกลุ่ม  โดยเฉพาะการเรียนการสอยในกลุ่มใหญ่  เพื่อจะได้มีการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น