วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การนำเสนอผลการเรียนรู้โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น ณ Nortumbria University สหราชอาณาจักร การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน : Clinical Simulation



รายงานสรุปเนื้อหาจากการจัดการความรู้ในองค์กร
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
การนำเสนอผลการเรียนรู้โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น ณ Nortumbria University
สหราชอาณาจักร
การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน : Clinical Simulation
โดย  นางสาวสุดถนอม ปิตตาทะโน  และนางสาวสุนีย์รัตน์  บุญศิลป์

การจำลองสถานการณ์ (Simulation)
ในที่นี้จะกล่าวถึง Manniequin based (หุ่นมนุษย์จำลอง) : เป็นการสอนที่ผู้สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกในสถานการณ์ต่างกับหุ่นจำลองที่ผู้สอนได้จำลองสถานการณ์คล้ายกับผู้ป่วยจริง เช่น การสอนในการดูแลผู้ป่วย Asthma attack ผู้เรียนได้ฟังเสียงการหายใจแบบ Wheezing จากปอด ได้ฝึกการให้ออกซิเจน และการให้ยาในผู้ป่วย ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เข้าอบรมได้ศึกษา
จุดประสงค์การเรียน  เพื่อหาวิธีในการวางแผนและออกแบบศูนย์การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง
ผลลัพธ์การเรียนรู้เรื่องนี้  ผู้เรียนควรบอกได้ว่า
๑. ทำไมจึงมีความจำเป็นต้องใช้สถานการณ์จำลองและประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้จากการเรียนแบบนี้
๒. ใครจะเป็นผู้ชี้แจงและบอกจุดประสงค์ที่ผู้เรียนควรจะต้องเรียนรู้
๓. วางแผนว่าจะทำการเรียนรู้นี้ต้องใช้อุปกรณ์และจัดสถานที่ที่ไหนจึงจะเหมาะสมกับวิธีการสอนโดยใช้ Simulation (สถานการณ์จำลอง)
๔. เมื่อไรจะเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเรียนนี้
๕. ตัดสินใจ  วางแผน  วางกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้อย่างไร
สาเหตุที่การเรียนในสถานการณ์จำลองมีความจำเป็นสำหรับผู้เรียน 
๑. เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย
๒. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในตนเอง
๓. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะ
๔. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับทีมงานได้อย่างถูกต้อง  เกิดความเข้าใจตรงกัน  จะเห็นได้จากความคิดเห็นจากบทความของบุคคล  ดังต่อไปนี้
-        Klipfel et al.  (๒๐๑๔, p.๓๙)  ได้กล่าวไว้ว่า  สถานการณ์จำลองทำให้บุคลากรทางสุขภาพมีความสามารถทางการสื่อสารและเกิดทักษะในการทำงานเป็นทีม
-        Griswold et al.  (๒๐๑๒)  กล่าวว่าการสอนโดยสถานการณ์จำลองมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเป็นการสอนที่ดีและเกิดความปลอดภัยต่อชีวิตผู้ป่วย  การใช้หุ่นจำลองผู้ป่วยทำให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในตนเองและมีความรู้มากขึ้น  ทั้งตัวนักศึกษาเองและเพื่อนนักศึกษาที่อยู่ในทีมฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง  เพราะมีการฝึกปฏิบัติงาน  การสะท้อนความคิดซึ่งทำให้การปฏิบัติงานดีขึ้น
-         
วิธีการการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (Simulation delivery )มี ๓ ขั้นตอนดังนี้
                ๒๐ นาที                                    ๒๐ นาที                                  ๓๐ นาที













กล่องข้อความ: Pre – Brief
ขั้นการนำ
ถามถึงความคาดหวัง บทบาท สิ่งแวดล้อม เครื่องมือ ครูเล่าประสบการณ์ตนเอง
กล่องข้อความ: Scenario
การปฏิบัติตามที่มีในสถานการณ์



กล่องข้อความ: Debrief
การประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง ๓ ระยะ
(๖ PA)
ปัจจัยของบุคคล










การสรุปบทเรียนใช้เวลา ๕ นาที
 
 







ขั้น Pre – Brief
แนะนำเข้าสู่ Simulation
 
Why we do it ?
เรียนรู้ทำไม จำเป็นอย่างไร
Preparation
เตรียมตัวอย่างไร
Role กฎ
Etiquette จรรยาบรรณ
Related to real ward experience
เล่าประสบการณ์
เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ซึ่งการเล่าหรือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงที่พบในผู้ป่วย กับผู้เรียนมีความสำคัญมาก
Aim  & Output
๑.      เพื่อทบทวน หาข้อสรุปในประเด็นการทำ Pre-brief โดยต้องชัดเจนเรื่องวัตถุประสงค์,       ความคาดหวังของผู้สอนและบทบาทของผู้เรียน
๒.      ทบทวนเนื้อหาและประเด็นโครงสร้าง (องค์ประกอบของการทำ Pre-brief
๓.      ทบทวนกระบวนการทำ Pre-brief
๔.      การเตรียมร่างกายของการทำ Pre-brief เครื่องมือ อุปกรณ์
การทำ Pre-brief ควรจะทำ
๑.      มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
๒.      ความคาดหวังของนักศึกษา
๓.      บทบาทของผู้เรียน ทำให้เป็นคล้ายพยาบาลวิชาชีพ
๔.      เครื่องมือ อุปกรณ์
๕.      เน้นเคารพครู เพื่อนร่วมทีม เปิดใจรับฟัง มีความซื่อสัตย์ ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง        เพื่อปรับปรุงแก้ไขโดยอาศัยแหล่งข้อมูล Technology เช่น มาตรฐานต่างๆ ของ INACSL
-          International Nursing Association for Clinical Simulation and Learning
-          Professional Standards & Guideline (NMC, 2011) Simulation Learning
การวางแผน : สิ่งที่ควรคำนึงก่อนทำการสอน
๑.      Participant ผู้เรียนก่อนสอนต้องรู้ เขาเป็นใคร ทำอย่างไร ระดับชั้นปีอะไร มีประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไร เพื่อเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนโดย Simulation
๒.      สิ่งแวดล้อม เวลาในช่วงไหนที่จะทำ, Ward , ICU , ER
๓.      อุปกรณ์ เครื่องมือ ตามประเภทของ Simulation ให้เพียงพอ
สิ่งที่ควรจะพิจารณา
๑.      ในแต่ละกลุ่มควรจะวางแผนขั้นการทำ Pre-brief
๒.      คำนึงถึงความเป็นวิชาชีพและประสบการณ์ที่ควรได้รับ
๓.      ควรจะทำว่า เขาเป็นใครและเป็นอย่างไร
๔.      Who : นศ.เป็นใคร ชั้นปีอะไร มีความรู้ ประสบการณ์ , Learning style
๕.      How : จะสอนนักเรียนด้วยวิธีการอย่างไร
Standard of Best Practice Simulation ให้ Search จากทาง Internet เช่น Simulation in Health โดยมาจากหนังสือ โดยเฉพาะ ทางโรงพยาบาลของ UK มีการใช้ Simulation เพื่อใช้ทดสอบพยาบาล ก่อนที่จะรับเข้าทำงานโดยมี Standard  ของโรงพยาบาล
Simulation and Module
Simulation ต้องประกอบด้วย การ Lecture, Practicals, Seminar และ Practice placement (การทดสอบการปฏิบัติ) ที่จะทำให้การเรียนด้วย Simulation มีความสมบูรณ์
ขั้นตอนการเรียน Simulation ต้องประกอบด้วย
๑.      การวางแผน
a.       การแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม
b.        ให้เวลากลุ่มสังเกตการณ์ศึกษาสถานการณ์ และศึกษาบทบาทการทำงานที่กำหนด และการแสดงบทบาทของเพื่อนที่อยู่ใน simulation room
c.       ครูจะเข้ามาพบผู้เรียนในห้องสังเกตการณ์ ภายหลังจากจบกลุ่ม scenario  โดยใช้การอภิปรายจากการบันทึกพฤติกรรมจากกลุ่มที่สังเกตการณ์ได้
d.       กลุ่มที่อยู่ในห้องสังเกตการณ์จะให้ข้อมูลย้อนกลับ และประเมินผลในตอนท้าย
๒.     บทบาท
          ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) – ผู้ให้คำปรึกษา (mentor)
ผู้เรียน (student)นักศึกษาพยาบาล (a student nurse)
๓. สิ่งแวดล้อม
-ห้อง simulation
-ห้องสังเกตการณ์ (Observation room)
๔. อุปกรณ์
เครื่องวัดความดันโลหิต ออกซิเจน โทรศัพท์
ขั้นตอน Debrief แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
          ระยะที่ ๑ Descriptive Phase (การบรรยาย) : เป็นการถามถึงความรู้สึกของผู้เรียน
          ระยะที่ ๒ Analysis Phase (การวิเคราะห์) : ครูสะท้องผู้เรียนในสิ่งที่ผู้เรียนทำได้ดี และส่วนที่ผู้เรียนบกพร่อง
          ระยะที่ ๓ Application Phase (การนำไปประยุกต์ใช้) : จะนำไปใช้จริงอย่างไร ให้ทำจนผู้เรียนเกิดความมั่นใจที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้
หลักการในการทำ Debrief โดยใช้หลัก ๖PA (Performance Agreement)
Immediate Phase
ขั้นตอนการประเมินและระบุปัญหาที่พบ
Planning  Phase
การวางแผนว่า ใครควรทำอะไร ตามบทบาทหน้าที่อะไร
Assessment Phase
การประเมินสภาพ และการระบุปัญหา
Action Phase
การลงมือปฏิบัติ  เช่น การให้เลือด ให้ยา ฯลฯ
Maintenance Phase
ดูผลการประเมิน เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ    การออกซิเจน ถ้าผลการประเมินดีให้คงสภาพดังกล่าวไว้หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
Deterioration Phase
วิเคราะห์ประเมินคุณภาพ หากไม่ได้ผลเป็นไปตามที่กำหนดไว้ให้กลับไปประเมินขั้นต้นใหม่
          ในขั้น Debrief ผู้สอนจะสะท้อนหรือประเมินในวันที่ผู้เรียนทำได้ดีก่อน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ เช่น มีการดูแลแบบเอื้ออาทร เข้าไปซักถามความรู้สึกของผู้ป่วย จับมือหรือสัมผัสตัวผู้ป่วยไว้ เป็นต้น แล้วถึงประเมินจุดที่บกพร่อง บอกเหตุผล และบอกแนวทางการแก้ไข
การออกแบบและการเขียน Scenario หลักการสำคัญต้องประกอบไปด้วย
๑. วัตถุประสงค์  ท่านคาดหวังว่าบทเรียนนี้จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้เรื่องอะไร  ซึ่งต้องตั้งให้ชัดเจนว่าต้องการให้เกิดอะไร  ระดับไหน
๒. ผลลัพธ์ของการเรียนรู้  ผู้เรียนจะต้องแสดงออกหรือมีความสามารถอะไรเมื่อสิ้นสุดในการเรียน  เช่น  สามารถประเมินได้  สามารถแก้ไขปัญหาได้
๓.      ระดับความซับซ้อนของ  Scenario  ประกอบด้วย ๓  แบบ  คือ
- ระดับง่าย (Simple)  : สถานการณ์ที่แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวและมีการตอบสนอง
- ความยากง่ายระดับปานกลาง (Moderately difficult) : แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงและมีอาการดีขึ้น
- ซับซ้อนมาก (Complex) มีอาการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นและมีอาการเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองต่อการรักษา
๔. การวินิจฉัยโรคจากหุ่น  อาจใช้ผล X-ray, scans, ผลการตรวจเลือด,  ไฟล์ข้อมูล  สื่อต่างๆ เสียงต่างๆ, ผล EKG  และสามารถใส่ไฟล์ข้อมูล X-ray,  รูปภาพต่างๆ ที่แสดงอาการ เช่น  อาการบวม, neck vein engorment  และผลเลือด
๔.      ต้องเลือกรูปแบบการ de-brief  ให้เหมาะสม
๖. การเขียน Scenario
- จะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ  บอกสถานการณ์ผู้ป่วยให้นักศึกษารู้
- จัดบริบทของ  Scenario  ให้เหมาะสมและชัดเจน
- ให้นักศึกษารับรู้เวลาในการทำ Scenario  เช่น  เริ่มต้นสถานการณ์
๗. อุปกรณ์และเครื่องมือ
อุปกรณ์และเครื่องมือจะต้องเตรียมให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติ  และส่งเสริมให้มีโอกาสในการตัดสินใจและเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
๘. บทบาท
-บทบาทผู้เรียน  ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่านักศึกษาอยู่ในสถานการณ์นี้อยู่ในบทบาทอะไร เช่น  Register nurse
- บทบาท Facilitator เป็นผู้เอื้ออำนวยการในการให้นักศึกษาปฏิบัติในสถานการณ์ จะต้องดูแลและคอยสังเกตดูนักศึกษาถ้านักศึกษาทำไม่ได้ต้องให้การช่วยเหลือ
กิจกรรมกลุ่ม
๑.      เขียน Scenario  โดยมีแบบฟอร์มให้ดู  โดยผู้ป่วยเป็นโรค COPD
๒.      กำหนดให้ผู้ป่วยมาด้วย chest infection and exacerbation  และมีอาการแย่ลง
๓.      ให้เขียนข้อมูลตามหลักการ  (ตามเอกสารแนบที่อาจารย์แจกให้ทำ)
สิ่งเติมเต็มความสมบูรณ์
๑.      สิ่งที่ต้องพิจารณาเสมอ  เราจะนำเสนออะไร  อย่างไร  ในการ Pre-Brief
๒.      ควรมีโครงร่างอย่างชัดเจนในการ Pre-Brief
สิ่งหนึ่งที่พวกเราต้องเตรียม
๑. การยกตัวอย่างของการ Pre-Brief
๒. นักศึกษาควรเริ่มต้นในชั้นปีที่ ๒
๓. สถานการณ์ต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนจดจ่อและอยากจะช่วยเหลือ  แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
การประเมินการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง
๑.      สิ่งที่ต้องประเมินคืออะไรบ้าง
-          เทคนิคการปฏิบัติงานในคลินิก เช่นการประเมินสภาพผู้ป่วย การสังเกตอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ฯลฯ
-          Human factors ปัจจัยทางบุคคล เช่น การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ
-          การตัดสินใจและการใช้เหตุผลทางคลินิก
-          ประเมินความรู้และการใช้ความรู้
๒.      ประเมินได้เมื่อใด
-          ประเมินในขณะที่อยู่ในสถานการณ์จำลอง
-          ประเมินภายหลังสถานการณ์จากการบันทึกวีดิโอ
-          ประเมินโดยการซักถาม
๓.      ประเมินอย่างไร
-          Checklists
-          Global rating
-          Rubics
๔.      การประเมินตามสภาพจริง
-          Mueller (2006) กล่าวว่า การประเมินตามสภาพจริง มาจากความคิดที่ว่า บัณฑิตจะต้องเป็นผู้ทีมีความสามารถในการปฏิบัติงาน ดังนั้นการประเมินตามสภาพจริงเป็นวิธีที่ทำให้นักศึกษาได้ฝึกฝนและท้าทายให้เผชิญกับโลกแห่งความเป็นจริง
-          การประเมินตามสภาพจริงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยากที่จะดำเนินการ
-          การจัดการเรียนการสอน Simulation จำเป็นต้องประเมินตามสภาพจริง
๕.      ประโยชน์
-          ใช้ในการประเมินการทำงาน
-          เป็นการประเมินแบบบรูณาการในเรื่องความรู้ ทักษะการปฏิบัติ การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
-          ประเมินนักศึกษาได้อย่างรวดเร็วจากสิ่งที่นักศึกษาทำ

๖.      จุดอ่อน
-          ยาก
-          ใช้เงิน
มาตรฐานการประเมิน
๑.      นักศึกษาจะต้องมีสถานการณ์ที่เหมือนกัน เครื่องมือ ความซับซ้อนของโจทย์เหมือนกัน
๒.      โจทย์สถานการณ์อาจมีความแตกต่างกัน
๓.      ใช้การประเมินโดยใช้วิธีการผ่าน/ตก
๔.      หุ่นจะต้องมีมาตรฐานเดียวกันแตกต่างกันได้ไม่เกิน 10%
๕.      ต้องมีแผนผังห้องสถานการณ์จำลอง
๖.      ต้องมีแนวทางและคำแนะนำให้กับนักศึกษา
๗.       มีการสนับสนุนอื่นๆเช่น ป้ายขั้นตอนการประเมิน SBAR , การประเมินABCD
ความตรงและความเชื่อมั่นของเครื่องมือประเมิน
          ความตรง
๑.      ระดับของการประเมินได้จากเครื่องมือ เช่น การทำงานเป็นทีมสามารถวัดได้โดยกลุ่ม
๒.      ประเมินการตรงจากการแสดงสีหน้า
๓.      ความตรงด้านเนื้อหา
ความเชื่อมั่น
๑.      ผู้ประเมินแต่ละคนจะต้องประเมินการปฏิบัติของนักศึกษาได้เหมือนกัน เป็นแนวทางเดียวกัน
๒.      การวัดซ้ำของผู้วัดแต่ละคน ต้องมีความเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันสามารถหาความเชื่อมั่นได้โดยประเมินจากการดูวีดิโอ จะต้องมีการประเมินหรือให้คะแนนที่เหมือนกัน
การเตรียม
๑.      จะต้องให้นักศึกษารับรู้การประเมิน
๒.      ต้องให้คำแนะนำกับนักศึกษาก่อนว่าจะมีการทดสอบอะไร แจ้งวัตถุประสงค์ของการประเมิน
๓.      ต้องให้นักศึกษามีโอกาสได้ฝึกประสบการณ์ก่อนการทดสอบ
๔.      มีโอกาสที่จะฝึกประสบการณ์ด้วยตนเอง
๕.      นักศึกษาต้องได้รับการฝึกและให้คำแนะนำที่ครอบคลุมประเด็นที่ถูกประเมินทุกเรื่อง
๖.      เอกสารทุกชนิดเช่น แฟ้มผู้ป่วย โจทย์สถานการณ์ ฯลฯ จะต้องถูกเตรียมให้กับนักศึกษาเป็นการล่วงหน้าทุกคน

ในขณะการประเมิน
ข้อควรรู้
แนวทางการประเมินเมื่อนักศึกษาทำผิดพลาด
- พยาบาลอาจทำผิดพลาดได้

- ความผิดพลาดบางอย่างไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด
- ความผิดพลาดสามารถที่จะแก้ไขได้  (ความผิดพลาดลดหรือขจัดความเสี่ยงได้)
- การสอนให้รู้จักและรู้จักแก้ไขความผิดพลาดเป็นทักษะสำคัญของพยาบาลวิชาชีพ
- นักศึกษาก็สามารถผิดพลาดได้ (ทำผิดหรือลืมทำ)
- บอกข้อผิดพลาด

- บอกข้อควรแก้ไขและปฏิบัติใหม่

-นักศึกษาสามารถอธิบายความเสี่ยงที่จะเกิดกับผู้ป่วยได้
         
สรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการจัดการความรู้ครั้งนี้
การสรุปบทเรียนที่ผ่านมาแล้วนำไปสอนผู้เรียน โดยได้แจ้งข้อมูลให้ผู้เรียนว่า  กำลังจะนำเข้าสู่การเรียนการสอนวิชาอะไร  บอกวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนกับผู้เรียน  แล้วทำไมถึงต้องจัดการเรียนการสอนโดยใช้ simulation สิ่งที่จะได้รับจากการนำ SimMan Senario มาใช้ ได้แก่
๑.      ความปลอดภัย ของผู้ป่วย และตัวผู้เรียน
๒.      ประสบการณ์ของผู้เรียนที่ได้รับจากสถานการณ์ ทำให้ผู้เรียนสามารถดูแลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดีขึ้น ให้การช่วยเหลือพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
๓.      ผู้เรียนมีทักษะ ความชำนาญในการดูแลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดี
การจัดการเรียนการสอนวิธีนี้มีประโยชน์ทั้งผู้เรียนและผู้ป่วย นอกจากนี้ ในการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนในการตัดสินใจการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤตรวมถึงการทำงานเป็นทีมร่วมกัน                                                  
นางเกศแก้ว  สอนดี  ผู้สรุปรายงาน














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น