วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning)



วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สระบุรี
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning)
                                                                                                อ.จีราภรณ์  ชื่นฉ่ำ
ความเป็นมาและความสำคัญ
กระบวนการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์  ตามแนวคิดการปฏิรูปการศึกษา  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่1)  ..2545   ตามข้อความในมาตราที่ 14 ว่าด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ทำให้ทุกฝ่ายต้องหันกลับมาทบทวนและทำความเข้าใจและมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางมากขึ้น  ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะที่จำเป็นสอดคล้องกับลักษณะของคนไทยยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21  ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการร่วมมือร่วมพลัง ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์   (พิมพันธ์ เตชะคุปต์, 2556) 
ปัจจุบันสถาบันการศึกษาได้พยายามส่งเสริมให้บุคลากรใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย รวมถึงส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning)   เพราะการสอนด้วยวิธีการดังกล่าวถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะทางปัญญา ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ  และพัฒนาผู้เรียนให้คนที่รู้จักเรียนรู้ตลอดชีวิต  นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการทำงานเป็นทีมและทักษะการติดต่อสื่อสาร  หรือผลการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
ความหมาย
             การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เริ่มต้นจากผู้สอนเสนอปัญหาที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ท้าทายให้คิด  และสอดคล้องกับสถานการณ์จริง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการในการหาความรู้และนำความรู้จากประสบการณ์เดิมมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกันเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา โดยให้ผู้เรียนรู้จักทำงานร่วมกันเป็นทีม มุ่งฝึกให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา รู้จักตัดสินใจ และสามารถนำเสนอผลการเรียนรู้ของตนเองได้ เป็นวิธีการในการส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ผู้เรียนจะต้องเรียนแบบนำตนเอง วางแผนในการเรียน ผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก และคอยชี้แนะ
การเรียนรู้ที่ได้ จากการฝึกอบรมหลักสูตร Problem-Based Learning,  Curriculum Planning, and Evaluation  จัดโดย McMaster University ประเทศแคนาดา  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก 
๑.      เริ่มต้นจากปัญหาที่ผู้เรียนสนใจที่จะค้นหา
๒.      เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) เรียนรู้ที่จะเรียนรู้ (Leaning to Learn)
๓.      สถานการณ์ปัญหาเป็นตัวขับเคลื่อนการเรียนรู้
๔.      สถานการณ์ปัญหามีแนวคิดเฉพาะอยู่ด้วย
เป้าหมายของการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
๑.      สร้างองค์ความรู้ที่กว้างขวางและยืดหยุ่น
๒.      พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
๓.      พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๔.      ทำให้เกิดเกิดการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
๕.      สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
ข้อดีและข้อจำกัดของการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
๑.นักเรียนและผู้สอนมีส่วนร่วมในกิจกรรมร่วมกัน
๒. ผู้เรียนคงความรู้ได้นานและมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ดีกว่า
๓. มีศักยภาพและทักษะในคลินิกที่ดี อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเครียดได้ง่าย
๔. ใช้ทรัพยากรมาก
๕. ผู้สอนต้องเตรียมตัวอย่างดี
ขั้นตอนของกระบวนการการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
ขั้นตอนที่ ๑ เสนอสถานการณ์ปัญหาและระบุคำศัพท์หรือแนวคิด
ขั้นตอนที่ ๒ ค้นหา แลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ที่มีอยู่
ขั้นตอนที่ ๓ สร้างสมมุติฐาน
ขั้นตอนที่ ๔ ระบุประเด็นและแหล่งข้อมูล
ขั้นตอนที่ ๕ รวบรวมข้อมูลและศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระ
ขั้นตอนที่ ๖ อภิปรายความรู้และถกประเด็นปัญหาอย่างจริงจัง   มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ป่วยจำลอง  หรือเอกสารรายละเอียด
ขั้นตอนที่ ๗ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้สู่ปัญหาอย่างเป็นไปได้
ขั้นตอนที่ ๘ สะท้อนคิดเนื้อหาและกระบวนการในการเรียนรู้
     การตั้งคำถามของผู้สอน
       การตั้งคำถามในการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL มี    ระดับ  คือ
๑.      information  คือ การถามนำไปสู่ประเด็นหลัก
๒.      Application คือ การถามเพื่อให้นักศึกษานำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
๓.      Problem-Solving  คือ การถามเพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
      บทบาทของผู้สอน
๑.      ปฐมนิเทศกระบวนการเรียนแบบPBL ความคาดหวังของวิชาที่เรียนและวิธีประเมินผล
๒.      สร้างบรรยากาศกาเรียนรู้
๓.      ทำให้ความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความชัดเจน
๔.      มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
๕.      กระตุ้นการมีเหตุผลโดยใช้คำถาม
๖.      ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
๗.      ให้ข้อเสนอแนะย้อนกลับ
     บทบาทของผู้เรียนและผู้สอนตามขั้นตอนการเรียน
ขั้นตอน
บทบาทผู้สอน
บทบาทผู้เรียน
ขั้นเตรียม
-เตรียมผู้เรียนเกี่ยวกับวิธีการเรียนและวัตถุประสงค์การเรียนรู้แบบ PBL
-ชี้แจงบทบาทผู้เรียนและผู้สอน
-ชี้แจงวิธีการวัดและประเมินผล
-แบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม
-รับฟัง ซักถามข้อสงสัยและแสดงความคิดเห็น
-กำหนดบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย ประธาน เลขานุการ ผู้จับเวลา ผู้นำเสนอ
-กำหนดข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มและบันทึกข้อตกลง
ขั้นการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 เสนอโจทย์ปัญหา (Encounter the person through situation/Scenario)
-เสนอโจทย์ปัญหา
-อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
-ถามกระตุ้นการเรียนรู้
-กระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเกี่ยวกับ   *กระบวนการกลุ่ม
             *กระบวนการเรียนรู้
-ศึกษาโจทย์ปัญหา
-ทำความเข้าใจคำศัพท์และแนวคิด
-สะท้อนคิดเกี่ยวกับ
  *กระบวนการกลุ่ม
  *กระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 ระบุประเด็น, ปัญหา (Identify issues, challenges, problem assets & strengths)
-ถามกระตุ้นการเรียนรู้
-เพิ่มเติมข้อมูลจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ปัญหาจากโจทย์โดยใช้คำถาม
-ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
-อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
-กระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเกี่ยวกับ  *กระบวนการกลุ่ม
            *กระบวนการเรียนรู้
-ระบุปัญหาของโจทย์/สถานการณ์
-ระบุข้อมูลที่ได้จากปัญหา
-สะท้อนคิดเกี่ยวกับ
  *กระบวนการกลุ่ม
  *กระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 3 ระบุข้อความ/ความรู้ที่มีอยู่ (Explore pre-existing information and currents knowledge base)
-ถามกระตุ้นการเรียนรู้
-กระตุ้นการมีส่วนร่วมของกลุ่ม
-ช่วยเชื่อมโยงความรู้เดิมของผู้เรียน
-ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
-อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
-กระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเกี่ยวกับ
  *กระบวนการกลุ่ม
  *กระบวนการเรียนรู้


-แบ่งปันความรู้เดิม
-แสดงบทบาทที่ได้รับมอบหมายตามกระบวนการกลุ่ม
-สะท้อนคิดเกี่ยวกับ
  *กระบวนการกลุ่ม
  *กระบวนการเรียนรู้
ขั้นตอน
บทบาทผู้สอน
บทบาทผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ตั้งสมมุติฐาน/ กลไกของปัญหา (Generate hypothesis/issue & their possible biopsychosocial mechanisms)
-ถามกระตุ้นการเรียนรู้
-กระตุ้นการมีส่วนร่วมของกลุ่ม
-ช่วยเชื่อมโยงสมมุติฐานของผู้เรียนกับโจทย์/ประเด็นโดยใช้คำถาม
-ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
-อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
-กระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเกี่ยวกับ    *กระบวนการกลุ่ม
*กระบวนการเรียนรู้
-วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
-ตั้งสมมุติฐานที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโจทย์/สถานการณ์ เช่น Concept mapping
-สะท้อนคิดเกี่ยวกับ
  *กระบวนการกลุ่ม
  *กระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 5 ระบุความรู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมและจัดลำดับความสำคัญ (Identify information gaps, Identify prioritize learning issues)
-ถามกระตุ้นการเรียนรู้
-กระตุ้นการมีส่วนร่วมของกลุ่ม
-ช่วยเชื่อมโยงความรู้ของผู้เรียน
-ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
-อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
-แนะนำแหล่งเรียนรู้ (ผู้เชี่ยวชาญเอกสาร ตำรา Website ฐานข้อมูล)
-กระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเกี่ยวกับ     *กระบวนการกลุ่ม
*กระบวนการเรียนรู้
-จัดลำดับความสำคัญของสมมุติฐาน
-กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
-กำหนดวิธีการเรียนรู้และแหล่งที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติม
-วางแผนการเรียนรู้ของกลุ่มและตนเอง
-มอบหมายผู้รับผิดชอบตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
-สะท้อนคิดเกี่ยวกับ
  *กระบวนการกลุ่ม
  *กระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 6 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Research learning issues via self study)
-อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เช่น ประสานผู้เชี่ยวชาญ ห้องสมุด ฯลฯ
-ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
-สรุปผลการเรียนรู้
-วางแผนการนำเสนอผลการเรียนรู้
ขั้นที่ 7 ทดสอบสมมุติฐานและประยุกต์เชื่อมโยงความรู้ใหม่ (Evaluate initial hypothesis/issues and apply new knowledge)
-เชื่อมโยงความรู้ที่เป็นแนวคิดหลักที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้โดยใช้คำถาม (ไม่ใช่การบรรยาย)
-กระตุ้นการมีส่วนร่วมของกลุ่ม
-ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
-อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
-กระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเกี่ยวกับ
  *กระบวนการกลุ่ม
  *กระบวนการเรียนรู้
-นำเสนอผลการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น บทบาทสมมุติฐาน แผนผังความคิดรวบยอด ฯลฯ
-เชื่อมโยงความรู้ที่เป็นแนวคิดหลักที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้
-ประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเพื่อทดสอบสมมุติฐาน


ขั้นตอน
บทบาทผู้สอน
บทบาทผู้เรียน


-สรุปผลการเรียนรู้ที่เป็นความรู้ใหม่
-สะท้อนคิดเกี่ยวกับ
  *กระบวนการกลุ่ม
  *กระบวนการเรียนรู้

ขั้นที่ 8 ประเมินและสะท้อนคิดการเรียนรู้ของกลุ่ม/ บุคคล (Assess and reflect on group/ individual learning)
-ถามกระตุ้นความคิดเห็นเกี่ยวกับ
  -กระบวนการกลุ่ม
  -กระบวนการเรียนรู้
  -ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนด
-ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
-อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

-สะท้อนคิดเกี่ยวกับ
  *กระบวนการกลุ่ม
  *กระบวนการเรียนรู้
  *ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนด
บทบาทของผู้เรียนโดยสรุป
1.       เข้ากลุ่มย่อย คัดเลือกประธาน เลขานุการ และมอบหมายสมาชิกแต่ละคนให้มีบทบาทหน้าที่ตามความสมัครใจ
2.       กำหนดกติกาของกลุ่ม
3.       วางแผนการเรียนรู้รับผิดชอบและบริหารเวลาให้เหมาะสม
4.       อภิปรายแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น
5.       เสนอสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้
6.       เชื่อมโยงความรู้เดิม
7.       ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
8.       ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและการเรียนรู้
9.       เสนอแนวทางการแก้ปัญหา
10.   เคารพผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็น
11.   ประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
12.   เป็นสมาชิกกลุ่มที่ดี
             จากการฝึกอบรมหลักสูตร Problem-Based Learning,  Curriculum Planning, and Evaluation  จัดโดย McMaster University ประเทศแคนาดา  การนำความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นการบูรณาการเนื้อหาการเรียนการสอนระหว่างบท  ดังนี้

                                                                                                                                                บทที่
หัวข้อ
อาจารย์ผู้สอน
ต้องรู้
ควรรู้
น่ารู้
ผลการเรียนรู้
(TQF, SAPE)
วิธีสอน
ชิ้นงาน
(ชื่อชิ้นงาน จำนวน )
งานกลุ่ม/งานเดี่ยว
สัปดาห์ที่ส่ง
การประเมินผล
บทที่ 1  แนวคิดและหลักการพยาบาลครอบครัวและชุมชนที่มีภาวะเสี่ยงส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของครอบครัว
1.1  การประเมินปัญหาสุขภาพชุมชน
1.2  แนวทางการพยาบาลชุมชนแบบองค์รวม
1.3  การพัฒนาสุขภาพชุมชนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
.ประจำกลุ่ม
อ.ประไพ
อ.จีราภรณ์
อ.เกศแก้ว
อ.ภูวสิทธิ์
อ.ผุสดี





ü


ü




ü
1.4  1.5  ๑.๙  2.2  2.3  3.2  3.3  3.4  3.6  3.7  ๓.๘  4.2  ๔.๕  5.1
PBL

-  รายงานหลักฐานการเรียนรู้

งานกลุ่ม

-  MCQ
-  MEQ
-  แบบประเมินรายงานหลักฐานการเรียนรู้
-  แบบประเมินกระบวนการ PBL

บทที่  6  การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน
6.2  การเลือกใช้ทรัพยากร เทคโนโลยีผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ


ü


บทที่ ๗  ใช้กระบวนการพยาบาลในการวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหาสุขภาพครอบครัวและชุมชน เลือกใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากร และเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยยึดหลักจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้
7.1  การศึกษาสภาพชุมชนแบบองค์รวมและการใช้เครื่องมือ  7  ชิ้น
7.2  การประเมินภาวะสุขภาพชุมชน
7.3  ข้อบ่งชี้ลักษณะชุมชนที่มีปัญหาสุขภาพ
7.4  การลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพชุมชน
7.5  การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
7.6  การวางแผนงานและการเขียนโครงการ
7.7  การจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนโดยใช้หลักการพัฒนาชุมชน
7.8  การประเมินแผนงาน/โครงการ







ü

ü
ü
ü
ü

ü






ü


ü





โดยได้จัดการเรียนการสอนเป็น  2 โจทย์ ได้แก่ โจทย์ 1
เนื้อหา
1.1 การประเมินปัญหาสุขภาพชุมชน
7.1 การศึกษาสภาพชุมชนแบบองค์รวม และการใช้เครื่องมือ ๗ ชิ้น
7.2 การประเมินภาวะสุขภาพชุมชน
7.3 ข้อบ่งชี้ลักษณะชุมชนที่มีปัญหาสุขภาพ
7.4 การลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพชุมชน
วัตถุประสงค์
1.       ระบุข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาสภาพชุมชนแบบองค์รวมได้
2.       ทบทวนวิธีการเก็บข้อมูล  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เครื่องมือทางมนุษยวิทยา
3.       วิเคราะห์ข้อมูลประชากรและดัชนีอนามัยได้
4.       เลือกวิธีการนำเสนอข้อมูลได้เหมาะสม
5.       ระบุข้อบ่งชี้ลักษณะชุมชนที่มีปัญหาสุขภาพได้
6.       ระบุปัญหาสุขภาพชุมชนได้
7.       จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพชุมชนได้
8.       อธิบายแนวคิดระบบสุขภาพระดับอำเภอได้
สถานการณ์โจทย์ 1
พยาบาลสวย ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการประเมินสภาวะสุขภาพชุมชนจุฑาเทพ พบปัญหาหลายประการ คือ ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือกออก  ความดันโลหิตสูง ภาวะโภชนาการเกิน ปวดเข่า  โครงสร้างประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน ซึ่งพยาบาลสวยไม่แน่ใจว่า อะไรเป็นปัญหาที่แท้จริงของชุมชนและควรจัดลำดับการดำเนินการแก้ไขปัญหาใดก่อนหลังตามแนวคิดระบบสุขภาพระดับอำเภอ (DHS)

โจทย์ 2
เนื้อหา
1.3 การพัฒนาสุขภาพชุมชนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
6.2 การเลือกใช้ทรัพยากร เทคโนโลยีและผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
7.5 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
8.1 การวางแผนงาน
8.2 การเขียนโครงการ
8.4 การจัดการแก้ปัญหาชุมชนโดยใช้หลักการพัฒนาชุมชน
8.5 การประเมินแผนงาน/โครงการ
วัตถุประสงค์
1.         อธิบายหลักการพัฒนาสุขภาพชุมชนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้
2.         เลือกใช้ทรัพยากร เทคโนโลยีและผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสุขภาพได้
3.         เขียนโยงใยวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้
4.         เขียนแผนงานโครงการได้ถูกต้องตามหลักการ
5.         ระบุวิธีการ ประเมินแผนงาน/โครงการ

สถานการณ์โจทย์ 2

ปัญหาโรคไข้เลือดออก ได้รับการจัดลำดับความสำคัญให้แก้ไขเป็นอันดับแรก พยาบาลสวย ต้องวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาไข้เลือดออกในชุมชน ต้องแก้ไขปัญหาให้ตรงสาเหตุ รวมทั้งจะต้องเขียนโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม โดยใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม  ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  หลักการพัฒนาสุขภาพชุมชนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประเมินผลการดำเนินการตามผังกำกับงาน
    สรุป กระบวนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ปะกอบด้วยโจทย์สถานการณ์กระตุ้นการคิด กระบวนการทำงานกลุ่มในการแก้ปัญหา  การสืบค้นหาความรู้และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  กระบวนการในการแก้ปัญหา ซึ่งต้องได้ข้อมูลในสถานการณ์และใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น